วิศวกรไทย กับนวัตกรรมพลังงานยุคใหม่ รับมือ Battery Day ของ Tesla

ศุกร์ ๒๕ กันยายน ๒๐๒๐ ๐๙:๓๑
ทุกวันนี้พลังงานไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญหลักของการดำรงชีวิตไปแล้ว โดยเฉพาะยุคดิจิตอลที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้นทุกวันรวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ จึงเห็นได้ว่าเทคโนโลยีพลังงานก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แม้กระทั่ง Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสำคัญกับพลังงานถึงกับให้มีงาน Battery Day เพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีด้านนี้โดยเฉพาะ และในวันเดียวกันมีอีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์จากอีกซีกโลกนึงในไทยที่มีความสอดคล้องกันก็คือ "วี แบตเตอรี่" พลังงานเคลื่อนที่สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าออกแบบโดย ธนิก นิธิพันธวงศ์ มีความประสงค์ให้พลังงานไฟฟ้าเข้าถึงทุกพื้นที่ได้แบบไร้ขีดจำกัด “Power Without Boundaries” พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ด้วยกระแสไฟ 52 VDC ขนาดความจุ 3400 kWh และแรงดันไฟ 60 Ah กับน้ำหนักที่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ต่อกับอินเวอร์เตอร์ให้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น พัดลม โทรทัศน์ ตู้เย็น โคมไฟ แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เพื่อเป็นการรองรับกระแสไฟฟ้าทั้งแบบสลับ AC ของนิโคลา เทสลา (Tesla) และแบบตรง DC ของโทมัส เอดิสัน (Edison) ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดการใช้งานแบบเคลื่อนที่ได้เพราะแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันไป
วิศวกรไทย กับนวัตกรรมพลังงานยุคใหม่ รับมือ Battery Day ของ Tesla

ล่าสุดได้มีการทำต้นแบบหรือ prototype ขนาดเล็กแบบ 12VDC ลักษณะคล้ายกันกับแบตเตอรี่ตะกั่วที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไปแต่เป็นลิเทียม เพื่อเป็นการวิจัยและพัฒนาเบื้องต้นหรือ R&D โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมด้านความรู้และการปฏิบัติในการนำเซลล์ถ่านมารวมกันเป็นกล่องหรือ module ให้มีกำลังไฟ ความจุ และประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกับการใช้งานที่ยังสามารถดำเนินได้อย่างปลอดภัยด้วยระบบแผงวงจร Battery Management System (BMS) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์หลายท่าน

ส่วนที่มาของชื่อ "วี แบตเตอรี่" คือตัวอักษรภาษาอังกฤษ W และ E ซึ่งย่อมาจาก Wisaze Energy หรือ วิเศษ เอ็นเนอร์จี เมื่อนำมารวมกันก็จะเป็นคำว่า WE ที่แปลว่า พวกเรา เพราะความมุ่งมั่นที่จะให้วิศวกรรุ่นใหม่ไฟแรงได้มีโอกาสร่วมออกแบบชิ้นงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้กันเพื่อลดการซื้อหรือนำเข้าทั้งหมดนั่นเอง

นับว่าเป็นอีกหนึ่งชิ้นงานที่น่าสนับสนุนในการคิดค้นและทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานจริงเพราะเทคโนโลยีนี้สามารถต่อยอดได้ด้วยการเพิ่มจำนวนหรือการพัฒนายูนิตที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตและยังนำไปใช้กับโดรน (ซึ่งเจ้าตัวกำลังพัฒนาโดรนพาณิชย์ทีมีชื่อว่า มานะ) VTOL flying car มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า e-mobility และในด้านพลังงานทดแทนหรือ alternative energy ได้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา