หุ่นยนต์ในยุคอุตสาหกรรม 5.0 อนาคตของการผลิตในปี พ.ศ. 2578

พฤหัส ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๕๐
โรงงานในปี ค.ศ. 2035 หรือ พ.ศ. 2578 จะแตกต่างจากโรงงานในปัจจุบันอย่างมาก นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกที่นำเครื่องจักรกล พลังงานน้ำ และพลังงานไอน้ำเข้ามาใช้ขับเคลื่อนการทำงานอัตโนมัติแทนที่คน เครื่องจักรเข้ามารับงานที่เพิ่มมากขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในแต่ละด้านตั้งแต่คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ไปจนถึงอินเทอร์เน็ต ล้วนเป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญให้เกิดระบบการทำงานอัตโนมัติ แม้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยียังคงสำคัญ แต่แนวโน้มของ "การสัมผัสของมนุษย์" (Human Touch) ก็เป็นความต้องการในโรงงานในปีค.ศ. พ.ศ. 2578 ด้วยเช่นกัน
หุ่นยนต์ในยุคอุตสาหกรรม 5.0 อนาคตของการผลิตในปี พ.ศ. 2578

คน เครื่องจักร และความกลัว

ปัจจุบันความสามารถของอินเทอร์เน็ตในยุค "อุตสาหกรรม 4.0" รวมถึงหุ่นยนต์ที่กำลังเติบโตและเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความหวาดกลัวใหม่ที่เชื่อว่า เทคโนโลยีกำลังเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ และเมื่อพิจารณาจากอุตสาหกรรม 4.0 แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์กำลังแบกรับปัญหาจากความเชื่อล่าสุดที่ว่า "เทคโนโลยีกำลังแทนที่เรา" ด้วยเช่นกัน ผู้คนต่างเข้าใจผิดว่าเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์เข้ามาคุกคามการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจริงๆ แล้ว ระบบอัตโนมัติไม่ได้เขามาแทนที่งาน แต่ช่วยสร้างงานใหม่ๆ ขึ้นมาต่างหาก

จากบทความเมื่อเร็วๆ นี้ ของฮาร์วาร์ด บิซิเนส รีวิว (Harvard Business Review) เรื่อง งานอัตโนมัติ ได้ระบุว่า 20% ถึง 80% ของงานที่ได้รับมอบหมายมีระบบอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ไม่มีงานใดที่เป็นอัตโมมัติได้100% ซึ่งหมายความว่า แม้จะมีความก้าวหน้าเพียงใด หุ่นยนต์ก็จะยังไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้อย่างสิ้นเชิง โดยความเป็นจริงแล้ว หุ่นยนต์ได้เข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตและส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ จ้างคนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหุ่นยนต์จึงเป็นตัวช่วยในการสร้างงานไม่ใช่กำจัดงาน

โรงงานรูปแบบใหม่

คำสัญญาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมล่าสุดของ "อุตสาหกรรม 4.0" ไม่ได้เป็นโรงงานระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์เท่านั้น ผู้ผลิตทั้งหลายต่างได้มุ่งสู่ โรงงานที่ใช้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติสมบูรณ์แบบบ หรือ ไลท์ เอาท์ แฟคตอรี่ (Light Out Factory) ซึ่งสามารถผลิตสินค้าตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วด้วยคุณภาพสูง ทั้งยังมีต้นทุนต่ำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแส ไลท์ เอาท์ แฟคตอรี่ เริ่มสะดุดในการติดตั้งกระบวนการผลิต แนวโน้มของผู้บริโภคทั่วโลกก็เริ่มแปรเปลี่ยนกลายเป็นเกิดความต้องการให้มนุษย์กลับมาในยุคอุตสาหกรรม 5.0

ความต้องการจำนวนมากต่อสัมผัสของมนุษย์ (Human Touch) หรืออาจอธิบายความได้ว่า "ส่วนบุคคลจำนวนมาก" (Mass Personalisation) ไม่สามารถพบได้ในภาคการผลิตแบบไลท์ เอาท์ขนาดใหญ่หรือจากช่างฝีมือแบบดั้งเดิมที่ทำงานในร้านเล็กๆ ของตัวเอง ปัจจุบันผู้คนต่างต้องการได้รับสัมผัสของมนุษย์ในสินค้าที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โรงงานแบบนี้ต้องการผลิตสินค้าตามจำนวนและราคาที่สามารถผลิตออกสู่ตลาดได้โดยพึ่งพาเทคโนโลยี แต่ต้องไม่ใช่เทคโนโลยีโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของมนุษย์อย่างในโรงงานแบบไลท์ เอาท์ แฟคตอรี่ ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกับคนงานและมีการสัมผัสของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนงานมีส่วนร่วมเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

คนงาน แบบใหม่

คนงานที่เป็นที่ต้องการในรูปแบบนี้ คือคนงานที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยคนงานประเภทดังกล่าวจะต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านที่ต้องการเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นแบบสัมผัสของมนุษย์ตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งคนงานเหล่านี้อาจผ่านการฝึกปรือฝีมือหรือใช้สายตาที่มีวิสัยทัศน์หรือประสาทสัมผัสอื่นๆ เพื่อประเมินและดำเนินการปรับเปลี่ยนงานที่ผลิตขึ้นมาให้มีความเหมาะสม พวกเขาอาจมีความเข้าใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับวัสดุและกระบวนการผลิต ทั้งยังอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก ซึ่งไม่จำเป็นแล้วสำหรับคนงานที่ใช้เวลาทั้งวันไปกับงานที่แสนน่าเบื่อ งานซ้ำๆ ซากๆ หรืองานที่เป็นอันตราย เนื่องจากหุ่นยนต์และเครื่องจักรอื่นๆ สามารถทำงานเหล่านี้แทนได้และทำได้ดีกว่าด้วย ดังนั้นจึงน่าจะถึงกาลอวสานของคนทำงานในสายการผลิตแบบดั้งเดิมแล้ว

งานของโรงงานในปี พ.ศ. 2578

ในปี พ.ศ. 2578 อุตสาหกรรม 4.0 และโรงงานผลิตแบบไลท์ เอ๊าท์ แฟคทอรี่ จะเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตสินค้า โดยโลกยังคงมีความต้องการสินค้านับล้านรายการที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มมูลค่าด้วยสัมผัสของมนุษย์ใดๆ นอกจากนี้ยังจะมีโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรม 5.0 อีกเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นด้วยเช่นกันในปี พ.ศ. 2578 ซึ่งโรงงานเหล่านี้จะว่าจ้างแรงงานที่มีทักษะมนุษย์ในรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร กล่าวคือจะต้องมีความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในทางศิลปะ ความรู้ด้านวัสดุต่างๆ และความเข้าใจทางกระบวนการ รสนิยมที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ ความเข้าใจในประเพณีต่างๆ และการตัดสินใจที่ซับซ้อน โดยงานเหล่านี้จะไม่เหมือนกับงานในโรงงานที่เรานึกถึงอยู่ในปัจจุบัน โดยจะเป็นงานที่สร้างนิยามแตกต่างจากเดิมที่ว่า "การทำสิ่งที่ฉันไม่ชอบทำ" (doing things I don't like to do) ผู้คนจะรักงานของตัวเอง งานและแนวโน้มเหล่านี้จะช่วยแรงงานมนุษย์และทำให้โลกเป็นสถานที่ทำงานที่ดียิ่งขึ้น

ในโลกยุคปัจจุบัน "อุตสาหกรรม 4.0" เป็นการหลอมรวมฝ่ายไอทีและฝ่ายปฏิบัติการผลิตเข้าไว้ด้วยกัน โดยเราได้เห็นการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลแล้วในอุตสาหกรรมการผลิต สำหรับโรงงานอัจฉริยะในปี พ.ศ. 2578 จะรองรับรูปแบบใหม่ของการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ซึ่งหุ่นยนต์ทำงานที่ต้องใช้กำลังมากและเป็นงานซ้ำๆ ซากๆ ในขณะที่มนุษย์จะทำหน้าที่เป็น "สถาปนิกสร้างสรรค์" ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดจะกลายเป็นพลังชี้ขาดในปี พ.ศ. 2578

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4