ป.เอก ม.มหิดล วิจัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำนายโรคจากโครงสร้างทางประชากร เตรียมขยายผลควบคุม Covid-19 ระบาดระลอกใหม่

พฤหัส ๐๓ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๐:๐๖
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.วิริยะ มหิกุล ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ดี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ ประจำปีงบประมาณ 2563 จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง "แบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและผลกระทบทางระบาดวิทยาของ โรคติดเชื้อ: กรณีศึกษาของ Melioidosis และ RSV" โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิริชดา ปานงาม ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
ป.เอก ม.มหิดล วิจัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำนายโรคจากโครงสร้างทางประชากร เตรียมขยายผลควบคุม Covid-19 ระบาดระลอกใหม่

ซึ่งแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการทำนายโรค คือ การนำเอาหลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการจำลองสถานการณ์ของโรคจากการลงพื้นที่จริง หรือจากรายงาน แล้วนำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก่อนนำไปสู่แนวทางในการประเมินสถานการณ์ ประกอบการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทางระบาดวิทยาได้ต่อไป

ผลงานวิจัยด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายโรคของ ดร.วิริยะ มหิกุล สร้างขึ้นตามโจทย์โครงสร้างทางประชากรที่เปลี่ยนแปลง เพื่อดูผลกระทบการเกิดโรค จากกรณีศึกษาโรคติดเชื้อที่พบมากในเด็กและในผู้สูงอายุ โดยในเด็กได้ศึกษาจากอุบัติการณ์ของโรค RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจที่สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ โดยพบอัตราการติดเชื้อสูงขึ้นในประเทศไทยในเด็กและผู้สูงอายุในครอบครัวขยาย และโรค Melioidosis หรือโรคไข้ดิน ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนได้ในน้ำและดิน เชื้อสามารถเข้าทางผิวหนังหรือปอด ซึ่งจะพบอาการไข้ขึ้น และอาการทางเดินหายใจ ไอ มีเสมหะ โดยมีอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตสูงมากในวัยผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ ได้มีการพยากรณ์ว่าโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้ดินได้ง่ายขึ้น ซึ่งผลการวิจัยคาดว่าจะสามารถขยายผลประยุกต์ใช้เสนอเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจในการวางแนวนโยบายสาธารณสุขของประเทศ

ล่าสุด ดร.วิริยะ มหิกุล ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายแนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นระลอกใหม่ รวมถึงการประเมินผลการป้องกัน ควบคุมโรค อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคม และการระงับการเดินทางเข้าออกประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจในเชิงนโยบายสาธารณสุข และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรคในประเทศไทยอีกด้วย

ป.เอก ม.มหิดล วิจัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำนายโรคจากโครงสร้างทางประชากร เตรียมขยายผลควบคุม Covid-19 ระบาดระลอกใหม่ ป.เอก ม.มหิดล วิจัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำนายโรคจากโครงสร้างทางประชากร เตรียมขยายผลควบคุม Covid-19 ระบาดระลอกใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital