'ดีอี’ ดึงเฟซบุ๊ก-กูเกิล-ไลน์ ร่วมเวทีสร้างมาตรฐานใช้งานโซเชียลมีเดีย

จันทร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๓:๕๖
กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นจ้าภาพร่วมจัดประชุม The Multi-Stakeholder Regional Workshop on Social Media ดึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3 รายใหญ่ของโลก 'เฟซบุ๊ก-กูเกิล-ไลน์" ขึ้นเวทีหารือหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ปูทางสู่การกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกัน (Best Practice) ในการกำหนดกรอบที่เป็นมาตรฐานสากลของสังคมโซเชียล รับแนวโน้มความแพร่หลายในการใช้งานโซเชียลมีเดีย ที่ปัจจุบันเข้าถึงประชากรกว่า 2.4 พันล้านคนทั่วโลก

นายขจิต สุขุม ผู้ตรวจราชการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงการประชุมเขิงปฏิบัติการ The Multi-Stakeholder Regional Workshop on Social Media Governance ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า เป็นการเปิดเวทีหารือร่วมกัน ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3 รายใหญ่ของโลก ได้แก่ เฟซบุ๊ก กูเกิล และไลน์ ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการรับมือปัญหาวิธีประกอบธุรกรรมในโซเชียลมีเดียที่ดีและถูกต้อง (Governance) โดยจะมีการนำสรุปผลการหารือเสนอต่อคณะทำงานด้านสารสนเทศและโทรคมนาคมของเอเปค (APEC TEL) เพื่อสร้างความตระหนักทั้งด้านโอกาสและภัยคุกคามของสื่อสังคมออนไลน์ให้กับประเทศสมาชิก

ปัจจุบัน เอเปค มีบทบาทสำคัญในเรื่องของ Social and Digital Governance อย่างมาก โดยนอกจากเป็นตลาดใหญ่สุดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีข้อมูลระบุว่า ในขณะที่ทั่วโลกมีจำนวนผู้ใช้โซเชียลมากกว่า 2.4 พันล้านราย ครึ่งหนึ่งหรือกว่า 1.2 พันล้านราย อยู่ในประเทศกลุ่มเอเปคแล้ว ผู้ให้บริการใหญ่ที่สุดของโลกหลักๆ ยังเป็นบริษัทที่อยู่ใยประเทศสมาชิกของเอเปคด้วย

"ขณะนี้การใช้โซเชียลมีเดียแพร่หลายมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักไม่ค่อยได้ตระหนัก ก็คือ การกำกับดูแลแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียให้มีการใช้ด้วยความปลอดภัย สามารถเชื่อมั่นได้ การกำกับดูแลที่พูดถึงนี้ ไม่ใช่การควบคุม แต่เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยถูกต้องในการใช้งาน ความถูกต้องในการให้ข้อมูลและสื่อสาร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับสังคม ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่กระทรวงดีอี ได้พยามยามผลักดัน ทั้งในประเทศ และในระดับสากล โดยในประเทศไทย อยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎหมายดิจิทัล 6 ฉบับ ด้วยความเป็นห่วงและต้องการดูแลสังคม ยกตัวอย่างเช่น ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายลักษณะเดียวกันของเอเปค และสหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน มุ่งส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อโซเชียลให้กับประชาชนผ่านการอบรมในโครงการเน็ตประชารัฐ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการแพร่กระจายของข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์และไม่พึงประสงค์ (Information Pollution) ที่มีมากขึ้นบนสังคมออนไลน์" นายขจิตกล่าว

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้นำเสนอหลักการเดียวกันนี้ผ่านเวทีประชุม (Forum) ต่างๆ ได้แก่ ในกรอบอาเซียนด้วย เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งแม้ว่าหลายประเทศรับรู้และสำนึกถึงความอันตรายอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้มานั่งคุยร่วมกัน กำหนดกฎเกณฑ์หรือหลักเกณฑ์ร่วมกัน (Best Practice) ถึงวิธีประกอบธุรกรรมในโซเชียลมีเดียที่ดีและถูกต้อง (Governance) ซึ่งเอเปค เป็นเวทีที่ดี เพราะมีผู้เล่นรายหลักๆ หลากหลายทั้ง รัสเซีย สหรัฐ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งเป็น 4 ผู้เล่นรายสำคัญในโซเชียลมีเดีย

ด้านนางสาวชีน ฮันดู ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำเอเชียแปซิฟิค จากบริษัท เฟซบุ๊ก กล่าวว่า ปัจจุบัน เฟซบุ๊ก มีสมาชิกราว 2.3 พันล้านคน ได้กำหนดนโยบายที่เรียกว่า มาตรฐานชุมชน (Community Standard) เป็นกฎเกณฑ์กำกับดูแลการใช้งาน พร้อมทั้งลงทุนทั้งด้านการใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) รวมทั้งจ้างบุคลากร 30,000 คนทั่วโลก เพื่อสอดส่องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ให้มีการโพสต์เนื้อหาที่เป็นการละเมิดมาตรฐานชุมชนที่กำหนดไว้ครอบคลุมหลักๆ 9 หัวข้อ เช่น การก่อการร้าย ความปลอดภัยของเด็ก และเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech)

นายเจค ลุคชี่ หัวหน้าฝ่ายคอนเทนท์ และ AI ฝ่ายนโยบายสาธารณะ บริษัท กูเกิล (เอเชีย แปซิฟิค) ซึ่งเป็นเจ้าของ YouTube แพลตฟอร์มวิดีโออันดับ 1 ของโลก ได้บัญญัติมาตรฐานชุมชน (Community Standard) ของบริษัทด้วยเหมือนกัน แต่ก็ยังยึดมั่นในหลักการของอิสระในการแสดงออกของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม กูเกิล ก็ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแล เพราะทุก 1 นาที จะมีการอัพโหลดวิดีโอใหม่ๆ ความยาวรวมกันประมาณ 400 นาทีขึ้นยูทูบ

ทั้งนี้ ได้กล่าวว่าเมื่อปลายปี 2561 มีการถอดคลิปวิดีโอที่ละเมิดหลักเกณฑ์ของชุมชน (Community Guidelines) จำนวน 7.8 ล้านคลิป คิดเป็นสัดส่วน 1% ของจำนวนคลิปที่มีการรับชมบนยูทูบ โดย 75% นำออกจากเครือข่ายได้ทันก่อนมีผู้รับชม นอกจากนี้ ยังมีการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ด้วย

นายไทมุ เนกิชิ นักยุทธศาสตร์ ฝ่ายนโยบายสาธารณะ บริษัท ไลน์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ไลน์ เป็นแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ที่ให้ ความสำคัญกับนโยบายความเป็นส่วนตัวอย่างมาก ทุกข้อความการสนทนาของผู้ใช้งานจะถูกเข้ารหัส และถูกจัดเก็บอยู่ในระบบของสำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบกฎหมายของญี่ปุ่น ซึ่งมีความเข้มงวดในการคุ้มครองสังคมอย่างมาก ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทย เป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของไลน์ รองจากประเทศญี่ปุ่น โดยในจำนวนผู้ใช้เน็ตผ่านมือถือ 50 ล้านคน มีผู้ใช้ไลน์ 44 ล้านคน ใช้งานเฉลี่ย 63 นาทีต่อวัน

ดังนั้น การกำกับดูแลการใช้งานที่ดีบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้นที่มีการลงทุนนำเอาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ แต่ที่ผ่านมา ทางบริษัทเน้นการสร้างความรู้ให้กับเยาวชนในญี่ปุ่น "รู้ทันสื่อดิจิทัล" ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้