หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชันเรือธงด้านแคมปัสเน็ตเวิร์กและดาต้าเซ็นเตอร์ มุ่งสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า

พุธ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๖:๓๒
วันนี้ ที่งานประชุม Industrial Digital Transformation Conference ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางออนไลน์ หัวเว่ย ได้เปิดตัวโซลูชั่นเรือธงใหม่ล่าสุดสำหรับตลาดองค์กร ได้แก่ HiCampus สำหรับเครือข่ายองค์กร และ HiDC สำหรับศูนย์ข้อมูล โดยหัวเว่ยได้อาศัยความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี 5G เครือข่ายออปติก อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (IP) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจควบคู่กันไป เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าบนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชันเรือธงด้านแคมปัสเน็ตเวิร์กและดาต้าเซ็นเตอร์ มุ่งสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า

นายซุน ฝูโหย่ว รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า "เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเปลี่ยนโฉมโลก และเป็นประโยชน์สำหรับทุกย่างก้าวของชีวิต อย่างไรก็ดี เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรมีความซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้มากขึ้น ทุกองค์กรจึงควรรวมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management (BCM)) ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในแผนการพัฒนาระยะยาวของทุกองค์กร และควรรวมระบบ ICT ขององค์กรเข้าในแผนงาน BCM เนื่องจากระบบเหล่านี้เป็นเครื่องมือการผลิตและสินทรัพย์ที่สำคัญ ขณะเดียวกัน นอกจากเป็นผู้สนับสนุนหลักในการกำหนดมาตรฐาน 5G ทั่วโลก และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครือข่ายออปติกแล้ว หัวเว่ยยังติดอันดับ 1 ในฐานะผู้สนับสนุนมาตรฐาน Wi-Fi 6 และเป็นผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมที่สามารถให้บริการโซลูชัน AI แบบฟูลสแตกสำหรับทุกสถานการณ์ ครอบคลุมด้านคลาวด์ เอดจ์ และอุปกรณ์ เราผนวกรวมเทคโนโลยีที่เป็นแกนหลักในสาขาต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น 5G plus IP, IP plus optical และ IP plus AI เพื่อพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมที่จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนงานด้านเทคโนโลยีของโลกธุรกิจ โดยในปี 2020 นี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชันเรือธง 2 โซลูชันด้วยกัน ได้แก่ HiCampus สำหรับเครือข่ายองค์กร และ HiDC สำหรับศูนย์ข้อมูล รวมทั้งยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ดาวเด่น 4 รายการ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในตระกูล AirEngine Wi-Fi 6 และ OceanStor Dorado ตลอดจน OptiXtrans DC908 และ SmartLi UPS ด้วยเป้าหมายที่จะตอบสนองลูกค้าที่ต้องการใช้งานเครือข่ายความเร็วสูง รวมถึงการทำงานที่เป็นอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจที่โดดเด่นให้แก่ลูกค้า"

โซลูชัน Huawei HiCampus ช่วยสร้างเครือข่ายแคมปัสสำหรับองค์กรยุคใหม่

เครือข่ายแคมปัสคือระบบเครือข่ายสำหรับผู้ใช้งานภายในองค์กร ปัจจุบันเครือข่ายแคมปัสขององค์กรกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น เข้าใช้งานได้ยาก ช้า หรือไม่เสถียร กินไฟสูง และไม่รองรับการทำงานเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี โซลูชัน Huawei HiCampus ที่นายซุน ฝูโหย่ว เปิดตัวในวันนี้ มีคุณสมบัติเด่น 3 ประการที่จะช่วยรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ได้แก่:

1. หัวเว่ยแนะนำเทคโนโลยี 5G RF, อัลกอริทึม 5G อาทิ multi-system co-scheduling, Smart Antenna และเครือข่าย radio access network ทีกำหนดโดยซอฟต์แวร์ รวมถึงแนวคิดการสร้างเครือข่าย 5G เข้าสู่แวดวง IP โดยผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ของหัวเว่ย ซึ่งมีเทคโนโลยี 5G และ IP เป็นขุมพลังขับเคลื่อนนั้น นำเสนอประสบการณ์การสร้างเครือข่าย 100 Mbit/s ที่เชื่อมต่อตลอดเวลา ทั้งยังเสถียรที่สุดและเร็วที่สุดในโลก คุณสมบัติเด่นของ AirEngine Wi-Fi 6 ประกอบด้วย อัตราการส่งข้อมูลความเร็วสูงสุด 10 Gbit/s ความหน่วง 10ms และรัศมีความครอบคลุมที่เหนือกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรม 20% เครือข่ายแคมปัสคุณภาพสูงที่เป็นระบบไร้สายโดยสมบูรณ์นี้ มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเครือข่ายแคมปัสแบบเดิม ๆ ที่ต้องเดินสายเครือข่ายร่วมกับการทำงานแบบไร้สายเป็นอย่างมาก

2. โซลูชันเครือข่าย Campus OptiX ทำให้เครือข่ายแคมปัสมีการเชื่อมต่อแบบออปติกโดยสมบูรณ์ผ่านทางสถาปัตยกรรม IP plus POL ซึ่งนอกจากความยืดหยุ่น การประมวลผลที่ทรงพลัง ระบบการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ และงานด้าน O&M ที่เป็นอัจฉริยะแล้ว โซลูชันนี้ยังรวมข้อดีอื่น ๆ ของเทคโนโลยีออปติกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงาน ความไม่ยุ่งยาก และประสิทธิภาพสูง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสนามบิน สถาบันการศึกษา โรงแรม สำนักงาน และสถานการณ์การใช้งานอื่น ๆ ทั้งนี้ จากการประเมินโซลูชันเครือข่ายอย่างครอบคลุมโดย Ovum พบว่า โซลูชัน IP plus POL ของหัวเว่ย มีประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือกว่าโซลูชันแคมปัส layered switching แบบเดิมเป็นอย่างมาก

3. แพลตฟอร์ม Huawei Horizon Digital Platform ยกระดับเครือข่ายแคมปัสจาก single-scenario intelligence เป็น overall campus intelligence โดย IMOC และ NCE เป็นโซลูชัน O&M อัจฉริยะสำหรับเครือข่ายองค์กรอัจฉริยะ ด้วยความที่เป็นระบบแบบเปิด และสามารถตรวจสอบได้แบบฟูลสแตก ซึ่งช่วยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 20% ยกระดับประสบการณ์การใช้งาน 15% เพิ่มประสิทธิภาพ O&M ได้อีก 30% และลดเวลาในการหาจุดบกพร่องเหลือไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ๆ

โซลูชัน Huawei HiDC ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และตัวกลาง

ปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 33 เซตตะไบต์ (ZB) ในปี 2018 เป็น 180 ZB ในปี 2025 ซึ่งหากเป็นไปตามนี้ ระบบข้อมูลแบบเดิมจะเผชิญกับปัญหาติดขัดด้านสถาปัตยกรรมสำหรับการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล การจัดการ และการใช้ข้อมูล ในโอกาสนี้ นายวิง คิน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย จึงได้เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูล Huawei HiDC เพื่อช่วยให้ลูกค้าสร้างศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โซลูชันประกอบด้วยสถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และตัวกลางที่ทำให้การหลอมรวมและแบ่งปันข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. สถาปัตยกรรมแบบทรี-อิน-วัน: โซลูชันเครือข่ายศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ AI Fabric ล่าสุด โดดเด่นด้วยการสูญหายของข้อมูลเป็นศูนย์ โดยใช้อัลกอริทึม iLossless ในการรวมเครือข่าย Ethernet, InfiniBand และ Fiber Channel เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้น 28% และ storage IOPS เพิ่ม 30% โซลูชัน data center interconnection (DCI) นี้ใช้การทำงานประสานกันในรูปแบบของ IP plus optical เพื่อมอบความจุเพิ่มขึ้น 40% และระยะทางในการส่งข้อมูลได้ไกลขึ้น 25% เมื่อเทียบกับผู้จำหน่ายรายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม โซลูชันนี้ทำให้สามารถรวมการจัดการและทราฟฟิกเครือข่ายเพื่อลดเวลา time-to-market (TTM) และลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ลงมากกว่า 30%

2. เทคโนโลยีที่ช่วยให้การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้บริการในอีก 10 ปีข้างหน้า: อุปกรณ์ CloudEngine 16800 data center switch ใช้พอร์ต 400GE ที่มีความหนาแน่นที่สุดในอุตสาหกรรม เพื่อมอบการส่งสัญญาณความเร็วสูงพิเศษระดับ ultra-high-speed ทั้งยังกระจายความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม และจ่ายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ลดการใช้พลังงานต่อบิตลง 50% ซึ่งผลิตภัณฑ์ DCI อย่าง Huawei OptiXtrans DC908 รองรับได้ถึง 800 Gbit/s ต่อหนึ่งความยาวคลื่น และรองรับได้มากถึง 220 ความยาวคลื่น ด้วยการใช้เทคโนโลยี Super C+L band ที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต นอกจากนี้ยังติดตั้งใช้งานง่ายมากขึ้นสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที ด้วยสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ทันสมัย ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเริ่มตั้งแต่ศูนย์จนกระทั่งสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกันแบบ ultra-broadband, ultra-simplified ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับองค์กรในยุคของคลาวด์ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เราเตอร์ NetEngine 8000 series ที่ใช้ SRv6 เพื่อให้สามารถเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อได้ตามแบนด์วิดท์และความหน่วง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนด SLA ของการใช้งานที่แตกต่างกัน ลดโปรโตรคอลเครือข่าย และอำนวยความสะดวกด้าน O&M โดยปัจจุบันมีการนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์แล้วมากกว่า 20 กรณีทั่วโลก

3. การปฏิวัติวงการแบตเตอรี: อุปกรณ์จ่ายไฟสำหรับศูนย์ข้อมูลได้เข้าสู่ยุคของลิเธียม จากเดิมที่เป็นแบตเตอรีแบบตะกั่วกรด โดย Huawei SmartLi UPS ผสานเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิก ดิจิทัล และอินเทลลิเจนซ์เข้าด้วยกันอย่างไม่มีใครเคยทำมาก่อน เพื่อยืดอายุแบตเตอรีให้สามารถชาร์จได้ถึง 5000 ครั้ง ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานยาวนาน 10-15 ปี จึงช่วยลด TCO ของลูกค้าลงได้อย่างมาก อีกทั้งทำให้การจัดการระบบพลังงานของศูนย์ข้อมูลเป็นระบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ขณะที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ของหัวเว่ยอย่าง OceanStor Dorado เป็นระบบ all-flash ซึ่งเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมในแง่ของ IOPS ที่ระดับ 20 ล้าน และรักษาความหน่วงคงที่ที่ต่ำกว่า 0.1ms ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถปลดล็อกศักยภาพจากข้อมูล

กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะหลอมรวมเทคโนโลยีใหม่ ๆ หลากหลายประเภท และใช้การเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับโลกอัจฉริยะ พร้อมขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ปัจจุบัน เมืองต่าง ๆ มากกว่า 700 เมืองทั่วโลก และบริษัท 228 แห่งในทำเนียบ Fortune Global 500 ซึ่งรวมถึง 58 บริษัทใน 100 อันดับแรก ต่างเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุม Huawei Industrial Digital Transformation Conference ได้ที่ https://e.huawei.com/topic/mwc2020/en/

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200225/2729857-1-a

คำบรรยายภาพ: นายซุน ฝูโหย่ว รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200225/2729857-1-b

คำบรรยายภาพ: นายวิง คิน เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ของหัวเว่ย

หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชันเรือธงด้านแคมปัสเน็ตเวิร์กและดาต้าเซ็นเตอร์ มุ่งสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?