ทีเอ็มบี จับมือ ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต สมการที่ลงตัวของ “TMB Supply Chain Financing” สร้างการเติบโตแบบยั่งยืน ทั้งซัพพลายเชน

พฤหัส ๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๕:๑๕
ทีเอ็มบีให้บริการลูกค้าธุรกิจบนแนวคิดที่แตกต่าง โดยใช้แนวคิดของฟินเทค มาใช้เพื่อพัฒนาโซลูชัน Supply Chain Financing ที่มองถึงการสร้าง Ecosystem เพื่อดึงให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเข้ามาร่วมอยู่ใน Ecosystem ด้วยกัน โดยมีแนวคิดว่าทุกส่วนจะต้อง Win ไม่ได้มองไปที่การสร้างรายได้หรือเติบโตจากค่าธรรมเนียม แต่ต้องการให้ทั้งซัพพลายเชนของลูกค้ามีการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี กล่าวว่า "Supply Chain Financing และ E–Supply Chain มีเทรนด์การเติบโตที่น่าสนใจ หลังจากที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกรรมการเงินของไทย เริ่มจากการเดินหน้านโยบาย National e-Payment ที่ทำให้การโอนไม่มีค่าธรรมเนียม ทำให้ต้นทุนในการ โอน รับ จ่าย หมดไป ประกอบกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำให้การรับ ส่งข้อมูลเปลี่ยนจากกระดาษมาสู่อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทั้ง 2 อย่างเป็นหัวใจสำคัญที่เข้ามาช่วยทำให้ซัพพลายเชนมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา"

"ทีเอ็มบี มองว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายกลางกับรายเล็ก ต้องการเงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างเยอะและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็มีข้อจำกัด แต่เมื่อทั้งหมดทำบนแพลตฟอร์มที่เป็นดิจิทัลทำให้ธนาคารเห็นข้อมูลที่วิ่งผ่านผู้ซื้อและผู้ขายบนหมุนเวียนบนซัพพลายเชน และธนาคารสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์สินเชื่อได้ ทำให้การให้สินเชื่อเร็วขึ้น วิเคราะห์ความเสี่ยงได้ดีขึ้น นำไปสู่การให้สินเชื่อที่เร็ว วงเงินสูงขึ้นกว่าการให้สินเชื่อที่ไม่มีการค้ำประกัน"

นายรัชกร กล่าวว่า ความร่วมมือของทีเอ็มบี กับ ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต มีเป้าหมายที่จะเข้ามาช่วยยกระดับ และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านของการบริหารจัดการประสิทธิภาพตลอดทั้งซัพพลายเชน โดย Pain Point ของระบบซัพพลายเชน ซึ่งที่ผ่านมา ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต มีการสั่งของกับซัพพลายเออร์ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดยใช้เอกสารกระดาษ แม้ว่า ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต จะมีระบบส่งข้อมูลเป็นอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว แต่ซัพพลายเออร์หลายราย ยังคงนิยมระบบเป็นเอกสารกระดาษ ทำให้เสียเวลา และต้นทุนก็มาก แล้วข้อมูลบางครั้งก็หายหรือตกหล่นไป ทีเอ็มบี จึงได้หาแพลตฟอร์มมาช่วยประยุกต์จากการทำธุรกรรมการสั่งซื้อจากกระดาษมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดย ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต สามารถส่งข้อมูลสั่งซื้อเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซัพพลายเออร์สามารถนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปผลิตสินค้า และสามารถใช้แพลตฟอร์มนี้เปลี่ยนข้อมูลคำสั่งซื้อมาเป็นใบสั่งซื้ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที แล้วข้อมูลก็จะอยู่บนแพลตฟอร์มที่สามารถส่งต่อมายัง ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ตได้ ธุรกรรมทั้งหมดทำบนแพล็ตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และข้อมูลที่อยู่บนแพลตฟอร์มนี้สามารถเก็บเอามาวิเคราะห์ได้ตลอดไป ซึ่งเป็นการเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่จะนำไปสู่การเติบโตที่เข้มแข็งในอนาคตของทั้งตัวสปอนเซอร์ คือ ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต และตัวซัพพลายเออร์ที่เป็นคู่ค้าอีกด้วย"

นายวีรธรรม เศรษฐสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า "ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นเชนค้าปลีกขนาดใหญ่คนไทยเจ้าแรกที่เข้ามาอยู่ในตลาดแล้วมียอดขายเกินหมื่นล้าน โดยมีคู่แข่งในตลาดคือค้าปลีกข้ามชาติรายใหญ่ กลยุทธ์สำคัญของเราคือ การจัดการเรื่องของ Inventory หรือสินค้าคงคลัง ซึ่งเรามั่นใจว่า เรามีระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ผู้ประกอบการต่างชาติ ปัจจุบันซัพพลายเออร์รวมกว่า 600 ราย มีซัพพลายเออร์รายใหญ่กว่า 200 ราย สิ่งที่ต้องทำทุกวัน คือ การคำนวณการสั่งซื้อสินค้าของสาขากว่า 300 สาขา และสินค้ากว่า 10,000 SKU รวมเป็นชุดข้อมูลกว่า 3 ล้านชุดที่ต้องเก็บมาแล้ว เข้าสู่ระบบจะต้องมีการคาดการณ์ว่าจะต้องมีสินค้ากี่ชนิด กี่ชิ้นอยู่ในสาขา เพื่อไม่ให้สต็อกมากเกินไป แต่ยังเพียงพอต่อการขาย เมื่อแต่ละสาขาคำนวณแล้ว ก็จะส่งมาที่ส่วนกลาง แล้วส่วนกลางก็จะดูว่ามีสินค้าที่คลังเท่าไหร่ และต้องสั่งสินค้าเพิ่มอีกเท่าไหร่ ระบบ EDI ของทีเอ็มบี เข้ามาช่วยในการส่งใบสั่งซื้อไปที่ซัพพลายเออร์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เรารู้แล้วว่าจะต้องสั่งของเท่าไร ซัพพลายเออร์ก็จะเห็นคำสั่งซื้อแบบไม่ตกหล่น ซึ่งการสร้าง Ecosystem ของทีเอ็มบีนี้ ถือว่ามีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของทั้งเราและคู่ค้าของเราได้เป็นอย่างดี"

ทั้งนี้ ทีเอ็มบี และ ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต ได้จัดงาน "Win with CJ Super Market Program by TMB" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ TMB Supply Chain Financing และ E–Supply Chain โดยมีซัพพลายเออร์คู่ค้าของ ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต ร่วมงานกว่า 200 บริษัท

"ธนาคารยุคใหม่ ต้องมองถึงการสร้าง Ecosystem ซึ่ง Ecosystem จะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องมีการจับมือกัน และทุกคนต้องเห็นประโยชน์ร่วมกัน เรียกได้ว่า Win Win Win กันทุกฝ่าย ซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต ก็ Win เพราะสามารถบริหารซัพพลายเชน และสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ซัพพลายเออร์เองก็ Win ในแง่ของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่วนทีเอ็มบี จะ Win ในแง่ของการได้ลูกค้าใหม่ๆ ด้วยการได้รับข้อมูลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ สามารถนำมาวิเคราะห์ และสามารถปล่อยสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถเติบโต "ได้มากกว่า" ทั้งซัพพลายเชน" นายรัชกร กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ