ภาครัฐแตะมือเอกชน ปั้น “Green Living” ถึงมือผู้อาศัย

อังคาร ๑๘ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๖:๒๓
ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เรามีการพูดถึงและรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่นับว่ามีส่วนน้อยมากที่จะเห็นการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่ประชาชนเองก็ตาม

ด้วยภาวะโลกร้อนและมลภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้หลายภาคส่วนเริ่มตระหนักว่าเป็นเรื่องที่ควรลงมือทำอย่าง "จริงจัง" เสียที ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญงดให้บริการถุงพลาสติกของห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ไปจนถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายที่หันมาให้ความสำคัญจนนำไปสู่การพัฒนาและออกแบบโครงการที่มีจุดเด่นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงภาครัฐที่ให้การสนับสนุนเรื่องโซลาร์ภาคประชาชน หรือล่าสุดการเก็บค่าบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเป็นต้นทุนในการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียเพิ่มที่จะเริ่มในปีนี้

ผู้ประกอบการอสังหาฯ มุ่งพัฒนาโครงการ "Green"

ผลสำรวจจาก SCB EIC พบว่าเทรนด์ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคของคนเจนเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และมิลเลนเนียลให้ความสนใจเรื่องที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากรไฟฟ้าและน้ำในการอยู่อาศัย จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลกตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990

แนวคิดการออกแบบที่อยู่อาศัยให้เกิดการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่กำลังนิยมในขณะนี้ คือออกแบบอาคารให้เปิดโล่ง เพื่อให้แสงจากธรรมชาติส่องถึงพื้นที่ต่าง ๆ ภายในโครงการ ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ รวมถึงใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น คอนกรีตที่ผลิตจากขี้เถ้าหรือคอนกรีตที่เหลือใช้ ใช้กระจกแบบ Low-emissivity (Low-E) เพื่อป้องกันอากาศร้อนจากภายนอกเข้ามาภายในอาคาร เป็นต้น

ขณะเดียวกัน อาคารมาตรฐานโลกส่วนใหญ่ต้องได้รับมาตรฐานว่าเป็น Green Building หรืออาคารอนุรักษ์พลังงานที่สะท้อนถึงความใส่ใจ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้พัฒนาโครงการ ทั้งตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ที่ใช้ประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคารในทั่วโลก และ WELL Building Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคารที่ได้การยอมรับในระดับสากล

โดยกว่า 80% ของ Green Building เหล่านี้ เป็นอสังหาฯ ในรูปแบบอาคารสำนักงาน (40%) และร้านค้า (40%) โดยมีค่าเช่าสำนักงานที่สูงกว่าอาคารทั่วไป 20-25% การได้รับพื้นที่ก่อสร้างรวมของอาคารเพิ่มขึ้น 5-20% จากค่า FAR Bonus (Floor Area Ration-พื้นที่อาคารต่อที่ดิน) ที่ระบุในกฎหมายผังเมืองว่าให้ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้นในกรณีที่มีการสร้าง Green Building

แม้ว่าการก่อสร้างลักษณะนี้ในไทยจะมีต้นทุนสูงกว่าอาคารทั่วไปถึง 20% แต่ก็ได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะสามารถลดการใช้พลังงานได้ 10-48% แล้ว ยังช่วยเพิ่มค่าเช่าพื้นที่ได้มากกว่าอาคารทั่วไปได้ 5-10% และมีผลอย่างยิ่งหากต้องการมีกลุ่มผู้เช่าเป็นบริษัทข้ามชาติ

ในส่วนของอสังหาฯ ประเภทที่พักอาศัย มีหลายโครงการที่พัฒนาเพื่อรองรับอาคารรูปแบบนี้ เช่น โครงการบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมของเสนาดีเวลลอปเมนท์ ที่ได้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หลอดไฟ LED และสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger Station) เพื่อบริการให้กับลูกบ้าน อาทิ นิช โมโน สุขุมวิท 50 และโครงการอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 12 โครงการ แล้วยังมีเป้าหมายที่จะขยายให้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมการบริการมากขึ้นในอนาคต

ผู้ประกอบการรายอื่นก็ไม่น้อยหน้า อาทิ แสนสิริ ชูแนวคิด "Sansiri Green Mission" เอพี (ไทยแลนด์) ประกาศวิสัยทัศน์ "AP World" โดยมีโครงการนำร่องคือ Rhythm Ekkamai Estate ด้านพร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค ก็ร่วมมือกับพันธมิตรจากญี่ปุ่นและ ปตท. ออกแบบที่พักอาศัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ภาครัฐและสถาบันการเงินพร้อมหนุน

ทางภาครัฐเองก็เริ่มมีการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น โครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน" ของกระทรวงพลังงาน ที่สนับสนุนให้ประชาชนภาคครัวเรือนได้ผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์รูฟท็อปเพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้เอง และนำส่วนเกินที่เหลือจากการใช้ ไปขายต่อให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) โดยมีกำลังผลิตติดตั้งครัวเรือนละไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) กำหนดอัตราราคารับซื้อไฟฟ้าที่ 1.68 บาทต่อหน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้ารวม 10 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ราคาแผ่นโซลาร์เซลส์และการติดตั้งมีมูลค่าถูกลงและเพิ่มการใช้งานให้มากขึ้นในกลุ่มประชาชนทั่วไป

ในส่วนของ กทม. ก็ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำมาใช้เป็นต้นทุนในการดูแลและช่วยให้มีการก่อสร้างโรงบำบัดเพิ่ม เพื่อให้น้ำมีความสะอาดใกล้เคียงกับธรรมชาติที่ดึงมาใช้มากที่สุด

นอกจากกรณีของ Green Building แล้ว ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ยังเพิ่ม FAR Bonus ในกรณีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจูงใจให้ภาคเอกชนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยมากขึ้น เช่น

1. เพิ่มพื้นที่โล่งสาธารณะหรือสวนสาธารณะ

2. การเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำฝน

3. การจัดให้มีพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะริมแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะ

ขณะที่ สถาบันการเงินอย่าง ธนาคารกสิกรไทย ก็ให้การสนับสนุนสินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงาน (Solar Rooftop) แก่ผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุนธุรกิจเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าให้รัฐบาลเสริมสภาพคล่องของสถานะการเงินและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

ความท้าทายใหม่ เมื่อผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมสัดส่วนยังน้อย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันผู้บริโภคจะมีความต้องการที่พักอาศัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่แล้ว ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก โดยส่วนมากยังมุ่งไปที่ "ความคุ้มค่า" ของการลงทุนเป็นหลัก ว่าจะส่งผลดีกับตนเองอย่างไรบ้าง แต่ไม่ได้มองไกลไปถึงว่าจะช่วยสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างไร

ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการอสังหาฯ และภาครัฐที่จะต้องช่วยกันผลักดันให้คนส่วนใหญ่มองเห็นถึงประโยชน์ของการปรับตัว เพื่อให้ตระหนักว่าการทำเพื่อส่วนรวมนั้นส่งผลด้านบวกกลับมาที่ตัวเองอย่างไรบ้าง โดยที่อยู่อาศัยที่โฟกัสเรื่อง "Green" ไม่ได้เน้นแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มอบ "ความยั่งยืน" ให้กับผู้พักอาศัยถึง 3 มิติด้วยกันคือ

- คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสุขภาพของผู้อาศัย เช่น สีทาบ้านปลอดสารพิษที่ไม่มีสารระเหยจึงไม่กระทบต่อสุขภาพ แล้วยังมีความทนทานสามารถใช้ได้ยาวนานนับสิบปี

- ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว จากการใช้พลังงานทดแทน เช่น โซลาร์รูฟท็อป ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในสหรัฐฯ เนื่องจากนโยบายที่อนุญาตให้หัก 30% ของค่าใช้จ่ายการติดตั้งแผงโซลาร์ไปลดภาษีประจำปีได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมถึงการนำเทคโนโลยี Smart Home มาใช้เพื่อช่วยบริหารจัดการไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างชาญฉลาดและประหยัดค่าใช้จ่าย

- เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการจัดการของเสียโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น รีไซเคิลน้ำที่ใช้ในการชำระล้างมาใช้รดน้ำต้นไม้ในพื้นที่ส่วนกลาง นำเศษคอนกรีตที่เหลือจากการก่อสร้างมาแปรรูปเพื่อใช้ในส่วนต่าง ๆ ของโครงการที่พักอาศัย

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่อง "สิ่งแวดล้อม" ไม่ได้ไกลตัวไปจากเราเลย แต่กลับอยู่ใกล้แค่เอื้อม ดังนั้นการใส่ใจสิ่งรอบตัวก็ส่งผลดีกลับมาที่ตัวเราด้วยเช่นกัน

รู้จักกับ DDproperty

DDproperty (ดีดีพร็อพเพอร์ตี้) เป็นเว็บไซต์สื่อกลางซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย และเป็นเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชีย อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่กำลังค้นหาบ้านทั่วภูมิภาคเอเชียที่เข้ามาเยี่ยมชมและใช้บริการบนเว็บไซต์กว่า 25 ล้านรายในแต่ละเดือน

พร็อพเพอร์ตี้กูรูและบริษัทในเครือช่วยให้ผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยทั่วภูมิภาคได้เข้าถึงรายการประกาศขาย-เช่าที่มีมากกว่า 2 ล้านรายการ อีกทั้งยังมีข้อมูลเชิงลึกและโซลูชั่นต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้บริโภคในสิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย และเวียดนาม ใช้ประกอบการตัดสินใจครั้งสำคัญได้อย่างมั่นใจ

PropertyGuru.com.sg เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี 2550 ด้วยการปฏิวัติตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ด้วยการนำระบบออนไลน์เข้ามาใช้และช่วยให้การหาบ้านมีความโปร่งใสมากขึ้น ในช่วงเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา พร็อพเพอร์ตี้กูรูได้พัฒนาและเติบโตจากสื่ออสังหาฯ ชั้นนำของภูมิภาคมาเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่มีการเติบโตสูง มีเว็บไซต์สื่อกลางอสังหาฯ อันดับ 1 อยู่ภายใต้การบริหาร มีแอปพลิเคชั่นที่มีรางวัลเป็นเครื่องการันตีคุณภาพ มีแพล็ตฟอร์มที่ดีที่สุดเพื่อช่วยส่งเสริมการขายให้กับผู้พัฒนาอสังหาฯ อย่าง PropertyGuru FastKey อีกทั้งยังมีบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาฯ ที่สำคัญ ๆ อาทิ การจัดงานแจกรางวัลด้านอสังหาฯ กิจกรรมส่งเสริมการตลาด รวมไปถึงสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วภูมิภาคเอเชีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital