ก.พลังงาน ร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิค (APEC)

จันทร์ ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๖ ๐๗:๒๕
ก.พลังงาน ร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิค (APEC) พร้อมถอดบทเรียนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่า และศึกษานวัตกรรมรูปแบบใหม่โรงไฟฟ้า ชี้พลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกเชื้อเพลิงสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยรักษาสมดุลด้านต้นทุนค่าไฟฟ้า และยังอยู่ตามแผน PDP 2015 ยันไทยต้องเตรียมพร้อมศึกษาอย่างรอบด้าน คู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจสาธารณชน

ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (25 มีค.) กระทรวงพลังงานได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการตามความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิค (เอเปค) ด้านพลังงานนิวเคลียร์ หรือ APEC SELF-FUNDED WORKSHOP ON NUCLEAR POWER ภายใต้หัวข้อ "พลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นทางเลือกในการจัดหาไฟฟ้าคาร์บอนต่ำในอนาคตหรือไม่" ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากหลายองค์กร

ที่สำคัญ เข้าร่วมประชุมหารือถึงทิศทางการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งถือเป็นทางเลือกการผลิตไฟฟ้าที่มีความสำคัญพร้อมจะได้ร่วมกันแบ่งปันถึงการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ที่จะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในอนาคตอีกด้วย

ทั้งนี้ การประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะได้รับทราบถึงประสบการณ์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่าซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการฟื้นฟู ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมประชุมจะได้ร่วมกันถอดบทเรียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางการป้องกันในอนาคต นอกจากนี้จะได้ร่วมกันศึกษาและรับทราบถึงนวัตกรรมรูปแบบใหม่ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หรือเทคโนโลยี Small Modular Reactor (SMR) ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในความสนใจของโลกในขณะนี้

ดร.สราวุธ กล่าวเพิ่มว่า นโยบายการส่งเสริมเชื้อเพลิงทางเลือกเพื่อผลิตไฟฟ้าในอนาคต โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ยังคงอยู่ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP 2015 โดยจะมีการเข้าระบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ ในช่วงปลายแผนฯ หรือประมาณปี 2579 ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานได้อยู่ระหว่างเตรียมตัวในการศึกษาอย่างรอบด้าน พร้อมกับการสร้างความรับรู้ความเข้าใจกับสาธารณะ โดยมีกรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ ASEAN Economic Community's Nuclear Education ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญให้เกิดการพัฒนาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในภูมิภาคนี้

"พลังงานนิวเคลียร์ ยังถือเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกผลิตไฟฟ้าในอนาคตที่สำคัญของไทย และตามแผน PDP 2015แม้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดช่วงปลายแผน หรืออีก 20 ปีข้างหน้า แต่กระทรวงพลังงานจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด เพราะเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ถือเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยทำให้ค่าไฟฟ้าในอนาคตไม่ผันผวน และยังมีส่วนสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย" ดร.สราวุธกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4