ยอดความต้องการเครื่องบินประหยัดพลังงานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่มสูงขึ้น

จันทร์ ๐๔ มีนาคม ๒๐๑๓ ๐๙:๑๑
มีความต้องการเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่เกือบ 10, 000 ลำ โดยรวมไปถึงเครื่องบินลำตัวกว้างมากกว่า 3,800 ลำ

เมื่อเร็วๆนี้ ณ ประเทศสิงคโปร์ มร.จอห์น เลฮีย์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการลูกค้าสัมพันธ์แอร์บัส ได้เปิดเผยถึง การพยากรณ์ทางการตลาดประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกล่าสุดจากแอร์บัส ว่าสายการบินแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะมีแนวโน้มความต้องการเครื่องบินประหยัดพลังงานเพิ่มสูงขึ้นในอีก 20 ปีข้างหน้า

บรรดาสายการบินในภูมิภาคจะทำการรับมอบเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์และเครื่องบินขนส่งสินค้าใหม่ประมาณ 9,870 ลำ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการรับมอบดังกล่าวจะคิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนเครื่องบินใหม่ที่มีการส่งมอบทั่วโลกในอีกกว่า 20 ปีข้างหน้า (มากกว่ายุโรปและอเมริกาเหนือ) และหากมองในแง่มูลค่า สายการบินใหม่แห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเฉลี่ยร้อยละ 40 ของตลาดการบินโลก สะท้อนให้เห็นอัตราความต้องการเครื่องบินลำตัวกว้างที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของสายการบินในภูมิภาคนี้

ในตลาดเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ มีการคาดการณ์ว่าฝูงเครื่องบินที่ให้บริการอยู่กับสายการบินต่างๆในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 2 เท่าภายใน 20 ปีข้างหน้า จาก 4,300 ลำในปัจจุบัน เป็น 10,440 ลำในอนาคต โดยอิงจากอัตราการเติบโตด้านการจราจรทางอากาศประจำปีซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานถึงร้อยละ 5.8 และการซื้อเครื่องบินใหม่จำนวนเกือบ 3,500 ลำเพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของชุมชนเมืองในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทำให้การจราจรทางอากาศมุ่งเน้นไปที่อัตราการขยายตัวของบรรดาเมืองหลักประจำภูมิภาค จนนำไปสู่อัตราความต้องการเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและขจัดข้อจำกัดของสนามบิน โดยสายการบินในภูมิภาคจะมีความต้องการเครื่องบินลำตัวกว้างกว่า 3,840 ลำ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณความต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่ทั่วโลก

ความต้องการเครื่องบินลำตัวกว้างดังกล่าว รวมไปถึงเครื่องบินทางเดินคู่ อาทิ เอ330และเอ350 เอ็กซ์ดับเบิ้ลยูบี จำนวน 3,080 ลำและเครื่องบินรุ่นใหญ่พิเศษที่สามารถบรรทุกได้มากกว่า 400 ที่นั่ง อาทิ เอ380 อีกประมาณ 760 ลำ เพื่อใช้ในเส้นทางบินที่มีความหนาแน่นของผู้โดยสารมากที่สุด โดยในตลาดเครื่องบินรุ่นใหญ่ สายการบินแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่อย่าง เอ380 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45 ของจำนวนเครื่องบินขนาดใหญ่ที่จะทำการส่งมอบในอนาคต

นอกจากการให้บริการบินระยะไกลแล้ว สายการบินในภูมิภาคจะให้บริการเครื่องบินขนาดกลางลำตัวกว้างบนเส้นทางบินในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเปิดเส้นทางบินใหม่โดยใช้เครื่องบินที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 400 ราย

การพยากรณ์ทางการตลาดประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกล่าสุดจากแอร์บัส เผยว่าถึงแม้สายการบินแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะมีความต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น แต่เครื่องบินทางเดินเดี่ยวก็ยังเป็นที่ต้องการอย่างมากในอนาคตเช่นกัน

ความต้องการเครื่องบินทางเดินเดี่ยวมีเหตุมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 7 ต่อปีของสายการบินต้นทุนต่ำในช่วงระยะเวลา 10 ปีให้หลังนี้ การเติบโตดังกล่าวผนวกกับวงจรทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่า ทำให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีความต้องการเครื่องบินทางเดินเดี่ยวรุ่นขายดีที่สุดอย่างเครื่องบินตระกูล เอ320 จำนวนถึงกว่า 6,030 ลำ

ในส่วนของตลาดเครื่องบินลำตัวกว้าง มีการคาดการณ์ว่าความจุในการบรรทุกผู้โดยสารโดยเฉลี่ยของเครื่องบินทางเดินเดี่ยวประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะเพิ่มสูงขึ้นและสายการบินยังมีแนวโน้มเลือกใช้บริการเครื่องบินขนาดใหญ่ซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้นอีกด้วย

ด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะครองตลาดโลกอีกเช่นเคย โดยจากการพยากรณ์ล่าสุด ฝูงเครื่องบินขนส่งซึ่งให้บริการกับสายการบินในภูมิภาคจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 316 ลำในปัจจุบัน เป็นมากกว่า 887 ลำ คิดเป็นร้อยละ 30 ของฝูงเครื่องบินขนส่งทั่วโลก แม้ว่าเครื่องบินขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะได้รับการดัดแปลงมาจากเครื่องบินโดยสาร แต่แอร์บัสได้คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเครื่องบินขนส่งใหม่ประมาณ 251 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยร้อยละ 30 ของเครื่องบินขนส่งจะเป็นเครื่องบินขนาดกลางลำตัวกว้างอย่าง เอ330 ที่มีพิกัดบรรทุกระหว่าง 45 -70 ตัน

“ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะเป็นตลาดหลักที่สำคัญอย่างมากและมีผลเกี่ยวเนื่องต่อตลาดการบินทั่วโลกในอีก 20 ปีข้างหน้า”มร.จอห์น เลฮีย์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการลูกค้าสัมพันธ์แอร์บัส กล่าวพร้อมเสริม “การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมืองและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้คนเดินทางมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการเครื่องบินขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

“แอร์บัสจะตอบโจทย์ความต้องการของสายการบินในภูมิภาคนี้ ด้วยการนำเสนอตระกูลเครื่องบินที่ทันสมัย ทรงประสิทธิภาพและมีความครอบคลุมที่สุด ซึ่งสามารถบรรทุกได้ตั้งแต่ 100 ถึงกว่า 500 ที่นั่ง เหมาะสมสำหรับทุกกลุ่มตลาด”

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกถือเป็นตลาดหลักในการทำธุรกิจของแอร์บัส ยอดสั่งซื้อเครื่องบินจากลูกค้าในภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 31 ของยอดสั่งซื้อเครื่องบินทั้งหมดที่บริษัทฯได้รับ ปัจจุบันเครื่องบินแอร์บัสมากกว่า 2,100 ลำให้บริการกับ 97 สายการบินทั่วภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินที่รอการส่งมอบในอนาคตอีก 1,800 ลำ คิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวนเครื่องบินค้างส่งทั้งหมดของแอร์บัส สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในฐานะตลาดที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดสำหรับเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่

การพยากรณ์ดังกล่าวของแอร์บัส อ้างอิงมาจากแอร์บัส โกลบอล มาร์เก็ต ฟอร์คาสต์ ที่คาดการณ์ไว้ว่าความต้องการเครื่องบินโดยสารพาณิชย์และเครื่องบินขนส่งสินค้าใหม่จะมีมากถึงกว่า 28,200 ลำ คิดเป็นมูลค่าถึงเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยการพยากรณ์ความต้องการเครื่องบินสามารถแบ่งออกตามขนาดเครื่องบินได้ดังนี้ คือ เครื่องบินโดยสารรุ่นใหญ่พิเศษ 1,710 ลำ เครื่องบินทางเดินคู่ลำตัวกว้าง 6,970 ลำและเครื่องบินทางเดินเดี่ยว 19,520 ลำ

ตระกูลเครื่องบินของแอร์บัส ประกอบไปด้วย เครื่องบินทางเดินเดี่ยวตระกูล เอ320 ที่มียอดขายสูงที่สุด เครื่องบินลำตัวกว้างขนาดกลางยอดนิยมอย่าง เอ330 และเอ350 เอ็กซ์ดับเบิ้ลยูบีและเครื่องบินขนาดใหญ่พิเศษอย่าง เอ380 นอกจากนั้น ในตลาดขนส่งสินค้า แอร์บัสยังมีเครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง เอ330-200เอฟและเอ330พี2เอฟ (Passenger-to-Freighter: P2F) มานำเสนออีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ