แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ปตท.ได้รางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ศุกร์ ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๑๗
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมอบรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม และ รางวัลที่ 1 สาขาเครื่องจักรกลเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จากผลงานวิจัยและพัฒนาแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบโปร่งแสง เสนอโดย ดร.ณัฐพงษ์ บริรักษ์สันติกุล นักวิจัยสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา

นายวิจิตร แตงน้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. เปิดเผยว่า ตามที่สถาบันวิจัย ปตท.ได้ส่งผลงานแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดคัลเลอร์ฟูล พีวี (Colorful PV) เข้าร่วมประกวดรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม 2557 จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติปรากฏว่า ผลงานได้รับรางวัลที่ 1 สาขาเครื่องจักรกลเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม และ รางวัลสุดยอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ทั้งนี้ จะมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00-18.00 น. ที่ไบเทคบางนาเช่นกัน

สำหรับพิธีมอบรางวัลเทคโนโลยีเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2557 นั้น จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ทำให้การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิตและสินค้าที่ผลิตมีคุณภาพสูง จึงเป็นการสร้างความแตกต่างโดยใช้องค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมาเอง หรือต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลยิ่งขึ้น อาศัยการบริหารจัดการความรู้ทางด้าน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยดังกล่าวยังจะช่วยให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีโอกาสเลือกผลงานของคนไทยไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้อีกด้วย

แผงเซลล์แสงอาทิตย์คัลเลอร์ฟูล พีวี ของสถาบันวิจัย ปตท. ซึ่งพัฒนาโดย ดร.ณัฐพงษ์ นั้น เป็นการนำเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกมาพัฒนา โดยทำให้มีสีสันสวยงามเพื่อเหมาะกับการใช้งานในด้านการตกแต่งอาคารทั้งภายในและภายนอก ในขณะที่ยังคงคุณสมบัติของการผลิตไฟฟ้าตามที่เป็นหน้าที่หลักของเซลล์แสงอาทิตย์

ดร.ณัฐพงษ์ กล่าวว่า ข้อดีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์คัลเลอร์ฟูล พีวี นั้น ประกอบด้วย 1.ความสามารถในการมองทะลุผ่านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถใช้เป็นวัสดุตกแต่งที่มีสีสันสวยงาม 2.ความสามารถในการลดการส่องผ่านของแสง UV ได้มากกว่า 99% และ ลดการส่องผ่านรังสี IR ได้ มากกว่า 40% ซึ่งรังสีเหล่านี้สามารถทำอันตรายต่อผิวหนังมนุษย์ได้ 3.ลดการสะท้อนของแสงแดดได้ มากกว่า 94% ที่เป็นอันตรายต่อนัยน์ตามนุษย์ หรือรบกวนสายตาผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง 4.ป้องกัน และลดอุณหภูมิหรือความร้อนจากภายนอกที่จะเข้าสู่ภายในอาคารได้มากกว่า 9% ทำให้อาคารมีอุณหภูมิ ภายในต่ำและมีอากาศเย็นกว่าภายนอก 5.ประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ซึ่งเพิ่มมูลค่า และ ความสวยงามให้กับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง และ 6.ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรหรืออาคารที่ติดตั้งแผงในด้านการอนุรักษ์พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรับชมตัวอย่างผลิตภัณฑ์แผงเซลล์แสงอาทิตย์คัลเลอร์ฟูล พีวี ได้ ณ บูธนิทรรศการระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.00-18.00 น. ที่ไบเทคบางนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๗ เกษตรเขต 2 ภาคตะวันตก ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ตามโครงการบรรพชาสามเณร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28
๑๒:๒๖ 24WASH แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24ชั่วโมง มุ่งมั่นสร้างความแตกต่าง ด้วยแนวคิด Green Laundromat - ซักที่นี่
๑๒:๑๓ PIMO-ไพโม่ รับอานิสงส์เปลี่ยนแดดเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วย Solar Cell
๑๒:๔๑ กลับมาอีกครั้ง!! NICE CAR AUCTION งานประมูลรถสวย คัดพิเศษที่ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดเต็ม แจกทอง ผู้ประมูลสูงสุด 19 - 21 เมษายนนี้ ลานกิจกรรม MBK AVENUE โซน
๑๒:๑๒ ส่องไอเทมสุดฮอตกับคอลเล็กชั่นล่าสุด เอ็กซ์คลูซีฟเจแปนแบรนด์ จากสยาม ทาคาชิมายะ ห้างญี่ปุ่นหนึ่งเดียวในไทย ณ
๑๒:๔๐ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 12 แห่ง ผ่านการรับรองของ Bureau Veritas คว้า มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จาก GSTC
๑๑:๐๑ เสิร์ฟวัตถุดิบท้องถิ่นนครปฐม รังสรรค์เมนูจานอร่อย 16 ร้านอาหารชั้นนำ กับ ปฐมบทใหม่ของความอร่อย ที่ เซ็นทรัล
๑๑:๔๘ นีเวีย ชวนสร้างพลังใจแบ่งความห่วงใยผ่านโครงการ นีเวีย ชวนแชร์ ส่งต่อความห่วยใยสร้างพลังใจแก่ผู้ป่วยมะเร็ง NIVEA Supporting Moment of
๑๑:๑๕ เฮงลิสซิ่ง สาดความสุข รับเงินก้อนใหญ่ ยกขบวนแจกความชุ่มฉ่ำ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ 2567
๑๑:๕๒ บุญถาวร จัดงาน Builder Talk ชวน ลุงช่าง แชร์ไอเดียการสร้างตัวตน ผ่าน โซเชียลมีเดีย กับ งานก่อสร้าง