ภาพข่าว: GUNKUL เครื่องร้อน! คว้างานโซลาร์รูฟ กฟผ.มูลค่า 48.50 ลบ.

อังคาร ๒๙ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๕๔
บมจ. กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ดวงงานพุ่ง ล่าสุด บ.ย่อย คว้างานก่อสร้างระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) กำลังการผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 580 กิโลวัตต์ รวมมูลค่า 48.50 ล้านบาท หนุนงาน EPC ในมือเพิ่มขึ้น "โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์" ตอกย้ำนับจากนี้ธุรกิจของกลุ่มบริษัทจะเติบโตทุกมิติ ระบุพร้อมลุยยื่นประมูลโปรเจกต์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ดันผลการดำเนินงานในอนาคตเติบโตมากยิ่งขึ้น

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้พิจารณาตกลงให้บริษัท กันกุล พาวเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (GPD) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL ดำเนินการจัดซื้อพร้อมติดตั้ง ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) กำลังการผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 580 กิโลวัตต์ (kW) และระบบกักเก็บพลังงาน Battery Energy Storage System (BESS) บนพื้นที่สำนักงานกลาง กฟผ. ประมาณ 300 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อาคารประมาณ 350,000 ตารางเมตร และเป็นส่วนสำนักงานประมาณ 200,000 ตารางเมตร ให้เป็นโครงการ Smart City ตามนโยบายพลังงาน 4.0 คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 48,501,458.44 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้างนับจากวันลงนามในสัญญาจำนวน 180 วัน

"โครงการนี้เป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่สำนักงานกลาง กฟผ.ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการ "โครงการพัฒนาสำนักงานกลางสู่เมืองนิเวศแห่งความสุข" ให้เป็นรูปธรรม และสามารถนำมาศึกษาและต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง จากการที่บริษัทได้รับการพิจารณาดำเนินโครงการจากกฟผ. แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในศักยภาพของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านคุณสมบัติครบถ้วนจากการพิจารณาของ กฟผ. จะช่วยหนุนให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเติบโตเพิ่มมากขึ้น และในโอกาสนี้ ขอบคุณ กฟผ. ที่ให้ความไว้วางใจ ในการพิจารณาในครั้งนี้" นางสาวโศภชากล่าว

อย่างไรก็ตามในช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทฯ เตรียมเข้าร่วมประมูลโครงการต่างๆ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เช่น

- โครงการบริหารระบบหม้อแปลงไฟฟ้า CSCS ~ 150 ล้านบาท

- โครงการ Bypass Cable Truck ~ 200 ล้านบาท

- โครงการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำจากฝั่งสู่เกาะสมุย 1,700 ล้านบาท

- โครงการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำจากฝั่งสู่เกาะเต่า 1,400 ล้านบาท

- โครงการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำจากฝั่งสู่เกาะปันหยี 200 ล้านบาท

- โครงการนำสายไฟฟ้าลงดินของ กฟน. ประมาณตามสัดส่วนของบริษัท 1,400 ล้านบาท เป็นต้น

คิดเป็นมูลค่างานไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งหากได้งานจะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ผลการดำเนินงานปีนี้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนให้งานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8,500 ล้านบาท จึงทำให้มั่นใจรายได้และกำไรสุทธิในปีนี้จะเติบโตตามเป้าที่ได้ตั้งไว้ 25%

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital