รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้

พุธ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๑:๕๒
Exotic Pet หรือสัตว์พิเศษเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงที่เหล่าคนรักสัตว์ทั้งในไทยและต่างประเทศเริ่มเลี้ยงดูกันอย่างแพร่หลาย แต่รู้หรือไม่ว่าสัตว์กลุ่มใดบ้างที่เป็น Exotic Pet วันนี้มีคำตอบ โดยทางน.สพ. ปิยวุฒิ ศิริธรรมวิไล สัตวแพทย์ประจำคลินิกอายุรกรรมและสัตว์เลี้ยงพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ได้ให้คำนิยาม ความรู้ในการแบ่งประเภทสัตว์เลี้ยงออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงทั่วไป อย่าง สุนัขหรือแมว ส่วนกลุ่มที่สองก็คือกลุ่มสัตว์เลี้ยงพิเศษ หรือ Exotic Pet เป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงที่นอกเหนือจากสุนัขและแมวนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่มาจากต่างถิ่นแต่ถูกนำมาเลี้ยงดูอยู่ร่วมกับคน อาทิ กระต่าย กระรอก เต่า งู ปลา ชูการ์ไกลเดอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภททั้ง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น เรามักจะเห็นได้จากหลาย ๆ ครอบครัวในไทย ที่นิยมเลี้ยงสัตว์พิเศษเหล่านี้ หรือแม้กระทั่งตามงานแสดงสัตว์เลี้ยงที่มีการนำสัตว์ Exotic Pet มาโชว์ความน่ารัก ทำให้มีกลุ่มคนรักสัตว์พิเศษให้ความสนใจอยากเลี้ยงไม่น้อยเลยทีเดียว
รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้

น.สพ. ปิยวุฒิ ได้ให้ความรู้และเล่าถึงวิธีการเลี้ยงสัตว์พิเศษว่า "ผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และรู้จักนิสัยของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดีก่อนนำมาเลี้ยง ทั้งการเป็นอยู่ ภูมิอากาศที่เหมาะสม พฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์ประเภทนั้น การกินอาหาร ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงงู ก่อนอื่นต้องรู้จักงูว่าเป็นงูประเภทไหน ชอบกินอาหารยังไง อยู่ในความชื้นหรือความร้อนเท่าไหร่ เพราะงูมาจากทั่วโลก ซึ่งงูบางชนิดมาจากทะเลทราย หรือมาจากเขตหนาว ดังนั้นจึงควรจัดตู้ที่อยู่ให้เหมาะสมด้วยการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ให้เป็นแบบที่เขาเคยอยู่ เพราะโอกาสป่วยของงูมีน้อยมาก ดังนั้นการป่วยที่เกิดขึ้นมักมาจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือปากเน่าจากการติดเชื้อในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด งูก็จะอ่อนแอลง หรือเกิดอาการเครียดได้"

การเจ็บป่วยของสัตว์เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะแม้แต่คนเราเองก็ยังเจ็บไข้ได้ป่วย แต่เมื่อไม่ใช่สัตว์เลี้ยงทั่วไปอย่างหมาหรือแมว วิธีการสังเกตอาการต่าง ๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์ของเราป่วยหรือไม่ หรือพฤติกรรมแบบไหนที่ผิดปกติจากเดิม

นายสัตวแพทย์ได้เล่าต่อว่า "การสังเกตอาการเจ็บป่วยของสัตว์ชนิดพิเศษ อย่างเช่น กลุ่มสัตว์พิเศษที่เป็นประเภทสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อมีการเจ็บป่วย อาการจะแสดงออกทางผิว ไม่ใช่แค่งู แต่รวมถึงปลา กิ้งก่า ถ้ามีความเครียดจะสังเกตได้จากสี อาจจะเป็นสีหม่น หรือสีเข้มขึ้น ดูไม่สดใส สัตว์เลือดเย็นเมื่อเกิดความเครียดจะเปลี่ยนสี หรือกินอาหารน้อยลง ปากเจ็บ น้ำลายยืด เป็นต้น"

ปัจจุบันการแพทย์ และรักษาพยาบาลของสัตว์พิเศษจะต้องอาศัยสัตวแพทย์เฉพาะทาง ทั้งนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ เป็นหนึ่งสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านการรักษากลุ่มสัตว์พิเศษ Exotic Pet อย่างครอบคลุม โดยส่วนใหญ่รักษาได้ทั้งสัตว์ปีก สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งก็จะมีสัตวแพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาในเรื่องของกลุ่มสัตว์พิเศษเป็นผู้ดูแล

"การรักษาพยาบาลของสัตว์พิเศษจะต่างกับสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมว โดยแยกเป็นกลุ่มสัตว์ฟันแทะไว้ในประเภทเดียวกัน การรักษา การให้ยาก็จะคล้าย ๆ กัน เพราะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน ส่วนสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกจะแยกกัน ถ้าสัตว์เลื้อยคลาน งู เต่า กิ้งก่า จะมีวิธีคิดและวิธีรักษาที่แตกต่างออกมา เนื่องจากเป็นสัตว์เลือดเย็น ต้องมีการตากแดด รับแสงรังสียูวี ต้องได้รับความร้อน แล้วในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานก็จะแยกย่อยเป็นกลุ่มกินพืชและกินเนื้อ เช่น เต่ากินพืช เต่ากินเนื้อ กลุ่มสัตว์ปีกอย่างเช่น นก ยาบางชนิดไม่สามารถใช้กับนกทุกตัวได้ การรักษาขึ้นอยู่กับสปีชีส์ของสัตว์นั้น ๆ ด้วย" คำบอกเล่าของนายสัตวแพทย์

การเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet ต้องขอใบอนุญาตไหม ? ยังคงเป็นคำถามที่ต้องตระหนักถึงความถูกต้องทางกฎหมายก่อนจะเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet ซึ่งนายสัตวแพทย์ก็ได้ให้ความรู้ระหว่างกฎหมายและสัตว์พิเศษว่า

"ปัจจุบันสัตว์พิเศษบางชนิดไม่ต้องขออนุญาตในการครอบครอง แต่บางชนิดยังต้องมีการขออนุญาต ด้วยพรบ.ตัวใหม่ออกมา สำหรับสัตว์บางชนิดที่เคยอนุญาตให้เลี้ยงได้ แต่ปัจจุบันติดไซเตส(CITES) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าดาวอินเดีย ที่คนไทยเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากแล้ว แต่ในทางธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์ ทำให้ปัจจุบันไม่สามารถเลี้ยงได้ เนื่องจากพอใกล้สูญพันธุ์จึงต้องเลื่อนระดับไซเตสอยู่ระดับสูง คนครอบครองจะผิดกฎหมาย ส่วนคนที่มีอยู่แล้วจะต้องไปจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบกับกรมป่าไม้ หรือกรมคุ้มครองสัตว์ป่า กรณีสัตว์ป่าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในไทย อย่างแมวดาว แมวลายหินอ่อน จะผิดกฎหมาย แต่กรณีเป็นกลุ่มสัตว์ป่าที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศสามารถเลี้ยงได้ หากมีใบอนุญาตเพาะพันธุ์มาด้วย ก็ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย"

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet นอกจากจะต้องรู้จักสัตว์เป็นอย่างดีแล้ว ความพร้อมในการเลี้ยงดูแล ทั้งเรื่องของอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ และสำหรับใครที่สนใจเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet สามารถปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากทางโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อได้ฟรีภายในงาน Pet Expo Thailand 2020 พร้อมกิจกรรมการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง ฟรี ! นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการ พร้อมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของสัตว์เลี้ยง และผู้รักสัตว์เลี้ยง รวมกว่า 300 ร้าน อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ แชมพู รีสอร์ทและโรงแรมที่รับสัตว์เลี้ยง คลีนิคสัตว์ มูลนิธิช่วยเหลือสัตว์ อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โดยการจัดงานจะจัดขึ้นในวันที่ 21 – 24 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ฮอลล์ 105-106 ไบเทค บางนา

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4