“คอตตอน ยูเอสเอ” สานต่อแผนการตลาดเชิงรุกในเมืองไทยรับปี 2554 มุ่งเสริมความแข็งแกร่งพร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่นในคุณภาพตราสัญลักษณ์ “COTTON USA”

พุธ ๑๒ มกราคม ๒๐๑๑ ๑๐:๒๘
คอตตอน ยูเอสเอ เตรียมเดินหน้าการตลาดเชิงรุกต่อเนื่องในปี 2554 เพื่อขยายตลาดและตอกย้ำให้ผู้บริโภคจดจำและมั่นใจถึงคุณภาพของสินค้าที่ติดตราสัญลักษณ์ “COTTON USA” ด้วยสองกลยุทธ์การตลาดสำคัญ คือ สร้างการรับรู้ของตราสัญลักษณ์คุณภาพ (Brand Awareness) ในหมู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และเน้นมอบสิทธิประโยชน์ให้กับไลเซนซี (Licensees) หรือพันธมิตรผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มไทย หลังจากผลสำรวจ “COTTON USA Mark Tracking Survey” พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยจดจำตราสัญลักษณ์คุณภาพ “COTTON USA” เพิ่มมากขึ้นและให้น้ำหนักกับการมองหาตราสัญลักษณ์คุณภาพ “COTTON USA” ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน

นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของเครื่องนุ่มห่มที่สวมใส่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ สวมใส่สบาย คุ้มค่าเงิน ตลอดจนใส่ใจมากขึ้นกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริโภคเริ่มยินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทำให้การรับรู้ในแบรนด์และตราสัญลักษณ์คุณภาพ “คอตตอน ยูเอสเอ -COTTON USA” ของผู้บริโภคขยายตัวในวงกว้างมากขึ้นตามไปด้วย เห็นได้จากผลการสำรวจ “COTTON USA Mark Tracking Survey” ครั้งล่าสุด พบว่า กลุ่มผู้บริโภคชาวไทยโดยรวมมีการรับรู้ในตราสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” เพิ่มสูงขึ้นเป็น 39% จาก 26% ในปี 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 25—34 ปีสามารถรับรู้ในสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จาก 32% ในปี 2550 เพิ่มเป็น 54% ในปี 2552

นายไกรภพ กล่าวต่อว่า “คอตตอน ยูเอสเอ ให้ความสำคัญทำการตลาดในประเทศไทยเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตราสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ”อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งตอกย้ำการรับรู้ตราสัญลักษณ์คุณภาพ “COTTON USA” คุณประโยชน์ต่างๆ ของฝ้ายธรรมชาติ 100% ตลอดจนคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลัก ทั้งในกลุ่มผู้บริโภคโดยรวมและกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายคือผู้หญิงอายุระหว่าง 25-34 ปีซึ่งมีรายได้ต่อครัวเรือนสูงตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ควบคู่กันกับการจัดกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกัน”

ในปี 2554 คอตตอน ยูเอสเอ จะยังมุ่งเน้นรักษาสมดุลในการทำการตลาดทั้งสองทิศทางให้ต่อเนื่องควบคู่กันไป ด้วยงบการตลาดที่ตั้งไว้รวมกว่า 17 ล้านบาท โดยการสร้างการรับรู้ตราสัญลักษณ์คุณภาพ “COTTON USA” จะมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมการตลาดครอบคลุมทั้งอะโบว์ฟเดอะไลน์ ด้วยการผลิตภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ตราสัญลักษณ์คุณภาพ “COTTON USA” และบีโลว์เดอะไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคในวงกว้างในแง่ของการให้ความรู้เกี่ยวกับฝ้ายรวมถึงคุณสมบัติของผ้าฝ้าย ด้วยการเดินหน้าจัดโครงการ COTTON USA Design Challenge 2011 อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 เพื่อมอบโอกาสให้ยังก์ดีไซเนอร์ชาวไทยรุ่นใหม่มีเวทีในการประลองและท้าทายฝีมือการออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อชิงรางวัลสัมผัสประสบการณ์ด้านแฟชั่นระดับมืออาชีพ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญที่ต้องออกแบบเครื่องนุ่มหุ่มในรูปแบบ “Ready-to-wear” และ “Ready-to-wear Couture” ภายใต้คอนเซปต์ “Hollywood Movie Inspired” และใช้ผ้าฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลักในการตัดเย็บเท่านั้น ในขณะที่การจัดกิจกรรมกับกลุ่มไลเซนซีจะมุ่งเน้นไปที่การมอบสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มไลเซนซีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดทริป Buyer’s Tour โดยนำผู้ซื้อจากต่างประเทศเข้ามาพบกับผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มไทย อีกทั้งการจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสิ่งทอใหม่ๆจากคอตตอน อินคอร์ปอเรท (Cotton Incorporated) เพื่อผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยจะสามารถนำความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆไปปรับปรุงคุณภาพสินค้าที่ผลิตจากผ้าฝ้าย 100% ให้มีคุณภาพทัดเทียมกับตลาดโลก อย่างเช่น 4x4 MAN by S’Fare คอลเลคชั่นที่มีการผสานเทคโนโลยี NATURAL STRETCH? Technology นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก Cotton Incorporated กับผ้าฝ้ายคุณภาพสูง 100% เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในทุกการเคลื่อนไหว ซึ่ง 4x4 Man by S’Fare ถือเป็นแบรนด์ไทยแบรนด์แรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้

“คอตตอน ยูเอสเอตั้งเป้าเพิ่มจำนวนไลเซนซีในประเทศไทยอีกประมาณ 2-4 ราย แบ่งเป็นไลเซนซีจากแบรนด์เครื่องนุ่งห่ม 1-2 แบรนด์ และไลเซนซีจากโรงงานสิ่งทอต่างๆ อีก 1-2 แห่งภายในปี 2554 จากจำนวนไลเซนซีในปัจจุบันของคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 44 ราย แบ่งเป็นแบรนด์เครื่องนุ่งห่ม 22 แบรนด์ และโรงงานสิ่งทอ 22 แห่ง”

นายไกรภพ กล่าวว่า ผลจากการทำการตลาดเชิงรุกในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา คอตตอน ยูเอสเอพบว่าแนวโน้มการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากใยฝ้ายธรรมชาติในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นมาก เห็นได้จากผลสำรวจที่พบว่า 40% ของผู้บริโภคระบุว่า ป้ายแขวนสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงที่มีอายุ 25-34 ปี ถึง 41% และ 47% ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคผู้ชายมีแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีป้ายแขวนสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” ประมาณ 38%

โดยในปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดเมืองไทยมีสินค้าที่แขวนป้ายสัญลักษณ์คอตตอน ยูเอสเอรวมทั้งสิ้น 5.8 ล้านชิ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นสูงเป็น 6.38 ล้านชิ้นได้ในปี 2553 โดยปริมาณป้ายสัญลักษณ์คอตตอน ยูเอสเอที่ใช้แขวนบนสินค้าอย่างเป็นทางการของทั้งปี 2553 อยู่ระหว่างการตรวจสอบและจะพร้อมเปิดเผยได้ในช่วงต้นปี 2554 เป็นต้นไป และจากแผนการตลาดที่วางไว้ในปี 2554 ทำให้คอตตอน ยูเอสเอวางเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนป้ายสัญลักษณ์คอตตอน ยูเอสเอ ในเมืองไทยให้สูงขึ้นอีกเป็น 10% หรือ 7 ล้านชิ้นต่อปี

ทั้งนี้ ในปีผลผลิต 2552/2553 ทั่วทั้งโลกมีจำนวนผลผลิตฝ้ายธรรมชาติรวมกันกว่า 22.1 ล้านตัน โดย 5 อันดับประเทศผู้ผลิตฝ้ายรายใหญ่ที่สุดของโลก คือ จีน ตามด้วยอินเดีย สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และบราซิล ขณะที่ในภาคการส่งออกฝ้ายธรรมชาติแล้ว อุตสาหกรรมผลิตฝ้ายรวมทั่วโลกน่าจะมีปริมาณการส่งออกรวม 7.75 ล้านตัน ซึ่งสหรัฐอเมริกายังคงครองตำแหน่งผู้ส่งออกฝ้ายรายใหญ่ที่สุดในโลกด้วยส่วนแบ่งการตลาดยอดขายสูงสุด 33.8% รองลงมา คือ อินเดีย 18.4% อุซเบกิสสถาน 10.7% ออสเตรเลีย 5.9% และบราซิล 4.6% ตามลำดับ

นายไกรภพ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับในปีผลผลิต 2553/2554 ล่าสุดนี้ สหรัฐอเมริกาประมาณการณ์ว่ากำลังผลิตฝ้ายธรรมชาติในปีผลผลิต 2553/2554 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.977 ล้านตัน สูงขึ้นกว่า 49.85% หรือคิดเป็นจำนวน 1.323 ล้านตันที่เกิดขึ้นในปีผลผลิตก่อนหน้า (กำลังผลิตฝ้ายธรรมชาติในปีผลผลิต 2552/2553 คิดเป็น 2.654 ล้านตัน) โดยในส่วนของประเทศไทย ฝ้ายธรรมชาติจากสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าจะได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการในประเทศไทยด้วยอัตราการนำเข้าฝ้ายธรรมชาติจากสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอเพื่อใช้ในครัวเรือนในปริมาณ 130,659 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 37% ของปริมาณฝ้าย 354,000 ตันที่ไทยสั่งนำเข้าทั้งหมดในปีผลผลิต 2553/2554

คอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย จัดให้มีการสำรวจวิจัย “COTTON USA Mark Tracking Survey” ขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อวัดประสิทธิภาพและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องหมายการค้า “คอตตอน ยูเอสเอ” เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของคู่แข่ง ผลวิจัยครั้งล่าสุดจัดทำขึ้นในปี 2552 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 15-54 ปี และมีรายได้ครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 500 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 25-34 ปี และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปทั้งชายและหญิงอายุระหว่าง 15-54 ปี

โครงการ COTTON USA Design Challenge ครั้งที่ 6 ที่จะมีขึ้นในปี 2011 นี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “Hollywood Movie Inspired” เพื่อให้ยังก์ดีไซเนอร์ชาวไทยถ่ายทอดแรงบันดาลใจจากโลกภาพยนตร์ในมุมมองของตัวเอง เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษา พร้อมร่วมทริป “U.S. Cotton Fashion Inspired Trip” เปิดรับสมัครเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่วันนี้ — 31 มกราคม โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจะเกิดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2554 และประกาศผลการตัดสินในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครได้ที่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ หรือดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่หน้า Facebook ของ COTTON USA Design Challenge Thailand

คอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย จัดให้มีการสำรวจวิจัย “COTTON USA Mark Tracking Survey” ขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อวัดประสิทธิภาพและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องหมายการค้า “คอตตอน ยูเอสเอ” เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของคู่แข่ง ผลวิจัยครั้งล่าสุดจัดทำขึ้นในปี 2552 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 15-54 ปี และมีรายได้ครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 500 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 25-34 ปี และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปทั้งชายและหญิงอายุระหว่าง 15-54 ปี

โครงการ COTTON USA Design Challenge ครั้งที่ 6 ที่จะมีขึ้นในปี 2011 นี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “Hollywood Movie Inspired” เพื่อให้ยังก์ดีไซเนอร์ชาวไทยถ่ายทอดแรงบันดาลใจจากโลกภาพยนตร์ในมุมมองของตัวเอง เพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษา พร้อมร่วมทริป “U.S. Cotton Fashion Inspired Trip” เปิดรับสมัครเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่วันนี้ — 31 มกราคม โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจะเกิดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2554 และประกาศผลการตัดสินในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครได้ที่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ หรือดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่หน้า Facebook ของ COTTON USA Design Challenge Thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้