เอสซีจี ชูมาตรฐานจัดเก็บถ่านหินระบบปิดแห่งแรกของไทย มุ่งลดผลกระทบชุมชนและสิ่งแวดล้อม

พุธ ๐๒ กันยายน ๒๐๑๕ ๐๙:๓๐
เอสซีจี เปิดบ้านชมการจัดเก็บถ่านหินระบบปิดแห่งแรกในประเทศไทย ด้วยมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมระดับโลก มีการบริหารจัดการถ่านหินในระบบปิดทั้งการลำเลียง จัดเก็บ และขนส่ง เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมชวนผู้ประกอบการยกระดับอุตสาหกรรมถ่านหินร่วมกับกลุ่ม "รักษ์ชุมชน" เพื่ออุตสาหกรรมและชุมชนที่ยั่งยืน

นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด ในเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า "ถ่านหินเป็นวัตถุดิบพลังงานที่มีความจำเป็นในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เอสซีจีจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบการจัดเก็บและขนส่งถ่านหินเพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ล่าสุด เอสซีจีลงทุน 400 ล้านบาทก่อสร้างระบบจัดเก็บถ่านหินแบบปิดแห่งแรกของไทย ด้วยเทคโนโลยีระดับสากลเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาถ่านหินคุณภาพสูง จัดซื้อ กองเก็บ คัดแยก และขนส่งให้กับลูกค้า ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าระบบดังกล่าวจะลดผลกระทบกับชุมชนและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมถ่านหินของ

ประเทศไทย"

จุดเด่นของระบบจัดเก็บถ่านหินของเอสซีจี คือ การลำเลียง จัดเก็บและขนถ่ายถ่านหินเป็นระบบปิดตลอดทั้งกระบวนการ เริ่มจากการขนถ่ายถ่านหินจากเรือลงสายพานแทนการใช้แรงงานคนตักใส่ และใช้สเปรย์น้ำพ่นเพื่อลดการฟุ้งกระจายของถ่านหิน นอกจากนั้นยังมีการคัดแยกวัสดุปลอมปน และติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นก่อนนำเข้าโกดังกองเก็บ

ภายในโรงกองเก็บถ่านหินระบบปิดยังมีเครื่องจักรกองถ่านหินแทนการใช้แรงงานคน รวมถึงติดตั้งเครื่องกำจัดฝุ่น ถุงกรองฝุ่นตลอดแนวสายพาน ก่อนนำถ่านหินไปเก็บไว้ในไซโลปิดขนาดใหญ่เพื่อเตรียมจ่ายส่งให้ลูกค้า

เอสซีจีกำหนดให้รถบรรทุกทุกคันต้องคลุมผ้าใบมิดชิด ทำความสะอาดล้อรถด้วยบ่อล้างล้อและพ่นสเปรย์น้ำรอบคันรถก่อนออกจากโรงงานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย นอกจากนั้นยังได้ติดตั้งเครื่องเก็บเสียงบริเวณสายพานเพื่อลดเสียงรบกวน และบ่อบำบัดน้ำภายในพื้นที่เพื่อนำน้ำกลับมาใช้หมุนเวียนภายในโครงการ

นอกจากนี้ เอสซีจียังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มรักษ์ชุมชนที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และธุรกิจนำเข้าถ่านหินในพื้นที่ อ.นครหลวง โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานการทำงานและการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม ให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างเกื้อกูลกัน

นายวีระวงค์ วงศ์วัฒนะเดช ประธานกลุ่มรักษ์ชุมชน กล่าวว่า "กลุ่มรักษ์ชุมชนมีแนวทางการทำงานคือ พัฒนาระบบการขนส่งและท่าเรือให้ดีกว่ามาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด รักษาสิ่งแวดล้อม และจัดกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา สมาชิกทั้ง 9 บริษัททำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น การปรับปรุงโรงงานและท่าเรือ ตรวจสอบและวัดฝุ่น 2 ครั้งต่อปี และสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อนำมาจัดกิจกรรม CSR เช่น การซ่อมและเก็บกวาดถนน การสนับสนุนการศึกษาและด้านกีฬา โดยกลุ่มรักษ์ชุมชนพร้อมให้คำแนะนำผู้ประกอบการร่วมกันยกระดับการจัดเก็บถ่านหินให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital