ใหญ่สุดในไทย ! วิศวฯธรรมศาสตร์ จับมือ เอไอที ชูศักยภาพ “แล็บอุโมงค์ลม” รองรับการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ อาคาร สะพาน ลดการพึ่งพาต่างชาติ

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๔๙
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) จับมือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิด “ห้องปฏิบัติการอุโมงค์ลม ธรรมศาสตร์-เอไอที” อุโมงค์ลมขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ศูนย์รังสิต รุดเสริมเขี้ยวเล็บอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยได้มาตรฐาน สร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ ผ่าน 4 ขั้นตอนดังนี้ จำลองอาคารจริง จำลองสภาพแวดล้อมอาคารในขนาดย่อส่วน ทดสอบความต้านทานแรงลมแบบ 360 องศา และวัดแรงลมที่กระทำกับอาคารในทุกทิศทาง พร้อมเผยผลสำเร็จการทดสอบแรงลมในการออกแบบอาคารสูง ได้แก่ ตึกคิงเพาเวอร์ มหานคร ที่ความสูง 314 เมตร หอชมเมืองกรุงเทพ ที่มีความสูง 459 เมตร และ สะพานขึงพระรามเก้าใหม่ ที่มีความยาวช่วงกลาง 450 เมตร ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถขอรับคำปรึกษาและทดสอบศักยภาพการต้านแรงลมของ ตึกสูงหรืองานออกแบบขนาดใหญ่ ได้ที่ [email protected]
ใหญ่สุดในไทย ! วิศวฯธรรมศาสตร์ จับมือ เอไอที ชูศักยภาพ แล็บอุโมงค์ลม รองรับการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ อาคาร สะพาน ลดการพึ่งพาต่างชาติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. โทรศัพท์ 094-664-7146 ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT และ www.engr.tu.ac.th

รศ. ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) และนักวิจัยด้านวิศวกรรมแรงลม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เปิด “ห้องปฏิบัติการอุโมงค์ลม ธรรมศาสตร์-เอไอที” (TU-AIT Wind Tunnel Laboratory) แล็บอุโมงค์ลมขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ศูนย์รังสิต ตั้งแต่ปี 2544 ในขนาดความกว้าง 2.5 เมตร สูง 2.5 เมตร ยาว 25.5 เมตร และมีความเร็วลมตั้งแต่ 0 ถึง 20 เมตรต่อวินาที เพื่อใช้ทดสอบความแข็งแรงและการตอบสนองของสิ่งก่อสร้างหลากรูปแบบ อาทิ อาคารสูง สะพานช่วงยาว กังหันลมขนาดใหญ่ และเสาสายส่งไฟฟ้า อันนำไปสู่การยกระดับงานออกแบบสิ่งก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม ที่ได้มาตรฐาน สร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน ตลอดจนลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระยะยาว

โดยกระบวนการทดสอบดังกล่าว ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

สร้างแบบจำลองอาคารให้เหมือนจริงจำลองสภาพแวดล้อมอาคารที่เหมือนจริง ในขนาดย่อส่วน 1 ต่อ 400นำแบบจำลองมาวางบนโต๊ะหมุนในอุโมงค์ลม ซึ่งสามารถหมุนได้ 360 องศา พร้อมเปิดลมทดสอบวัดแรงลมที่กระทำกับอาคารโดยรวมที่ฐานอาคาร หรือวัดหน่วยแรงลมเฉพาะที่บริเวณผนังอาคาร

โดยการทดสอบจะทำการหมุนโต๊ะครั้งละ 10 องศา เพื่อให้ลมสามารถปะทะอาคารทุกทิศทาง ทั้งนี้ เพื่อให้การคำนวณแรงลมและการสั่นไหวของอาคาร เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ ตลอดจนป้องกันความรู้รู้สึกไม่สบายหรือเกิดอาการวิงเวียนของผู้ใช้งานจริง

สำหรับการทดสอบด้วยแรงลม จะโฟกัสใน 3 ส่วน ดังนี้

แรงลมโดยรวม เพื่อนำแรงลมไปออกแบบโครงสร้างหลักในการต้านทานแรงลม และคำนวณอัตราเร่งสูงสุดที่ยอดอาคารภายใต้แรงลมแรงลมเฉพาะที่ เพื่อช่วยในการออกแบบกระจกรอบอาคาร “หนาหรือบาง” ตามหน่วยแรงลมที่เกิดขึ้นจริงผลกระทบของแรงลมต่อผู้ใช้และผู้สัญจรรอบอาคาร เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้และผู้สัญจรรอบอาคาร เช่น บริเวณที่รับส่ง บริเวณทางเดิน ร้านอาหารกลางแจ้ง และบริเวณสระว่ายน้ำ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ห้องปฏิบัติการอุโมงค์ลม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิจัยขั้นสูงด้านวิศวกรรมแรงลม รวมถึงทดสอบแรงลมสำหรับออกแบบอาคารสูงในประเทศไทย และต่างประเทศกว่า 50 โครงการ อาทิ ตึกคิงเพาเวอร์ มหานคร ที่มีความสูงถึง 314 เมตร หอชมเมืองกรุงเทพที่มีความสูงถึง 459 เมตร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะสร้างในอนาคตอันใกล้ และสะพานขึงพระรามเก้าใหม่ มีความยาวช่วงกลาง 450 เมตร ที่กำลังสร้างคู่ขนานกับสะพานขึงพระรามเก้าเดิม ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ ผลงานของห้องปฏิบัติการอุโมงค์ลมดังกล่าว ยังได้รับตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติจำนวนมาก

อย่างไรก็ดี ในขั้นตอนการออกแบบอาคาร จะต้องมีการประเมินความจำเป็นในการทดสอบด้วยอุโมงค์ลม โดยเฉพาะการก่อสร้างใน 4 กรณีดังต่อไปนี้

อาคารที่มีรูปทรงไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นสี่เหลี่ยมอาคารที่มีความสูงและอ่อนตัวมาก ซึ่งวัดจากความสูงต่อด้านแคบสุดของอาคารมากกว่า 5 หรือสะพานช่วงยาวและอ่อนตัวมาก เช่นสะพานขึง และสะพานแขวนสภาพแวดล้อมของอาคารที่ตั้งอยู่ในที่มีอาคารสูงหนาแน่นอาคารมีตั้งอยู่ริมทะเล ซึ่งจะเป็นที่เปิดโล่ง แรงลมจะมีค่าสูง ถ้าเข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่งควรจะต้องมีการทดสอบด้วยอุโมงค์ลม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานสูงสุด

รศ. ดร.วิโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถขอรับคำปรึกษาและทดสอบศักยภาพการต้านแรงลมของ ตึกสูงหรืองานออกแบบขนาดใหญ่ ได้ที่ [email protected] หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) โทรศัพท์ 094-664-7146 เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT และ www.engr.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา