จำนวนฝูงบินสำหรับการบรรทุกขนส่งสินค้าจะเพิ่มจำนวนสูงเกือบถึง 3,000 ลำ ในอีก 20 ปีข้างหน้า

อังคาร ๒๒ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๐๙:๔๕
- การขยายตัวของการจราจรในระยะยาวของประเทศที่กำลังพัฒนาจะแซงหน้าการเจริญเติบโตของประเทศที่พัฒนาแล้ว

- การขนส่งโดยฝูงบินจะยังคงเป็นส่วนสำคัญในโลกของตลาดการขนส่งสินค้า สัดส่วนการขนส่งสินค้าใต้ท้องเครื่องบินโดยสาร (Belly freight) จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

- เครื่องบินขนาดกลางเป็นเครื่องบินกลุ่มที่ถูกนำมาใช้ในการขนส่งมากที่สุด จะมีความต้องการเครื่องบินใหม่เพิ่มขึ้นอีกเกือบถึง 1,300 ลำ ในปี พ.ศ. 2575

- แอร์บัสจัดอยู่ในตำแหน่งที่ดีของตลาดด้วยเครื่องบินขนส่งรุ่นใหม่อย่าง เอ330-200เอฟ และเอ330-พี2เอฟ (Passenger-to-Freighter)

จากการพยากรณ์ล่าสุดของแอร์บัสถึงการขนส่งสินค้าในตลาดโลกหรือ คาร์โก้ โกลบอล มาร์เก็ต ฟอร์คาสต์ (Cargo GMF) รายงานว่าอัตราการจราจรทางอากาศทั่วโลกจะเติบโตขึ้นโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 4.8 ต่อปีในอีก 20 ปีข้างหน้า ก่อให้เกิดความต้องการเครื่องบินขนส่งรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอีกเกือบสองเท่าตัว ประมาณ 3,000 ลำ การเจริญเติบโตที่คาดการณ์ไว้นี้คือการขับเคลื่อนด้วยแนวโน้มของโลกในเชิงบวกในหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการค้าโลก, การบริโภคของภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม

จากการพยากรณ์แสดงให้เห็นถึงความต้องการเครื่องบินในการขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลกในปี พ.ศ. 2575 จะมากถึงประมาณ 2,700 ลำ ทั้งเครื่องบินใหม่และเครื่องบินที่ทำการปรับเปลี่ยน กว่าครึ่งหนึ่งของเครื่องบินเหล่านี้จะถูกนำมาแทนที่เครื่องบินรุ่นเก่า โดยเครื่องบินเก่าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันจะถูกปลดระวาง ส่วนที่เหลือจะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาต่อไป โดยในจำนวน 2,700 ลำดังกล่าวนี้ จะเป็นเครื่องบินขนส่งที่ผลิตโดยตรงจากโรงงาน 870 ลำ มูลค่าถึง 234 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อีก 1,860 ลำ เป็นการดัดแปลงมาจากเครื่องบินโดยสาร และอีก 175 ลำ ในปี พ.ศ. 2575 เป็นเครื่องบินให้บริการขนส่งสินค้าที่ใช้งานแล้วในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าใต้ท้องเครื่องบินโดยสาร (Belly freight) จะยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงประมาณครึ่งหนึ่งของการขนส่งทางอากาศในเชิงพาณิชย์ในเส้นทางการจราจรระหว่างประเทศ

แอนเดรส เฮอร์แมนน์ รองประธานบริษัทแอร์บัส หัวหน้าแผนกเครื่องบินขนส่งสินค้า กล่าวว่า “เรากำลังก้าวไปข้างหน้าหลังจากผ่านพ้นวิกฤตการณ์ 2-3 ปีที่ยากลำบาก การค้าโลกกำลังมีการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นและเกิดตลาดใหม่ๆที่มีความหลากหลายซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งเครื่องบินขนส่งขนาดกลางจะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายในการขนส่งนี้” พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่า “นี่เป็นเหตุผลที่การพยากรณ์ของแอร์บัสซึ่งมองถึงหัวใจหลักของความต้องการเครื่องบินขนส่งสินค้าในอนาคตว่าจะอยู่ในประเภทขนาดกลางที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยเป็นส่วนใหญ่ มาทดแทนฝูงบินเดิมและเพื่อการพัฒนาเติบโตในระยะยาว”

การพัฒนาทางเศรษฐกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศ ในแถบเอเชียแปซิฟิก(รวมถึงอินเดียและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 36 ของการขนส่งสินค้าทั่วโลก และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ในปีพ.ศ. 2575 ทั้งหมดนี้ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนการขนส่งสินค้าทางอากาศให้เจริญเติบโต ปัจจุบันสัดส่วนของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 15 และในปีพ.ศ.2575 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22 ของตลาดการขนส่งทางอากาศทั่วโลก จากการเปรียบเทียบสัดส่วนการรวมกันของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรป,กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช(CIS) และอเมริกาเหนือคิดเป็นร้อยละ 51 ของการขนส่งทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555 และถึงแม้ว่าการขนส่งจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากภายในปี พ.ศ.2575 สัดส่วนของกลุ่มประเทศดังกล่าวจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 45

สัดส่วนของฝูงบินขนส่ง

เครื่องบินขนส่งขนาดเล็กมีประมาณร้อยละ 23 ของฝูงบินขนส่งทั้งหมดในขณะนี้ และถึงแม้ว่าตลาดการขนส่งทางอากาศแบบด่วนพิเศษกำลังเป็นที่นิยมในประเทศจีนและอินเดียจะสามารถเพิ่มจำนวนของเครื่องบินขนส่งขนาดเล็ก จาก 380 ลำ ในปี พ.ศ. 2555 เป็นมากกว่า 600 ลำในปี 2575 สัดส่วนโดยรวมของฝูงบินขนส่งทั่วโลก ก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 21

เครื่องบินขนส่งขนาดกลาง มีความยืดหยุ่นช่วยให้สายการบินสามารถดัดแปลงเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาดได้ มีอยู่ประมาณร้อยละ 45 ของฝูงบินที่ให้บริการ และมีปริมาณการใช้เพิ่มมากขึ้นสำหรับการให้บริการในระดับภูมิภาคแบบด่วนพิเศษ, ระดับภูมิภาคและการขนส่งสินค้าระยะทางไกลทั่วไป คาดว่าจำนวนเครื่องบินจะเพิ่มขึ้นในปีหน้าจากการขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน สัดส่วนของเครื่องบินขนส่งขนาดกลางได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตถึงกว่า 1, 290 ลำ ภายในปี พ.ศ.2575 โดยเพิ่มขึ้นจาก 744 ลำ ในสิ้นปีพ.ศ. 2555 จากการเติบโตดังกล่าวส่งผลให้ฝูงบินขนส่งขนาดกลางสามารถผูกขาดตลาดได้ถึงร้อยละ 45 ของฝูงบินขนส่งสินค้าทั่วโลก แอร์บัสจัดอยู่ในตำแหน่งที่ดีของตลาดส่วนนี้ เพราะไม่เพียงมีเครื่องบินแอร์บัสเอ330-200เอฟ แต่ยังมีเครื่องบินโดยสารและขนส่งสินค้า (Passenger to Freight) ตระกูลเอ330 ซึ่งเข้าร่วมดำเนินการในการดัดแปลงร่วมกับบริษัท อีเอฟดับเบิ้ลยู (EFW) และ เอสที แอโร่สเปซ (ST Aerospace) อีกด้วย

ในขณะเดียวกัน เครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 32 ของฝูงบินขนส่งในปัจจุบัน และถูกใช้เพื่อการขนส่งระยะทางไกลเป็นส่วนใหญ่ใน 3 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ฝูงบินของเครื่องบินขนาดใหญ่จะมีมากกว่า 1,000 ลำ ภายในปีพ.ศ. 2575 ซึ่งเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่จะค่อยๆมีการเพิ่มสัดส่วนขึ้นในฝูงบินขนส่งทั่วโลก

แอร์บัสเป็นผู้ผลิตครื่องบินชั้นนำที่ทันสมัยและครบวงจรที่สุดให้กับสายการบินต่างๆในตลาด ปัจจุบันนี้ เครื่องบินจากแอร์บัสมากกว่า 13,200 ลำ ได้รับการสั่งซื้อจากลูกค้าและผู้ประกอบการ 500 บริษัททั่วโลก ตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวบริษัทเข้าสู่ตลาดในช่วงต้นปีพ.ศ. 2513 แอร์บัสมีการออกแบบและผลิตในประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร และสเปน และยังมีสาขาย่อยในสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest