นักวิชาการ…แนะ สปช. แก้ปัญหาบัตรทอง ร่วมหาทางออกระบบประรัฐร่วมจ่าย

อังคาร ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๓:๔๔
จากกระแสข่าวที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มีแนวคิดปฏิรูปบัตรทอง โดยให้ "ประชารัฐ" ร่วมจ่าย เพื่อเป็นการสร้างระบบหลักประกันมั่นคงและยั่งยืนของระบบหลักกันประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะหากให้รัฐเป็นฝ่ายรับค่าใช้จ่ายอยู่ฝ่ายเดียวเสี่ยงระบบของประเทศจะพังได้

โอกาสนี้ สำนักกฏหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ ร่วมกับ สมาคมพิทักษ์สิทธิข้าราชการ ชมรมสายใยความหวังผู้ป่วย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสคร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต จัดประชุมวิชาการ ในหัวข้อ "ประชารัฐร่วมรับผิดชอบระบบหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน" เพื่อระดมความคิดเห็นในการสร้างสรรค์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ซึ่งปัญหาหลายประการของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่บริหารโดย สปสช. ได้แก่งบประมาณที่ไม่เพียงพอ การจ่ายให้สถานพยาบาลต่ำกว่าต้นทุนค่ารักษา การใช้บริการและความคาดหวังของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น การยกเลิกการร่วมจ่ายในปี พ.ศ.2549 โดยไม่ได้มีการดำเนินการตามมติ ครม.ในปี 2551 ที่ให้ สปสช. สรุปขอบเขตการบริการที่จำเป็น และกำหนดความจำเป็นเพื่อการร่วมจ่ายสมทบหรือให้การประกันสุขภาพเอกชนมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพในปัจจุบันและเตรียมตัวรับกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยในที่ประชุมสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่าควรมีระบบร่วมจ่าย

โดย ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐบาลต้องแก้ปัญหาการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานก่อน เช่น คนป่วยมะเร็งปอดควรได้รับ Targeted therapy ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้ถึง 70% แต่พอไม่ได้ก็ตาย แต่บัตรทองใช้ไม่ได้ และโรคชราก็เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่ม และต้องแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการของ สปสช. ส่วนการที่ภาคประชาสังคม ซึ่งบอกว่าทำเพื่อจิตสาธารณะ แต่จะไม่จ่ายเงินให้กับการบริการทางสุขภาพ และบอกให้ทุกคนไม่ต้องจ่ายด้วยนั้น ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง

รศ.ดร. ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อเสนอจากงานวิจัยหัวข้อการเงินการคลังแบบยั่งยืน ว่ากรณีที่ไม่ปรับเปลี่ยนสิทธิประโยชน์เดิม รัฐต้องหารายได้เพิ่มหรือจัดให้มีระบบร่วมจ่ายหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบร่วมกับการเก็บข้อมูลต้นทุนการให้บริการที่ดี และ กรณีที่มีการจัดประเภทสิทธิประโยชน์หลัก และสิทธิประโยชน์เสริม (เนื่องจากบัตรทองไม่สามารถรักษาได้ทุกโรค) โดยมีการร่วมจ่ายระหว่างผู้ใช้บริการและรัฐบาลสำหรับสิทธิประโยชน์เสริม การร่วมจ่ายก็ทำได้ทั้งการร่วมจ่ายล่วงหน้าและร่วมจ่ายที่เหมาะสมเมื่อเข้ารับการรักษา การจัดสิทธิประโยชน์เป็นแบบหลักและเสริมเพื่อทางเลือกที่เพิ่มขึ้น น่าจะเหมาะสมเพื่อความยั่งยืนของระบบ

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย สาขาวิทยาการประกันภัยและบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เสนอให้มีการจัดตั้งบรรษัทประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเป็นสิทธิประโยชน์ส่วนเพิ่ม "เช่นตอนนี้ปีหนึ่ง งบบัตรทองจ่ายอยู่ที่ 3,000 บาทต่อปี ถ้าจ่ายเพิ่มขึ้นอีกวันละแค่ 10 บาท ก็จะได้ประกันเทียบเท่ากับประกันสุขภาพกลุ่มของภาคเอกชน ที่สามารถบริหารได้" ประชาชนได้สิ่งที่ดีขึ้น เช่นใช้สิทธินอกเวลาในโรงพยาบาลรัฐ หรือการใช้ยานอกบัญชียาหลัก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชน

"โรงพยาบาลรัฐสามารถรับการประกันจากบริษัทประกันสุขภาพเอกชน ด้วยงบประมาณที่ไม่มาก เมื่อเทียบกับการทำประกันเพื่อไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โรงพยาบาลรัฐก็มีรายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยบัตรทอง และประชาชนประหยัดเงินเพื่อใช้บริการที่มีคุณภาพ" นายแพทย์ วีรวัฒน์ ยอแสงรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิริโรจน์ ภูเก็ต กล่าวถึงโมเดลความร่วมมือของโรงพยาบาลรัฐและบริษัทประกันเอกชน ที่สามารถนำไปขยายต่อยอดได้

พญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ เห็นว่าควรมีการปฏิรูปกฏหมายเพื่อให้การดำเนินงานด้านประกันสุขภาพอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อการกำกับดูแลด้วยกลไกการตรวจสอบที่โปร่งใสป้องกันการรั่วไหลของงบประมาณ และควรจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งบรรษัทประกันสุขภาพ และขยายขอบเขตการ นำประชากรวัยแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคม

ที่ประชุมจะจัดทำข้อเสนอเพื่อยื่นต่อรัฐบาล และสนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม โดยผู้ร่วมประชุมจะร่วมอาสามาช่วยทำงานต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?