ฟูจิตสึเผยวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและบริการสำหรับปี 2561 แนะแนวทางการสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจและสังคม

พฤหัส ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๐๑
ฟูจิตสึประกาศวิสัยทัศน์ล่าสุดสำหรับเทคโนโลยีและบริการของฟูจิตสึ โดยแนวคิดหลักสำหรับปีนี้คือ 'การสร้างสรรค์ร่วมกันเพื่อความสำเร็จ' หรือ 'Co-creation for Success' ทั้งนี้ ฟูจิตสึได้ดำเนินโครงการ Co-creation มากมายร่วมกับลูกค้าและพันธมิตร ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในหลายๆ ด้าน เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในธุรกิจค้าปลีกและบริการด้านการเงิน ปัจจุบัน Digital Co-creation กำลังพัฒนาสู่ขั้นตอนถัดไป จากขั้นตอนการทดลองใช้งานตามแนวคิดไปสู่การสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของปีนี้ ฟูจิตสึจะนำเสนอ3 ปัจจัยหลักที่นำไปสู่ความสำเร็จสำหรับการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอล (Digital Transformation) พร้อมทั้งแนะนำแนวทางใหม่สำหรับการแปรเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่า รวมถึงแนวโน้มสำหรับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ และรูปแบบใหม่ๆ ทางด้านธุรกิจและสังคมในยุคสมัยของ IoT, AI และ Blockchain

ความก้าวหน้าที่รวดเร็วในด้านเทคโนโลยีดิจิตอลกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเรา รวมไปถึงธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยรวม อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารองค์กรธุรกิจบอกกับเราว่าการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอลไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาท้าทายมากมาย แต่กระนั้น องค์กรต่างๆ ยังสามารถเอาชนะปัญหาท้าทายที่ว่านี้ ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต การสร้างระบบนิเวศน์ที่แข็งแกร่ง และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อสร้างมูลค่า

ประเด็นสำคัญใหม่ 3 ข้อที่เพิ่มเติมอยู่ในวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและบริการของฟูจิตสึสำหรับปี 2561 มีดังนี้

1. ปัจจัย 6 ข้อสู่ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอล – พลังขับเคลื่อนทางด้านดิจิตอล

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางด้านดิจิตอลมีลักษณะไม่สม่ำเสมอกัน และการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ระดับความเร็วที่แตกต่างกันในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม องค์กรที่บรรลุผลลัพธ์ที่ดีกว่าแสดงความสามารถที่เหนือกว่าใน 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเป็นผู้นำ บุคลากร ความคล่องตัว การบูรณาการธุรกิจ ระบบนิเวศน์ และการสร้างมูลค่าจากข้อมูล เราเรียกปัจจัยสู่ความสำเร็จ 6 ข้อนี้ว่า 'พลังขับเคลื่อนทางด้านดิจิตอล' (Digital Muscles) ยิ่งมีพลังขับเคลื่อนแข็งแกร่งมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น นั่นหมายความว่าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลไม่ได้เป็นเพียงแค่การนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้ แต่เป็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนขององค์กร

2. แนวทางของฟูจิตสึในการสร้างมูลค่าจากข้อมูล และเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำของฟูจิตสึ

Deep Learning และเทคโนโลยี AI อื่นๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แต่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลไม่ได้เป็นเพียงแค่ความท้าทายทางด้านเทคโนโลยี ในการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมต่อธุรกิจและสังคม จำเป็นที่จะต้องปรับใช้เทคโนโลยี AI ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับข้อมูลประเภทต่างๆ โดยจะต้องมีการผนวกรวมประสบการณ์ด้านธุรกิจและความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยความร่วมมือจากลูกค้า ฟูจิตสึจึงได้จัดหาแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิตอล รวมถึงโซลูชั่นและบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเชื่อมโยงเทคโนโลยี AI, IoT, คลาวด์ และระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ฟูจิตสึยังขยายขอบเขตของเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายทางด้านธุรกิจและสังคม ตัวอย่างเช่น ฟูจิตสึตระหนักถึงความสำคัญของการปรับใช้'Explainable AI' ทั้งนี้ Human Centric AI Zinrai ของฟูจิตสึสามารถอธิบายตรรกะที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลเชิงลึก ขณะที่เทคโนโลยี AI อื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ และอีกหนึ่งเทคโนโลยีก้าวล้ำก็คือ สถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบใหม่ของฟูจิตสึที่มีชื่อว่า Digital Annealer ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดเชิงการจัด (Combinatorial Optimization Problems) ซึ่งมีความซับซ้อนอย่างมาก และคอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้

3. สังคมที่เป็นอิสระและแยกกระจัดกระจาย โดยผู้คนและ AI จะประสานงานร่วมกัน

ในยุคสมัยของ IoT, AI และ Blockchain ฟูจิตสึเชื่อว่าองค์กรประเภทใหม่ที่เรียกว่า Learning Enterprise จะเกิดขึ้น โดยในองค์กร Learning Enterprise นี้ บุคลากรจะประสานงานร่วมกับ AI เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์และข้อมูลต่างๆ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลก่อให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมโดยรวมทั้งหมด โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากห่วงโซ่มูลค่าที่บูรณาการเข้าด้วยกันในเชิงลึก ไปสู่ระบบนิเวศน์แบบกระจัดกระจาย ในโลกที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างกว้างขวาง เทคโนโลยี Blockchain และระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูงจะขจัดปัญหาความไม่แน่นอนในการทำธุรกรรม และรับรองความน่าเชื่อถือของข้อมูล ระบบนิเวศน์ที่เชื่อมต่อกันอย่างทั่วถึงจะช่วยพัฒนาสังคมเครือข่ายที่เป็นอิสระและมีลักษณะกระจัดกระจาย เราเรียกสังคมนี้ว่า Human Centric Intelligent Society และตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราได้ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ของฟูจิตสึสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะช่วยผลักดันเป้าหมายดังกล่าวของสหประชาชาติ ด้วยการทำงานตามวิสัยทัศน์ของเรา

ฟูจิตสึใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้รับในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลล่าสุด รวมไปถึงประสบการณ์จากการสร้างและควบคุมระบบต่างๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยเราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแบบ Co-creation เพื่อการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอล โดยเราจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสำเร็จให้แก่ลูกค้า

เกี่ยวกับฟูจิตสึ

ฟูจิตสึเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของญี่ปุ่น นำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการทางด้านเทคโนโลยีที่หลากหลาย พนักงานของฟูจิตสึราว 155,000 คนให้บริการแก่ลูกค้าในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เราใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ที่ยาวนานและพลังของเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อสร้างสรรค์อนาคตของสังคมที่ดีกว่าร่วมกับลูกค้าของเรา บริษัท ฟูจิตสึ จำกัด (TSE: 6702) มีรายได้รวม 4.5 ล้านล้านเยน (40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับปีงบประมาณสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2560 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.fujitsu.com/

เกี่ยวกับ Fujitsu EMEIA

ฟูจิตสึส่งเสริมแนวคิด Human Centric Intelligent Society ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อบูรณาการผู้คน ข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานเข้าด้วยกัน ในภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดีย และแอฟริกา (EMEIA) บุคลากร 28,000 คนของเรามุ่งมั่นทำงานภายใต้แนวคิด Digital Co-creation โดยผสานรวมความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจเข้ากับเทคโนโลยีดิจิตอล และสร้างคุณค่าใหม่ๆ ร่วมกับคู่ค้าและลูกค้า เราช่วยให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่รูปแบบดิจิตอล โดยใช้บริการด้านเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Artificial Intelligence, Internet of Things และคลาวด์ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่บนระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fujitsu.com/fts/about/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?