องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJA) ฉลอง 40 ปี ความสำเร็จบนพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJDA)

จันทร์ ๒๓ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๑๘
องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ MTJA ฉลอง 40 ปี การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วม เพื่อแสวงประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม โดยพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ถือเป็นผลงานความร่วมมือระหว่างประเทศที่ได้รับการชื่นชมจากนานาชาติในเวทีระหว่างประเทศที่สามารถแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ พร้อมเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นต่อไป ผ่านความร่วมมือด้านต่างๆ โดยผู้แทนจากทั้งสองประเทศได้ย้ำถึงความร่วมมือต่อไปในอนาคตภายในงานเฉลิมฉลองความสำเร็จวันนี้

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยและมาเลเซียเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์มาอย่างยาวนาน มีการแบ่งปันความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมสังคมและประวัติศาสตร์ มานานหลายศตวรรษ ด้วยจิตวิญญาณของมิตรภาพและความร่วมมือซึ่งกันและกัน "องค์กรร่วมมาเลเซีย-ไทยถือเป็นการเริ่มต้นภารกิจอันยิ่งใหญ่ระหว่างสองประเทศ เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐบาลในการดูแล สำรวจและแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมบนพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia – Thailand Joint Development Area : MTJDA) บนพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร รวมถึงการจัดการค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์จากกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมฯ ภายใต้เงื่อนไขของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract) เป็นระยะเวลา 50 ปี ซึ่งรัฐบาลทั้งสองรับภาระและแบ่งปันโดยเท่าเทียมกันในสัดส่วน 50:50 นับได้ว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมร่วมกันและแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติจนเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติบนเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งการจัดงานในวันนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายดาโต๊ะ สรี โมฮัมเหม็ด อัซมิน อาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของมาเลเซีย มาเป็นประธานร่วมในการจัดงานดังกล่าวอีกด้วย

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมการร่วมฝ่ายไทย ในองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่างมหาศาล เพราะเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ ส่งเข้าประเทศไทยเฉลี่ย 509 ล้าน ลบ. ฟุตต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 16 ของการจัดหาก๊าซ ของประเทศ (3,252 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนแรกถูกส่งไปยังจังหวัดสงขลาและโรงไฟฟ้าจะนะจำนวน 163 ล้าน ลบ.ฟุต เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขนส่งของภาคใต้ตอนล่างและส่งก๊าซให้กับสถานีบริการ NGV 12 แห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจะนะ ถือเป็นแหล่งความมั่นคงให้กับธุรกิจและครัวเรือนของภาคใต้ ส่วนที่สอง ถูกส่งไปยังจังหวัดระยองจำนวน 346 ล้าน ลบ.ฟุต เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคกลางและภาคตะวันออก

ปัจจุบัน ระยะเวลาความร่วมมือนั้นผ่านไปแล้ว 40 ปี และกำลังจะก้าวเข้าสู่ทศวรรษสุดท้ายภายใต้ข้อตกลง ในปี 2572 จากการประเมินศักยภาพปิโตรเลียม พบว่าในพื้นที่ของ MTJA จะยังคงมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่สามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ไทยและมาเลเซียได้อีกต่อไปไม่น้อยกว่า 20 ปี และ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมสู่ประชาชน ชุมชน ในพื้นที่ใกล้เคียงของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบและการจ้างแรงงาน กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นานาประเทศในการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตพื้นที่ทับซ้อนในทะเลอย่างเป็นรูปธรรม"

ด้าน ตันศรี ดร.ราฮาหมัด บีวี ยู-ซอฟ ประธานกรรมการร่วมฝ่ายมาเลเซียฯ กล่าวว่า องค์การร่วมไทย-มาเลเซีย ได้ดำเนินงานมาถึง 40 ปี ผ่านความร่วมมือที่ดีจากประเทศไทย โดยพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันการในแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศ

ปัจจุบันบนพื้นที่พัฒนาร่วมนี้มีแหล่งผลิตปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ จำนวน 3 แปลง ได้แก่ แปลง A-18 , แปลง B-17& C-19 และ B-17-01 ซึ่งมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้งการสร้างงานให้กับผู้คนได้มากกว่า 50,000 ตำแหน่ง สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยทั้งในมาเลเซียและไทยจำนวน 16 โครงการมากกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ และข้อมูลในปี 2562 พบว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติตามสัญญาได้เฉลี่ยประมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ผลิตคอนเดนเสทเฉลี่ยประมาณ 16,700 บาร์เรลต่อวัน รวมรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่นอกจากรายได้ที่เกิดขึ้นนี้ยังมี 'ผลกำไรที่จับต้องไม่ได้' ที่เกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย คือการแลกเปลี่ยนความรู้การสร้างทักษะ กำลังการผลิต และการเติบโตของฐานการวิจัยที่แข็งแกร่งในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ หลังจากครบ 50 ปีของการลงนามบันทึกความเข้าใจในปี พ.ศ. 2572 ทั้งสองประเทศเชื่อมั่นว่าจะยังดำเนินการความร่วมมือต่อไปได้ ด้วยการขยายขอบเขตการทำงานที่มากขึ้น เพื่อยกระดับและสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ สร้างการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่เหล่านี้ได้โดยตรง และยังมีแนวโน้มที่จะขยายความร่วมมือเช่นเดียวกันนี้ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนด้วยเช่นกัน"

นอกจากการพัฒนาด้านพลังงานแล้ว ระหว่างสองประเทศยังมีกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับสังคมและชุมชนในรูปแบบกองทุนที่จัดตั้งโดย MTJA ที่ทำการวิจัยเทคโนโลยีและพลังงานสะอาด สร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยหลังจากนี้จะเป็นการดำเนินงานในเชิงลึกมากขึ้น สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตที่จะยึดมั่นในวิถีและแนวคิดเพื่อให้เติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนเช่นกัน

ข้อมูลประกอบ:

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2522 ไทยและมาเลเซียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงประโยชน์จาก

ทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นบริเวณทับซ้อนเนื้อที่ประมาณ 7,250 ตร.กม. โดยเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า Malaysia – Thailand Joint Development Area (MTJDA) ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของอ่าวไทย และต่อมาได้จัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย Malaysia-Thailand Joint Authority อย่างเป็นทางการในปี 2534 เพื่อบริหารและดำเนินงานเกี่ยวกับการสำรวจและพัฒนาแหล่งทรัพยากรใน MTJDA ในนามของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ เพื่อแบ่งผลประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเท่าเทียมกัน

ปัจจุบันผู้ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย มี 2 กลุ่ม ดังนี้

- กลุ่มที่ 1 แปลง A-18 : พื้นที่ 3,000 กิโลเมตร ดำเนินการโดย Carigali Hess Operating Company Sdn Bhd. (CHOC) เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท Petronas Carigali จากประเทศมาเลเซียและบริษัท HESS จากประเทศไทย

- กลุ่มที่ 2 แปลง B-17 & C-19 และ B-17-01 พื้นที่ 4,250 กิโลเมตร ดำเนินการโดย Carigali-PTTEP Operating Company Sdn.Bhd. (CPOC) เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท Petronas Carigali จากประเทศมาเลเซียและบริษัท ปตท.สผ. จากประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้มีการสำรวจพบก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบหลายแหล่ง ได้แก่ แหล่งมูด้า แหล่งเจงก้า แหล่งตาปี แหล่งอันดาลัส และแหล่งตันจุง เป็นต้น

- องค์กรร่วม โดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองประเทศได้ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับผู้ประกอบการ 2 กลุ่มข้างต้น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2537 (1994) โดยสัญญามีอายุ 35 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้