“ดีป้า” เดินหน้าแผนพันธกิจผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลบนพื้นที่ EEC จับมือผู้แทนการค้า-การลงทุนขนาดใหญ่จากจีนร่วมเยี่ยมชมพื้นที่

พฤหัส ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๓๙
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เดินหน้าจัดทำความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบบันทึกข้อลง MOU เพื่อร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมในพื้นที่ EEC ใน 3 ประเด็นประกอบด้วย การทดสอบเทคโนโลยี 5G การพัฒนา EEC Startup Hub และการพัฒนา Digital Park Thailand และสถาบัน Internet of Things ภายในกิจกรรมการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม ณ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม ณ จังหวัดชลบุรี และ จ.ระยอง โดยวันที่ 25 สิงหาคม ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานร่วมการประชุม โดยมีนักลงทุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมงานราว 300 คน และซีอีโอจาก 50 บริษัทในด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของการขยายการค้าและการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม การท่องเที่ยว การเงิน ดิจิทัล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการเยี่ยมชมพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดกิจกรรม "Thailand and China Belt and Road initiative : Connectivity for the future" รวมถึงการลงนามความร่วมมือของทั้งสองประเทศด้วย

ดร.ณัฐพล กล่าวเสริมว่า ในส่วนของดีป้านั้น มีการลงนามความร่วมมือใน 3 ฉบับ โดยบันทึกข้อตกลงฉบับแรก เป็นความร่วมมือในการพัฒนาสนามทดสอบและพันธมิตรเพื่อนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในช่วงต้น (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON EXPLORATION TESTBED AND EARLY ADOPTION OF 5G TECHNOLOGY PARTNERSHIP) ระหว่าง depa และ บริษัท Huawei ประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยี 5th Generation (5G) อันจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมดิจิทัลอื่น ๆอีกมากมาย โดยความร่วมมือนี้ครอบคลุมการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้คลื่นความถี่เพื่อทดสอบระบบ 5G การสร้างพันธมิตรระหว่างหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชนในภาคอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาสนามทดสอบ 5G และการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 5G เพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในช่วงต้น

บันทึกข้อตกลงฉบับที่ 2 ความร่วมมือพหุภาคีในการพัฒนา EEC Startup Hub ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON THE DEVELOPMENT OF EEC STARTUP HUB) ระหว่าง depa กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และบริษัท Tus-Holdings ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิด Startup Hub ในพื้นที่ EEC โดยกิจกรรมความร่วมมือจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นประกอบด้วย

(1) การพัฒนา Startup Hub โดยเน้นศึกษาและสร้างโมเดลในการพัฒนา EEC Startup Hubและส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

(2) พัฒนาระบบสนับสนุนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล โดยเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ และความเชี่ยวชาญการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาโมเดลการสนับสนุนทางการเงิน การพัฒนากลไกการบ่มเพาะธุรกิจไปจนถึงกลไกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล

(3) พัฒนากำลังคนเพื่อรองรับธุรกิจสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล โดยเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ไปจนถึงการศึกษาโอกาสเพื่อร่วมกันจัดโครงการพัฒนากำลังคนดังกล่าว

บันทึกข้อตกลงฉบับที่ 3 เป็นความร่วมมือในการพัฒนาสถาบันไอโอทีและดิจิทัลพาร์คประเทศไทย (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ONTHE DEVELOPMENT OF DIGITAL PARK THAILAND AND IOT INSTITUTE) ระหว่าง depa และบริษัท Tus-Holdings ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาสถาบันไอโอทีและดิจิทัลพาร์คประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นกิจกรรมความร่วมมือที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย การจัดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์สำหรับการพัฒนาดิจิทัลพาร์ค หรือเขตพื้นที่นวัตกรรมการแสวงหาโอกาสและความเป็นไปได้ในการลงทุนในดิจิทัลพาร์คร่วมกัน การจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุน สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลจากทั้งสองประเทศ การจัดโปรแกรมพัฒนากำลังคนที่เน้นกิจกรรมการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญระหว่างกันและกันไปจนถึงการจัดกิจกรรมความร่วมมืออื่น ๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันไอโอที และดิจิทัลพาร์ค

ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลาความร่วมมือ 2 ปี และอาจกล่าวได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา EEC ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจแบบดิจิทัลบนฐานนวัตกรรมตามนโยบาลของรัฐบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ