ม.มหิดล ช่วยแรงงานชาวเมียนมาสู้วิกฤติ Covid-19

จันทร์ ๒๘ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๒๗

เป้าหมายหนึ่งของกระบวนการพัฒนาตามแนวทาง SDGs หรือการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ คือ "Inclusiveness" หรือการนับรวมให้ทุกกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางด้าน "พหุวัฒนธรรมศึกษา" ที่อยู่ในหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติASEAN Studies for Sustainable Development (MASD) และหลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติ Multicultural Studies (พหุวัฒนธรรมศึกษา) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ส่งเสริมการศึกษาเรื่องอาเซียนจากมุมมองSDGs ขององค์การสหประชาชาติ

ม.มหิดล ช่วยแรงงานชาวเมียนมาสู้วิกฤติ Covid-19

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล (RILCA) ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยภายใต้เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัย (RUN) ในการศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติในไทย-อาเซียน สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม และการใช้สื่อออนไลน์ของแรงงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ได้ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงพัชรี เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผลักดันให้มีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ ASEAN Studies for Sustainable Development (MASD) ร่วมกับ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม(IPSR) และโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา(IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากกลุ่มประเทศอาเซียนได้เข้ามาเรียนร่วมกัน เพื่อร่วมพัฒนาให้เกิดความเข้าใจอันดีและการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ RILCA ได้ส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวผ่านการดำเนินงานหลักสูตรปริญญาเอกพหุวัฒนธรรมศึกษา(นานาชาติ) ที่ส่งเสริมให้ทุนนักศึกษาจากอาเซียนพลัส และการให้บริการภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนของ ศูนย์การแปลและบริการทางภาษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ อธิบายว่า "สังคมพหุวัฒนธรรม" ในประเด็นที่ RILCA พยายามผลักดันตามเป้าหมายของSDGs ตลอดเวลาที่ผ่านมาคือ การให้องค์ความรู้ทางด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม และที่สำคัญคือ ความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในเรื่องชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ ความแตกต่างทางเพศและวัย รวมถึงความซับซ้อนต่างๆ ที่คนในสังคมควรให้ความสนใจ ทั้งด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน และโอกาสทางสังคมเศรษฐกิจ และทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม" เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

ซึ่ง "สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม" หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจและการแสดงออกทางสังคมทั้งโดยวาจา การกระทำ และการสื่อสารออนไลน์ของกลุ่มคนในสังคมที่มีความหลากหลาย ทั้งต่างที่มาและความแตกต่างอื่นๆ เช่น พลเมืองไทย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เพศ และวัย ที่แสดงการยอมรับความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรและช่วยเหลือกันโดยไม่ถูกดูหมิ่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

พี่น้องแรงงานจากอาเซียนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจึงควรได้รับโอกาสและการยอมรับทางสังคมให้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าคนไทย แต่ยังพบปัญหาจากการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรับบริการพื้นฐานต่างๆ ได้เท่าที่ควร เนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาที่ประสบภาวะวิกฤติจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่จังหวัดสมุทรสาครในปัจจุบันโดย มหาวิทยาลัยมหิดล

ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดย RILCA ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือทางด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยร่วมจัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติตัวในภาวะวิกฤติ Covid-19 ตลอดจนโปสเตอร์ และคลิปวิดีโอแนะนำต่างๆ เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์เป็นภาษาพม่า นอกจากนี้ ยังได้ช่วยจัดกระบวนการพบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกับหน่วยงานดังกล่าวเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานช่วยเหลือพี่น้องแรงงานชาวเมียนมา และให้บริการล่ามภาษาพม่า ร่วมกับ นักจิตวิทยาของหน่วยงานที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือแรงงานชาวเมียนมา รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาภาวะวิกฤติ Covid-19

"แม้ช่วงก่อนประสบภาวะวิกฤติ Covid-19 คนไทยมีความสนใจท่องเที่ยวประเทศเมียนมากันมาก แต่พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังพูดและเข้าใจภาษาพม่ากันได้น้อย ในขณะที่แรงงานชาวเมียนมาพูดภาษาไทยกันได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานชาวเมียนมาในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอาหารทะเล และอุตสาหกรรมการประมง โดยเป็นแรงงานข้ามชาติกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนานแล้ว และส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสาร นอกจากนี้ ยังพบสตรีมีครรภ์ และเด็กๆ อยู่เป็นจำนวนมากในกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาที่ประสบภาวะวิกฤติ Covid-19 โดย RILCA ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน และการวิจัยเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในหลากหลายมิติ เช่น พหุวัฒนธรรม การศึกษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ได้มีโครงการจะใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นชาวเมียนมา ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญของ RILCA ในการจัดทำคลิปวิดีโอแนะนำเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันทำเป็นภาษาพม่า และภาษาไทย ต่อไปจะขยายผลไปใช้เป็นแนวทางช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวในกลุ่มอื่นๆ อาทิ แรงงานชาวกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนมากเช่นกันในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยมหิดล จะทำหน้าที่เป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" เพื่อเป็นที่พึ่งทางปัญญาสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติต่อไป" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.มรกต ไมยเออร์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest