กระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM พร้อมขยายการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน – ท่าพระ 23 ธันวาคมนี้ เพื่อเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าและมอบความสุขในการเดินทางให้ประชาชน

จันทร์ ๒๓ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๑๖
วันนี้ (23 ธันวาคม 2562) เวลา 14.00 น. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน – ท่าพระ โดยมี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) และโฆษกกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายสราวุธ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เข้าร่วมในพิธีฯ ณ สถานีท่าพระ จากนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM ได้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากสถานีท่าพระไปยังสถานีเตาปูน พร้อมทั้งทักทายประชาชนกลุ่มแรกที่มารอขึ้นรถไฟฟ้า ก่อนจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นไปอย่างคึกคัก

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน – ท่าพระ จากสถานีบางโพ – สถานีสิรินธร จำนวน 4 สถานี โดยไม่คิดค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และได้เร่งรัดดำเนินงานในการขยายการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้ครบทุกสถานีเต็มโครงข่ายของเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้กับประชาชน โดยพร้อมจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ เพิ่มอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีไฟฉาย และสถานีจรัญฯ 13 รวมเป็น 8 สถานี คือ จากสถานี บางโพ – สถานีจรัญฯ 13 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 – 29 มีนาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. เฉพาะในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 นี้ จะเปิดทดลองให้บริการจากสถานีเตาปูน – สถานีสิรินธร ตั้งแต่เวลา 10.00 น. และจากสถานีเตาปูน – สถานีท่าพระ ตั้งแต่เวลา 14.30 – 18.00 น. โดยจะให้บริการรถไฟฟ้าแบบวิ่งไป-กลับ จากสถานีเตาปูน – สถานีท่าพระ มีรถไฟฟ้าให้บริการจำนวน 6 ขบวน ระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8 นาที ซึ่งผู้โดยสารจากสายสีน้ำเงินปัจจุบันหรือสายสีม่วงที่ต้องการเดินทางไปปลายทางระหว่างสถานีจรัญฯ 13 – สถานีบางโพ จะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีท่าพระหรือสถานีเตาปูน

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม รฟม. และ BEM ได้เตรียมพร้อมที่จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบครบทั้งโครงข่ายและจัดเก็บค่าโดยสารตามปกติทั้งเส้นทาง ในวันที่ 30 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจะคิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามระยะทาง ตั้งแต่สถานีแรกที่อัตรา 16 บาท สูงสุด 42 บาท ในกรณีเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 70 บาท โดยเมื่อผู้โดยสารแตะบัตรหรือเหรียญโดยสารที่ประตูอัตโนมัติแล้ว จะสามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้าได้ไม่เกิน 180 นาที

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่รัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ รฟม. ทำหน้าที่กำกับดูแลในการดำเนินงานโครงการ เพื่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมและรองรับการเดินทางของประชาชน โดยมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระยะทางรวมทั้งสิ้น 28 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง – บางแค เชื่อมต่อจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีหลักสอง มีระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เชื่อมต่อจากสถานีบางซื่อ ผ่านแยกเตาปูนและไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ บริเวณแยก ท่าพระ มีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี ภายในสถานีมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ ทางลาดสำหรับคนพิการ บันไดทางขึ้น – ลงสถานี บันไดเลื่อน ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร และเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อรองรับการใช้งานของผู้โดยสารทุกประเภท

ทั้งนี้ เมื่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดให้บริการอย่างเต็มโครงข่ายแล้ว จะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร จำนวน 38 สถานี และมีสถานีท่าพระเป็นสถานีร่วม (Interchange Station) เชื่อมต่อเส้นทางเป็นโครงข่ายวงกลมที่ครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครและเติมเต็มโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ยังมีจุดที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ ทั้งทางราง ทางบก และทางน้ำในเขตเมือง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง บรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัด อันเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและยกระดับการเดินทาง พร้อมทั้งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้