กระทรวงดิจิทัลฯ เผยผลสำเร็จขับเคลื่อนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โชว์ความคืบหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลฯ เร่งต่อยอดเครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ” สร้างรายได้ชุมชนกว่า 24,700 หมู่บ้าน

พฤหัส ๒๐ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๒๑
กระทรวงดิจิทัลฯ เผยผลสำเร็จขับเคลื่อนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โชว์ความคืบหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลฯ เร่งต่อยอดเครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ" สร้างรายได้ชุมชนกว่า 24,700 หมู่บ้าน เร่งเครื่อง Big Data บูรณาการความพร้อมของทุกกระทรวงมุ่งให้บริการประชาชนแบบ One Stop Service ชงทุกหน่วยงานภาครัฐเตรียมความพร้อมปรับองค์กรรับมือ หลัง กม.ไซเบอร์ และข้อมูลส่วนบุคคลผ่านครม.

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีครั้งที่5 /2561 ว่า ที่ประชุมพิจารณาวาระเพื่อทราบและรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงฯ ที่ได้รับมอบนโยบาย และเรื่องที่ดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกฯ ประเด็นแรก Big data ที่เกี่ยวข้องกับทุกกระทรวง มีความคืบหน้าในการขับเคลื่อน Big Data โดยได้จัดทำมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศเพื่อการประมวลผลข้อมูลภาครัฐ และจัดทีมให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐเพื่อประเมินสถานะความพร้อมขององค์กร ทั้งในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล เครื่องมือ และบุคลากร

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ มอบหมาย ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) และขับเคลื่อนด้วยการดำเนินการของคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูล 4 คณะ ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลด้านความมั่นคง (2) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ (3) การขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ( Linkage Center) (4) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลด้านทรัพยากรและบริหารโครงสร้างภาครัฐ

ด้านความคืบหน้าเกี่ยวกับกฎหมายสำคัญของกระทรวงดิจิทัลฯ ล่าสุด พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ผ่านการพิจารณาจาก ครม. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 หลังจากนี้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยต้องให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลไม่ให้ถูกโจมตีจากภัยไซเบอร์เป็นอันดับแรก และทุกกระทรวงควรมีแผนรองรับเร่งด่วน ซึ่งต้องมีการลงทุนในด้าน Network Cyber Security และตระหนักถึงข้อมูลส่วนบุคคล การจะนำมาใช้ต้องแจ้งประชาชน จะต้องมีการยินยอมจากประชาชน พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ทุกกระทรวงจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ยังมีการสรุปความคืบหน้าของโครงการสำคัญ ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้แก่ 1.โครงการเน็ตประชารัฐ ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายแล้ว ๒๔,๗๐๐ หมู่บ้าน เพื่อให้บริการที่ทั่วถึง เท่าเทียม ทั่วประเทศไทย ทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร และเศรษฐกิจ มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการค้าขายออนไลน์ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วประมาณ 4.7 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธ.ค. 61) แผนงานต่อจากนี้จะเป็นการขยายต่อโครงข่ายเน็ตประชารัฐเพื่อคุณภาพชีวิต อาทิ รร. รพ.สต. สุขศาลาพระราชทาน นอกจากนี้ได้จัดอบรมยสร้างการรับรู้และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ไปสู่ภาคประชาชนเพิ่มขึ้น

โครงการ จำนวน

1. โดยจัดอบรมวิทยากรแกนนำ (ครู กศน.) 1,000 คน (1พันคน)

2. กลุ่มผู้นำชุมชน 100,000 (1แสนคน)

3. โครงการอบรมร่วมกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (อบรมประชาชน) 1.000,000 (1 ล้านคน)

4. โครงการเครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ 77 แห่งทั่วประเทศ

2. โครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce (POS) โดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านสามารถเป็นผู้ประกอบการที่สามารถขายสินค้าท้องถิ่นผ่านช่องทางออนไลน์ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการ 851 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 61) สามารถเข้าเยี่ยมชมและสนับสนุนสินค้าของชาวบ้านผ่านช่องทาง www.thailandpostmart.com เป็นเว็บไซต์ขายของชุมชนเกษตร

3.การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กระทรวงดิจิทัลฯ โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รวมทั้งขับเคลื่อน ASEAN Smart Cities ภายใต้กรอบอาเซียน ปัจจุบัน กระทรวงดิจิทัลฯ ได้จัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล

4. โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (ดิจิทัลพาร์ค) กระทรวงดิจิทัลฯ โดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดทำเพื่อเป็นศูนย์กลางการลงทุน การพัฒนานวัตกรรม และการเรียนรู้ด้านดิจิทัล ผ่านมาตรการดึงดูดนักลงทุน ผู้ประกอบการ และนักวิจัย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุนและพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล โดยจัดตั้งในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

5. โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จะเป็น"ศูนย์บริการของชุมชนที่มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและพื้นที่ สามารถให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ โดยเน้นบริการด้านการศึกษา การเกษตร การดูแลสุขภาพการค้าขาย การบริการท่องงเที่ยว และสวัสดิการสังคม" ศึกษาแนวทางการจัดหางบประมาณสนับสนุนจากกองทุน USO และกองทุน DE เพื่อใช้ในพัฒนาศูนย์ฯ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน ๒,๒๘๐ แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยปรับเปลี่ยนมาจากศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ อยู่ระหว่างพัฒนาให้เป็นจุดให้บริการแบบครบวงจรของภาครัฐ และความต้องการการสนับสนุนและความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ คือ 1) การร่วมกันใช้ประโยชน์จากศูนย์ดิจิทัลชุมชนในการให้บริการ (e-Service) เพื่อเป็นศูนย์การให้บริการภาครัฐแบบครบวงจร 2) การนำศูนย์ดิจิทัลชุมชนเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของภาครัฐ สู่ประชาชน และ 3) การให้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่นของจังหวัด มีส่วนร่วมในการสนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินงานของศูนย์ในพื้นจังหวัดตนเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4