เยือนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดสมุทรปราการ เช็คอินวัดบางเสาธงนอก นมัสการวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันติ เยือนคลังน้ำมัน BASF อากาศยาน สถานที่ท่องเที่ยวประทับใจที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ

พุธ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๔๒
นายกัญญา จุฑามณี พัฒนาการอำเภอบางเสาธงพร้อมด้วยนายประสิทธิ์ เจริญกุลพัธนากร และนายสมบัติดำรงค์ พุฒพลายงาม ผู้ใหญ่บ้านหนองงูเห่า พาเยี่ยมชมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลบางเสาธง และตำบลศรีษะจรเข้น้อย อำเภอ บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ในโครงการกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร เยือนชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี จังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิประเทศติดแม่น้ำและทะเล อาหารการกินหลากหลายและรสชาติอร่อย รวมถึงผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีความหลากหลายและมีความโดดเด่น เป็นที่รู้จัก และต้องการของคนจำนวนมาก แถมการคมนาคมยังสะดวก ประเดิมเช็คอินกันที่วัดบางเสาธงนอก ซึ่งอำเภอบางเสาธงแห่งนี้มีของดีอยู่มากมาย อาทิ วัดบางเสาธงนอก (หมู่ 6 ตำบล.บางเสาธง) ที่เป็นสัญลักษณ์ศูนย์รวมใจชาวชุมชน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง พากราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อธิฐานขอพร จากนั้นนำชมการแสดง และกิจกรรมสาธิตพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน โดยกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านบางเสาธง จากนั้นไปต่อกันที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี (หมู่ 9 ตำบล ศรีษะจระเข้น้อย) ก็มีกิจกรรมสาธิตการเก็บผักกระเฉดนำมาทำอาหารให้ได้ชมลิ้มลองชิมกัน แวะอีกจุดก่อนกลับมาที่ ม.10 ซึ่งเป็นคลังน้ำมัน BASF เพื่อร่วมทำกิจกรรมเติมน้ำมันอากาศยาน นอกจากนี้ยังมีการแสดงโชว์ของน้องๆเยาวชน ลูกหลานชาวบ้านที่ตั้งใจตระเตรียมมาให้ได้ดูกันเพลินตา จากการลงลึกถึงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้ได้รู้ว่าแม้แต่ในพื้นที่อันห่างไกลของอำเภอบางเสาธงนั้นแฝงไปด้วยมนต์เสน่ห์ อุดมด้วยของดีๆอยู่อย่างมากมาย รวมทั้งวิถีชีวิตที่ยังคงความเป็นชุมชนดั่งเดิมอยู่ไม่จางหาย สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ แต่ยังคงความเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง สอดรับกับธรรมชาติที่ยังคงสมบูรณ์งดงาม

ประวัติความเป็นมา

คำว่า "บางเสาธง" มีที่มาจากการดำเนินวิถีชีวิตของประชาชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ 3 ประการ คือ 1. การปักธงที่คันทำนบ บริเวณปากคลองบางยาว ต่อมาเปลี่ยนเป็น "คลองบางเสาธง" ซึ่งตัดกับคลองสำโรง เพื่อบอกจุดปิดคลองให้เรือที่สัญจรไปมารู้แต่เนิ่น ๆ 2. การปักธงตามหัวคันนาของชาวนา เมื่อมีการลงแขกดำนา ถอนกล้าหรือการละเล่นต่าง ๆ เช่น การเล่นสงกรานต์ เป็นต้น 3. ในแถบคลองบางยาว (คลองบางเสาธง) ถือเป็นสัญญาณธงตามวัด เพื่อบอกเวลาพัก-เลิกทำนาในสมัยก่อนจากการใช้สัญลักษณ์ "เสาธง" เพื่อสื่อความหมายเมื่อมารวมกัน "บาง" ซึ่งแปลว่า "น้ำ" แล้วทำให้บริเวณแถบนี้เรียกกันว่า "บางเสาธง" ส่วนการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบางเสาธงเมื่อปี 2542

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital