ผู้บริโภคเมินวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยหลังวัยเกษียณ ถึงแม้ไทยนั่งแท่นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากสุดในเอเชียแปซิฟิก เพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านคน ภายใน 10 ปีข้างหน้า

พฤหัส ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๖:๐๔
เว็บไซต์ซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้(DDproperty.com) ภายใต้การบริหารงานของ พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป เว็บไซต์สื่อกลางด้านการค้นหาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย เผย 6 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่มีความกังวลใดใดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของตนหลังวัยเกษียณ ถึงแม้ว่าประเทศไทย จะมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป มากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก1

จากการประมาณการพบว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 10 กว่าปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบก้าวกระโดด โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านคนจาก 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559 หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 27ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ในประชากรทุกๆ 4 คน

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ยังพบว่า เพียงร้อยละ 25 ของผู้ตอบแบบสำรวจ มีความกังวลว่าจะไม่สามารถจ่ายค่าที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมหลังวัยเกษียณให้แก่ตนเอง (รูปที่1: 7ข้อกังวลเรื่องการอยู่อาศัยเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย) นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Economic Intelligence Center) พบว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ ไม่มีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินหลังวัยเกษียณ และมักมองข้ามความสำคัญของการออมเงิน และการลงทุนเพื่อใช้จ่ายในวัยหลังเกษียณ

จากผลสำรวจผู้ที่อยู่ระหว่างหาซื้อและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยรวม 661 คน (แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 21-39 ร้อยละ 43, กลุ่มอายุ40-59 ร้อยละ 40, และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43) พบว่าเพียงร้อยละ 37 กำลังเริ่มมองหาหรือเคยมองหาสถานที่พักอาศัยที่เหมาะสำหรับผู้สูงวัยหลังเกษียณโดยมีลักษณะที่ตอบโจทย์ความต้องการของธรรมชาติผู้สูงอายุ และมีสถานที่ดูแลผู้สูงวัยใกล้เคียงกับบริเวณที่พักอาศัย ในทางกลับกันผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าประเด็นนี้สำคัญและยังไม่ส่งผลกระทบ กับชีวิตพวกเขา ณ ขณะนี้

ธนาคารโลกหรือ World Bank ได้กล่าวไว้ว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้สังคมไทยมุ่งหน้าสู่สังคมผู้สูงอายุคืออัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ จากร้อยละ 6.1 ในปี พ.ศ. 2508 เหลือเพียงร้อยละ 1.5 ในปี พ.ศ. 2558 (รูปที่2: การลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์ของหญิงไทย) เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษาและมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น รวมถึงผลสำเร็จของโครงการวางแผนครอบครัวที่รัฐบาลริเริ่มในปี พ.ศ. 2513

ประเทศสิงคโปร์ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศในทวีปเอเชียที่กำลังรับมือกับสังคมผู้สูงวัย ซึ่งขณะนี้มีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง1ล้านคน หรือ ร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมดและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31 ในพ.ศ. 25732 นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์มองว่าจำนวนผู้เกษียณวัยอายุ 62 ขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 900,000 คนในปีเดียวกันนี้ ถึงกระนั้นแล้วแบบสำรวจผู้ที่อยู่ระหว่างหาซื้อและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศสิงคโปร์พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ทำแบบสำรวจ ไม่เห็นว่าเรื่องชีวิตวัยเกษียณเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่มีผลกระทบกับพวกเขาในปัจจุบัน และส่วนมากยังไม่มองประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิต และที่อยู่อาศัยว่าเป็นปัญหาใดๆ เป็นสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือรายได้เฉลี่ยต่อหัวหรือ GDP per capita ของประเทศสิงคโปร์สูงกว่าประเทศไทยมากถึง 10 เท่า (รูปที่ 3: รายได้เฉลี่ยต่อหัว)

ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบปัญหา โครงสร้างประชากร ที่มีคนสูงอายุเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้มีแนวคิดให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยในที่เดิม (ageing-in-place)3 โดยได้มีการจัดสรรที่ดินและพัฒนารูปแบบบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย ปัจจุบัน องค์การอาคารและสิ่งก่อสร้าง (Building and Construction Authority) แห่งประเทศสิงคโปร์ได้มีการปรับเปลี่ยน ประมวลการเข้าถึงอาคารโดยปราศจาก อุปสรรค(Code on Barrier-Free Accessibility in Buildings) ซึ่งออกเมื่อปี พ.ศ2533 ให้เป็น "Code on Accessibility in the Built Environment 2013" ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับการสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับสังคมผู้สูงวัย และจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ให้พวกเขาสามารถเข้าถึงอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆได้อย่างปลอดภัย

"การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรง ต่อจำนวนกำลังแรงงานที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประเภทต่างๆ สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเน้นความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ได้เริ่มมีการนำลักษณะและแบบบ้านที่ออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของสังคมผู้สูงวัย แต่มีเพียงผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบกับตนเองและครอบครัวเท่านั้น ที่เริ่มเข้าใจว่าการออกแบบและเลือกที่อยู่อาศัยมีผลกระทบอย่างมาก ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบสำรวจนี้ จะช่วยให้รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นปัญหาปัจจุบันในสังคม เข้าใจถึงความสำคัญของการมีกฎหมายที่เหมาะสมต่อการออกแบบอาคารและที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงวัยสามารถอาศัยอยู่ในที่ที่เดิมได้โดยให้มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาน้อยที่สุด" นางกมลภัทรแสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าว

ข้อมูลอ้างอิง

1 Thailand Economic Monitor - June 2016: Aging Society and Economy, www.worldbank.org

2 AgeWatch Report Card: Global AgeWatch Index 2015, www.helpage.org

3 Successful Ageing - A Review of Singapore's Policy Approaches,www.cscollege.gov.sg

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4