55 ปี โรงเรียนแพทย์รามาธิบดี สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของการสร้างนักวิจัย เพื่อแพทยศาสตร์การศึกษาไทย

พุธ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๑๓:๓๙
55 ปี โรงเรียนแพทย์รามาธิบดี สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของการสร้างนักวิจัย เพื่อแพทยศาสตร์การศึกษาไทย

เมื่อเอ่ยถึงโรงพยาบาลรามาธิบดีหลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพของโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ จุดหมายของผู้ป่วยจากทั่วทุกสารทิศ ที่ให้บริการผู้ป่วยนอกกว่า 2 ล้านครั้งต่อปี ผู้ป่วยที่ต่างหอบเอาความหวังที่อยากจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บมายังสถานที่แห่งนี้ ในอีกมุมหนึ่งโรงพยาบาลรามาธิบดียังเป็นโรงเรียนแพทย์เก่าแก่ก่อตั้งมานานมากกว่าห้าทศวรรษ เป็นสถานที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์หลากหลายสาขาให้มีความรู้ความสามารถที่เพียบพร้อม เพื่อออกไปทำงานรับใช้ประชาชน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในทุกภูมิภาคของประเทศไทย?

หากให้เราลองนึกถึงบุคคลที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี หนึ่งในนั้นย่อมมีชื่อของ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลรวมอยู่ด้วย บทบาทที่เป็นดั่งหัวหน้าครอบครัวใหญ่คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ ศ.นพ.ปิยะมิตร มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยให้สมกับมาตรฐานแห่งการเป็น 'โรงเรียนแพทย์ของแผ่นดิน'

หมวกสามใบใต้ร่มรามาธิบดี

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา ถือเป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ดำรงบทบาทหลากหลายทั้งการเป็นนายแพทย์ด้านโรคหัวใจ, บทบาทการเป็นอาจารย์หมอของนักศึกษาแพทย์มากกว่าพันคนในแต่ละปี และยังเป็นประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ หน่วยงานที่มีภารกิจในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งในแง่ของการพัฒนาโรงพยาบาล, สนับสนุนการวิจัย, จัดซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้จำนวนหลายหมื่นคนต่อปี ด้วยบทบาททั้ง 3 ด้านที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การสร้างสมดุลการทำงานให้มีประสิทธิภาพควบคู่กันไปจึงนับเป็นความท้าทายที่ต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน

ยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านกับพัฒนาการของแพทยศาสตร์การศึกษาไทย

บทบาทการเป็นอาจารย์หมอผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาแพทย์มานานกว่า 30 ปีของ ศ.นพ.ปิยะมิตร ทำให้เห็นพัฒนาการด้านการศึกษาของวงการแพทย์ไทย ที่ค่อยๆปรับตัวจากยุคอนาล็อกมาสู่ดิจิทัลในปัจจุบัน

"จุดร่วมที่เราเน้นมาเสมอตั้งแต่อดีตคือการผลิตบัณฑิตในสายงานแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้แบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การซักประวัติ-ตรวจร่างกาย, การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การวินิจฉัยโรคและการรักษาผู้ป่วยจนมีสุขภาพที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้คือหัวใจหลักของการเป็นแพทย์ที่จำเป็นต้องมีอย่างครบถ้วน ในส่วนวิชาการใหม่ที่แตกต่างจากอดีตคือองค์ความรู้ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นซึ่งเกิดจากการศึกษาวิจัยใหม่ ๆ และพัฒนาการรักษาโรคแบบใหม่ที่เกิดขึ้น ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แนวคิดการเรียนรู้สมัยใหม่ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นให้ท่องจำอีกต่อไป หากแต่ต้องสามารถสืบค้นและต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา"

นอกจากนี้ การเรียนการสอนแพทย์ในปัจจุบันได้มีการนำศาสตร์วิชาความรู้ด้านอื่น ๆ เข้ามาผสมผสานร่วมด้วย เช่น หลักสูตรร่วมแพทยศาสตรบัณฑิต-การจัดการมหาบัณฑิต ที่มุ่งผลิต 'แพทย์ นักบริหาร' ที่มีศักยภาพด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์และบริหารจัดการระบบสาธารณสุขให้สามารถรับมือกับวิกฤตสุขภาพและโรคอุบัติใหม่ที่มีแนวโน้ม จะมีมากขึ้นในอนาคต อีกหนึ่งหลักสูตรที่ถือเป็นการเปิดประตูสู่มิติใหม่ของวงการแพทยศาสตร์ไทยคือหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต-วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อสร้าง 'แพทย์นวัตกร' ผู้มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ มองเห็นโอกาสและแก้ไขปัญหาด้วยหลักการทางวิศวกรรมรวมถึงสามารถต่อยอดความรู้เพื่อพัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักแก้ไขความบกพร่องของการสื่อความหมาย

อาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์แบ่งออกได้หลากหลายแขนงตามลักษณะอาการของโรค นอกจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เราคุ้นเคยแล้ว ที่นี่ยังมีหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย (ด้านการพูดและการฟัง) ที่เปิดสอนเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย โดยมุ่งพัฒนา 'นักวิทยาศาสตร์ความผิดปกติของการสื่อความหมาย' ซึ่งเป็นแขนงวิชาความรู้เฉพาะด้าน โดยกลุ่มคนไข้ที่ต้องการความช่วยเหลือของแพทย์ทางด้านนี้มีอยู่มากมาย เช่น ผู้พิการทางการพูดและการได้ยิน, ผู้สูงอายุที่เริ่มมีความเสื่อมของระบบการได้ยิน, ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่จำเป็นต้องฝึกบริหารกล้ามเนื้อในการพูดอีกครั้ง เป็นต้น การพูดและการได้ยินถือเป็นการสื่อสารที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงให้ความสำคัญในการผลิตบัณฑิตสาขานี้ โดยได้เปิดการสอนมากว่า 20 ปี รวมจำนวนผู้สำเร็จการศึกษากว่า 400 ราย

แพทย์นักวิจัยกับการยกระดับวิทยาศาสตร์การแพทย์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2508 นับถึงปัจจุบันมีอายุ 55 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต 'แพทย์นักวิจัย' และ 'ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)' ให้แก่สังคมไทย "เรามองว่าการดูแลรักษาพยาบาลและการวิจัยควรทำควบคู่กันไป การรักษาเป็นภารกิจสำคัญของแพทย์ที่พึงกระทำอยู่แล้ว ซึ่งเราอาจจะช่วยผู้ป่วยได้จำนวนหนึ่ง แต่การวิจัยหากค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์ได้มากขึ้น จะสามารถช่วยชีวิตคนได้เพิ่มขึ้นจำนวนมากเป็นร้อยเป็นพันหรือหลายล้านคน โดยหลักสูตรของรามาธิบดีได้เปิดโอกาสให้แพทย์ได้ทำการวิจัยในหลากหลายรูปแบบทั้งการวิจัยในห้องทดลองที่ทันสมัยและการวิจัยระบบสาธารณสุขเพื่อค้นหาวิธีการบริหารระบบสาธารณสุขมาพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น"

แรงผลักดันจากภาคประชาชน

หลายครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์มักเป็นด่านหน้าของการรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนด้านสุขภาพในสังคม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาคือกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เพราะในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีทางเลือกในการอยู่บ้านกับครอบครัวเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ แต่บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องออกมาปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การรักษาพยาบาล ในช่วงเดือนที่การแพร่ระบาดทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ได้กลายเป็นศูนย์กลางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนมากในประเทศไทย โดยมีจำนวนของห้อง ICU ความดันลบกว่า 40 ห้อง "ในสถานการณ์ปกติโรงพยาบาลรามาธิบดียังให้การพยาบาลรักษาแก่ผู้ป่วยโรคสลับซับซ้อนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยยากไร้จำนวนมาก อีกทั้งที่นี่ยังเป็นสถานที่ผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมากที่สุดในประเทศไทย โดยสถิติการเปลี่ยนไตของโรงพยาบาลรามาธิบดีมีจำนวนมากกว่า 2,700 ราย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนผ่านมูลนิธิรามาธิบดีฯ คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และจากวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปีนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความร่วมแรงร่วมใจระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ คือพลังสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยฝ่าฟันสถานการณ์ที่เป็นเหมือนฝันร้ายมาได้ด้วยดี" ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวปิดท้าย

ปัจจุบันมูลนิธิรามาธิบดีฯ มีโครงการที่รอการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก เช่น โครงการเพื่อผู้ป่วยยากไร้ ที่โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายต้องดูแลกว่า 20 ล้านบาทต่อปี หรือโครงการเพื่อโรงพยาบาลชุมชน เพื่อพัฒนาให้โรงพยาบาลชุมชนสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ได้อย่างมีคุณภาพ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงานของแพทย์ในทุกภารกิจได้ผ่านมูลนิธิรามาธิบดีฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?