การสำรวจทั่วโลกระบุว่าผู้พัฒนาแอปพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

อังคาร ๑๑ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๐:๑๑
- ผู้นำไอทีทั่วเอเชียแปซิฟิกเผย มีความกังวลด้านการขาดแคลนผู้มีความสามารถ , งานค้างปริมาณมาก และโครงสร้างพื้นฐานที่เสื่อมสภาพ

OutSystems ได้ออกรายงานการวิจัยประจำปีฉบับที่ 6 เกี่ยวกับสถานะของการพัฒนาแอพพลิเคชันและความท้าทายที่ทีมพัฒนาและบริการต้องเผชิญ ที่มีชื่อว่า The State of Application Development, 2019: Is IT Ready for Disruption? ซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดผลการสำรวจความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีกว่า 3,300 รายจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจราว 17% มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC)

Steve Rotter, CMO ของ OutSystems กล่าวว่า "การสำรวจของเราในปี 2562 นี้ แสดงให้เห็นว่าแผนกไอที จำนวนมากกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างหนักเมื่อเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลและการพัฒนาแอพพลิเคชัน ผลกระทบที่มากจากการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว ตลอดจนความต้องการในการเปลี่ยนระบบการทำงานมาสู่ระบบดิจิทัลกลายเป็นสิ่งควบคุมทิศทางกลยุทธ์ด้าน ไอที มาเป็นเวลาหลายปี และเมื่อรวมเข้ากับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังคงไม่แน่นอนในปัจจุบัน ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าทำไมบรรดาผู้นำธุรกิจถึงมีความกังวลเกี่ยวกับ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความคล่องตัวเพื่อตอบรับกับตลาดในปัจจุบัน "

นายสตีฟอธิบายว่า รายงานการวิจัยฉบับใหม่ได้พบข้อมูลเชิงลึกที่มาจากผู้จัดการฝ่ายไอที, สถาปนิกองค์กร และนักพัฒนาเพื่อรับมือกับปัญหาที่มีอยู่มากมาย อีกทั้งยังพบอีกว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้ส่งอิทธิพลต่อกลยุทธ์ธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งนั่นคือสาเหตุที่ความต้องการในการพัฒนาเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น ความเร็วและความคล่องตัวก็มีความสำคัญกว่าที่เคยเป็นมา

รายงานของ OutSystems ยังได้สำรวจความสำคัญและความท้าทายของการพัฒนาและส่งมอบแอพพลิเคชัน รวมถึงกลยุทธ์ที่ทีมไอทีใช้เพื่อเร่งความเร็วการส่งมอบแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นด้วย

การค้นพบ 6 ข้อสำคัญที่มีผลกระทบต่อผู้เชี่ยวชาญไอทีทุกคน:

- ความต้องการนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มสูงขึ้น: จากผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกพบว่า จำนวนแอพพลิเคชันที่มีกำหนดส่งมอบในปี 2562 ได้เพิ่มขึ้นถึง 60% โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 38% ที่วางแผนจะส่งมอบแอพพลิเคชัน 25 แอปหรือมากกว่านั้นในปีนี้ และเมื่อพิจารณาเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้ตอบแบบสำรวจ 69% มีแผนที่จะส่งมอบแอพพลิเคชัน 10 แอปหรือมากกว่านั้นในปี 2562 ขณะที่อีก 52% ตั้งเป้าที่จะส่งมอบแอพพลิเคชัน 50 แอปหรือมากกว่านั้นในปีหน้า

- เวลาการพัฒนาที่นานเกินไป: 46% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า พวกเขาต้องใช้เวลาเฉลี่ยในการส่งมอบเว็บหรือแอพพลิเคชันมือถือถึง 5 เดือนหรือนานกว่านั้น

- งานที่ยังค้างอยู่: 63% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า พวกเขายังมีงานในการพัฒนาแอปค้างอยู่ในมือ โดย 16% ในจำนวนนั้นระบุว่ามีงานค้างอยู่มากกว่า 10 แอพพลิเคชันในตอนนี้

- คนที่มีความสามารถในการพัฒนาทั้งหายากและรักษาไว้ยาก: ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เคยจ้างนักพัฒนา โดย 75% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากทั่วโลกอธิบายว่า ผู้ที่มีความสามารถในการพัฒนาแอปนั้นหายาก ขณะที่มีองค์กรในเอเชียแปซิฟิกเพียง 36% ที่มีทีมพัฒนาแอปที่ขนาดใหญ่ขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเก็บรักษานักพัฒนาแอปผู้มีความสามารถไว้นั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล

- การทำงานที่ยังบรรลุผลช้ากว่ากำหนด: แม้องค์กรในเอเชียแปซิฟิกถึง 69% จะมีการลงทุนในเครื่องมือและบริการอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา แต่คะแนนความรวดเร็วในการเสร็จสมบูรณ์โดยเฉลี่ยนั้นกลับย่ำแย่ โดยได้เพียง 2.76 จาก 5 คะแนน นั่นหมายถึงองค์กรส่วนใหญ่ในภูมิภาคยังคงอยู่ในกระบวนการของการกำหนดความคล่องตัวในการทำงาน

- การให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง: องค์กรกว่า 69% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการลงทุนไปกับการปฏิบัติงานที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในปีที่ผ่านมา เช่น การเก็บข้อมูลการใช้งานของลูกค้า ความคิดริเริ่มนวัตกรรม และการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ใช้งานง่าย โดยที่แอปใหม่ๆ ที่มีเป้าหมายจะพัฒนาขึ้นในปี 2019 ล้วนให้ความสำคัญกับการใช้งานโดยตรงของพันธมิตรธุรกิจและลูกค้ามากที่สุด

ดังนั้น Low-Code จึงกลายเป็นกระแสหลักของยุคดิจิตัล

อีกหนึ่งข้อค้นพบที่สำคัญจากงานวิจัยฉบับนี้คือ low-code ไม่ได้มีไว้สำหรับนักนวัตกรรมและผู้ใช้งานในช่วงแรกอีกต่อไป โดยผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิก 43% ระบุว่า องค์กรของพวกเขามีการใช้งานแพลตฟอร์ม low-code อยู่แล้ว และ 12% กล่าวว่าองค์กรพวกเขามีแผนที่จะเริ่มใช้งานในอีกไม่นานนี้

การวิเคราะห์ในรายงานระบุว่าองค์กรที่ใช้ low-code มีแนวโน้มดังนี้:

- 26% มีแนวโน้มที่จะบอกว่าพวกเขาพึงพอใจหรือค่อนข้างพอใจกับความเร็วในการพัฒนาแอพพลิเคชันขององค์กรตัวเอง

- 11% มีแนวโน้มที่จะส่งมอบแอพพลิเคชันบนเว็บภายใน 4 เดือนหรือน้อยกว่า

- 15% มีแนวโน้มที่จะส่งมอบแอพพลิเคชันบนมือถือภายใน 4 เดือนหรือน้อยกว่า

- 20% มีแนวโน้มที่จะได้คะแนนความรวดเร็วต่อความสมบูรณ์ที่ระดับ 3, 4 หรือ 5

- 12% มีแนวโน้มที่จะบอกว่างานที่นักพัฒนาแอปค้างอยู่มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว

- 16% มีการรายงานว่าคะแนนการประเมินตนเองสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ

"จากรายงานสถานะการพัฒนาแอปพลิเคชั่นประจำปี 2562 ได้ค้นพบข้อสรุปแนวโน้มที่สังเกตเห็นในช่วงปีหลังๆ นั่นคือความเข้าใจที่ว่าแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code จะเข้ามาช่วยรองรับนวัตกรรม สานต่อการบริการ และการจัดการบุคลากรที่มีความสามารถในองค์กรให้ดีขึ้น" Mark Weaser รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ OutSystems กล่าว "แพลตฟอร์มการพัฒนา low-code จึงไม่ถูกสงวนไว้เฉพาะสำหรับนักนวัตกรรมและผู้ใช้งานในช่วงแรกอีกต่อไป เพราะมันได้ก้าวข้ามช่องว่างเหล่านี้มาแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายโดยสมาชิกส่วนใหญ่ที่อยู่ในเอเชียแปซิฟิก"

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.outsystems.com/1/state-app-development-trends/

เกี่ยวกับ OutSystems - ลูกค้าหลายพันรายจากทั่วโลกให้ความไว้วางใจ OutSystems แพลตฟอร์ม low code อันดับหนึ่งที่ช่วยให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ทีมวิศวกรที่พิถีพิถันเป็นผู้รังสรรค์ทุกรายละเอียดของแพลตฟอร์ม OutSystems เพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการสร้างแอประดับองค์กร และช่วยให้การพลิกโฉมธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น OutSystems เป็นโซลูชั่นหนึ่งเดียวที่ผนวกพลังในการพัฒนา low code เข้ากับประสิทธิภาพสุดล้ำของโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันที่ใช้งานร่วมกับระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมได้อย่างง่ายดาย รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราได้ทางทวิตเตอร์ @OutSystems หรือลิงก์อิน https://www.linkedin.com/company/outsystems

โลโก้ - https://photos.prnasia.com/prnh/20171116/1994802-1LOGO

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?