รายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ของเช็ค พอยท์ เผย 37% ขององค์กรทั้งหมดได้รับผลกระทบจากการมัลแวร์ขุดบิตคอยน์ตลอดปีที่ผ่านมา

อังคาร ๒๒ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๗:๔๕
ในรายงานฉบับใหม่นี้ยังเผยว่ามี 20% ของบริษัททั่วโลกยังคงถูกโจมตีทุกสัปดาห์จากมัลแวร์ขุดบิตคอยน์ มี 33% ที่ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือ และมีแค่ 4% ที่โดนแรนซัมแวร์ในช่วง 12 เดือนที่แล้ว

บริษัท เช็คพอยท์(R) ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด (NASDAQ: CHKP) ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชันความปลอดภัยระดับโลก ได้เผยแพร่ในส่วนตอนแรกของรายงานสรุปความปลอดภัยในปี พ.ศ. 2562 โดยเน้นยุทธวิธีหลักๆ ที่อาชญากรคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อโจมตีองค์กรทั่วโลกในอุตสาหกรรมต่างๆ และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เพื่อปกป้ององค์กรของตนจากการโจมตีและภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5

ในตอนแรกของรายงานสรุปความปลอดภัยปี 2562 ได้เปิดเผยแนวโน้มหลักๆ ของมัลแวร์และเทคนิคที่นักวิจัยของเช็คพอยท์พบในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญดังนี้:

- มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ยึดหัวหาดการโจมตีเป็นส่วนใหญ่: มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ติดสี่อันดับแรกของมัลแวร์ที่ชุกชุมที่สุดและส่งผลกระทบต่อองค์กรทั่วโลกจำนวน 37% ในปี 2561 แม้ว่ามูลค่าของสกุลเงิน cryptocurrency ทั้งหมดเริ่มตก แต่บริษัทต่างๆ จำนวน 20% ยังคงถูกโจมตีทุกสัปดาห์จากมัลแวร์ที่แอบขุดบิตคอยน์ และเมื่อเร็วๆ นี้ มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ยังได้พัฒนาไปอย่างมากโดยอาศัยช่องโหว่ที่รู้จักดีและหลบเลี่ยงระบบแซนด์บ็อกซ์และระบบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแพร่กระจาย

- โทรศัพท์มือถือคือเป้าเคลื่อนที่: องค์กรจำนวน 33% ทั่วโลกถูกโจมตีโดยมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือ โดยมัลแวร์ 3 ประเภทแรกที่ติดอันดับได้พุ่งเป้าการโจมตีที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในปี 2561 พบหลายกรณีที่มัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือถูกติดตั้งไว้ล่วงหน้า และมีแอพจากแอพสโตร์ซึ่งแท้จริงแล้วคือมัลแวร์เสียเอง

- บ็อตเน็ตอเนกประสงค์ที่โจมตีหลายรูปแบบ: บ็อตเป็นประเภทของมัลแวร์ที่พบมากเป็นอันดับสาม โดยมีองค์กรจำนวน 18% ที่ถูกบ็อตใช้เป็นฐานในการโจมตีแบบระดมยิง หรือดีดอส (DDoS) และเป็นฐานในการเผยแพร่มัลแวร์อื่นๆ การติดมัลแวร์ประเภทบ็อตมีผลทำให้องค์กรเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ถูกโจมตีด้วย ดีดอสในปี 2561

- แรนซัมแวร์โจมตีน้อยลง: แรนซัมแวร์ลดลงอย่างมากในปี 2561 โดยส่งผลแค่ 4% ขององค์กรทั่วโลก

"ตั้งแต่มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ที่เป็นดาวรุ่ง ไปจนถึงการรั่วไหลของข้อมูลจำนวนมากและการโจมตีแบบดีดอสในปีที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับการทำลายล้างทางคอมพิวเตอร์โดยไม่มีหยุดหย่อน ตัวการที่สร้างภัยคุกคามมีทางเลือกมากมายที่จะหาเป้าหมายและสร้างรายได้จากองค์กรในทุกภาคส่วน และตอนแรกของรายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ได้แสดงให้เห็นเทคนิคการหลบซ่อนที่ใช้กันมากยิ่งขึ้น" นายโทนี่ จาร์วิส ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวและว่า "การโจมตีในยุคที่ 5 จากหลายจุดที่รวดเร็วและในวงกว้างเช่นนี้เริ่มเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ องค์กรต้องใช้กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์แบบหลายชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เครือข่ายและข้อมูลขององค์กรถูกยึดครอง รายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ได้ให้ความรู้ ข้อมูลเชิงลึก และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันการโจมตีเหล่านี้"

แผงผังแสดงประเภทของการโจมตีทางคอมพิวเตอร์ที่พบมากที่สุดทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค

รายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ของบริษัท เช็คพอยท์ อาศัยข้อมูลจากหน่วยข่าวกรอง เทรดคลาวด์ (ThreatCloud) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามและแนวโน้มของการโจมตีจากเครือข่ายเฝ้าระวังทั่วโลก นอกจากนี้ยังอาศัยข้อมูลจากการสืบสวนของเช็ค พอยท์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ไอทีและและผู้บริหารระดับสูงที่ประเมินความพร้อมของตนต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน ในรายงานได้สำรวจภัยคุกคามใหม่ล่าสุดในภาคธุรกิจต่างๆ และให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของแนวโน้มที่สังเกตจากการแพร่กระจายของมัลแวร์ จากจุดที่ข้อมูลรั่วไหล และจากการโจมตีระดับชาติ นอกจากนี้ยังมีบทวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญระดับนักคิดชั้นนำของบริษัท เช็คพอยท์ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจแก่องค์กรให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนในวันนี้และวันข้างหน้า

ติดตามบริษัท เช็คพอยท์ ได้ทาง:

Twitter: http://www.twitter.com/checkpointsw

Facebook: https://www.facebook.com/checkpointsoftware

Blog: http://blog.checkpoint.com

YouTube: http://www.youtube.com/user/CPGlobal

LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/check-point-software-technologies

เกี่ยวกับบริษัท เช็คพอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด

บริษัท เช็คพอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด (www.checkpoint.com) เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานรัฐทั่วโลก โดยโซลูชันของบริษัทพร้อมให้การปกป้องลูกค้าจากการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยอัตราการตรวจจับที่มีประสิทธิภาพสูงระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับมัลแวร์ ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตีอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัท เช็คพอยท์ ยังนำเสนอสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยแบบหลายระดับที่มีระบบการป้องกันภัยคุกคามสำหรับระบบคลาวด์ เครือข่าย และการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรต่างๆ ผ่านระบบมือถือจากการโจมตีทุกรูปแบบ ทั้งยังผสานรวมเข้ากับระบบจัดการจุดควบคุมเพียงจุดเดียวที่มีความครอบคลุมและชาญฉลาดที่สุดของอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัท เช็คพอยท์ ให้การปกป้ององค์กรในทุกขนาดแล้วเป็นจำนวนกว่า 100,000 ราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้