สร้างเมืองที่ปลอดก๊าซเรือนกระจกได้ ด้วยบ้านอัจฉริยะที่ยั่งยืน

พฤหัส ๑๗ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๐๘:๒๐
โดย จาย ธัมปิ รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมและกลยุทธ์ Home & Distribution ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)

จากการประชุมเศรษฐกิจโลกที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้ชื่องาน Davos Agenda 2021 เรื่อง Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลายเป็นหัวข้อสำคัญของการประชุมฯ ที่มีการเรียกร้องให้นำแนวทางมาปรับใช้ช่วยให้เมืองต่างๆ มีความยั่งยืนมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ คือความจริง และระเบิดเวลาด้านสภาพอากาศกำลังเดินหน้าไปเรื่อยๆ มีความคิดริเริ่มหลายอย่างเพื่อช่วยให้เมืองต่างๆ มีความเป็นกลางด้านคาร์บอนหรือมีสภาพอากาศที่เป็นกลางได้ภายในปลายทศวรรษนี้ โดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้รับอาสาทำภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริม 100 เมืองในยุโรปในการปฏิรูประบบเพื่อมุ่งสู่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน ภายในปี 2030  ซึ่งหลายเมืองที่อยู่ในหน่วยงาน CNCA (Carbon Neutral Cities Alliance) จากเมืองแอดิเลดจนถึงกรุงอัมสเตอร์ดัม จากเฮลซิงกิจนถึงวอชิงตันดีซี ล้วนมุ่งเป้าไปที่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนได้สำเร็จภายใน 10-20 ปีถัดไป

ทำไมจึงมุ่งเน้นที่เมืองแทนที่จะเน้นภาคอุตสาหกรรม? จริงๆ แล้วเราต้องจัดการกับทั้งสองภาคอย่างแน่นอน แต่ความแตกต่างสำคัญที่การเป็นมหานครที่สามารถกำจัดคาร์บอนได้จะให้ผลกระทบในวงกว้างได้มากกว่า เนื่องจากเมืองต่างๆ กินพื้นที่ราว 3 เปอร์เซ็นต์ของโลก แต่ผลิตก๊าซเรือนกระจกในปริมาณรวมที่มากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น เมืองต่างๆ ยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและจะยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้กระทั่งในช่วงที่เกิดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากจะบรรยายการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ เปรียบได้ว่าเป็นสงครามการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา ก็คือการต่อสู้กับเมืองเหล่านี้

สิ่งที่ผมมองเห็นคือ ความเร่งด่วนทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศและการแพร่ระบาด ทำให้เราสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการเกิดใหม่ได้ ทั้งผู้วางนโยบายและชาวเมืองสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในบทบาทสำคัญในการคิดทบทวนด้านการวางแผนสำหรับเมือง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กลับคืนสู่เมืองได้มากยิ่งขึ้น แนวทางการแก้ไขบางอย่างยังรวมไปถึงเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่สะอาด เทคโนโลยีดิจิทัลที่ฉลาด ระบบโครงสร้างและอาคารที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับแนวทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับการจัดการน้ำ ของเสีย และวัสดุต่างๆ

คำนึงถึงเรื่องเงิน

การปฏิรูปเมืองต่างๆ สู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน ไม่ว่าจะภายใน 10 หรือ 30 ปี ก็ล้วนแต่เป็นความท้าทาย อย่างไรก็ตาม ทั้งเทคโนโลยีและโซลูชันนวัตกรรมเพื่อบ้านที่ยั่งยืน อาคารสำนักงาน พลังงาน การขนส่ง อาหาร น้ำ และระบบวัสดุต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว และจะตามมาอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีที่ยั่งยืนมีราคาลดลง อีกทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากนักลงทุนมากขึ้น

ความท้าทายที่แท้จริงคือการเปลี่ยนวิธีคิด สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อนและการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวด ในฐานะของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เราต้องทำให้ผู้คนตระหนักว่าความยั่งยืนไม่ได้มีผลกระทบเรื่องประสิทธิภาพ ความสำเร็จ หรือมาตรฐานความเป็นอยู่ อาคารอัจฉริยะที่ให้ความยั่งยืนหมายถึงอาคารที่ลดการปล่อยของเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ จากนั้น เราต้องเปลี่ยนอุปสรรคต่างๆ ให้กลายเป็นโอกาสด้วยขุมพลังของเทคโนโลยีสมัยใหม่

บ้านอัจฉริยะ ช่วยให้เกิดเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร

ที่อยู่อาศัยหรือบ้านมีส่วนสำคัญส่งผลต่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งคาดว่าจะกลายเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากที่สุดในทศวรรษหน้า จึงทำให้บ้านต้องกลายเป็นวาระสำคัญของเมืองที่ปลอดคาร์บอน ซึ่งหลังการแพร่ระบาด บ้านจะเป็นที่เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่และใช้พลังงานเป็นหลัก การเข้าถึงการผลิตพลังงานในท้องถิ่นได้ง่าย ช่วยนำไปสู่การหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็ว ตัวอย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ทำให้บ้านเรือนสะอาดขึ้นมีความยั่งยืนมากขึ้น เราควรช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถขายพลังงานส่วนเกินคืนให้กลับโครงข่ายไฟฟ้าหรือชุมชนท้องถิ่นได้

แต่เราจำเป็นต้องก้าวไปไกลกว่านั้น ระบบบ้านอัจฉริยะสามารถให้มุมมองเชิงลึกอย่างที่เราไม่เคยได้มาก่อนในแง่ของการใช้พลังงาน ทั้งสำหรับการทำความร้อน การปรุงอาหาร การชาร์จรถยนต์ หรือเพื่อความบันเทิง บ้านอัจฉริยะที่ให้ความยั่งยืนยังให้ความสะดวกสบายส่วนตัวได้มากขึ้น อีกทั้งให้ประสิทธิภาพในการลดค่าไฟฟ้า เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วย AI ยังช่วยให้เราปลอดภัย นอกจากจะช่วยให้เรามั่นใจว่าได้สูดอากาศสะอาดและรักษาระดับอุณหภูมิห้องที่ให้ความสบาย ยังช่วยแจ้งเตือนเราในเชิงรุกหากมีความผิดพลาดในระบบไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้  ลองคิดถึงผลกระทบหากเราสามารถหยุดการเกิดเพลิงไหม้จากระบบไฟฟ้าไม่ให้ทำลายความเป็นอยู่ของเรา

โซลูชันระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสำหรับบ้านอัจฉริยะสามารถขยายขอบเขตการทำงานและเชื่อมโยงกับอาคารอื่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น กระทั่งเชื่อมกับชุมชนทั้งหมดหรือทั้งเมืองได้ อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่ปลอดคาร์บอน จะเป็นจริงได้ด้วยการใช้ระบบโครงสร้างดิจิทัลระดับโลกที่ทันสมัย มีการนำ IoT และแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องมาใช้งานในวงกว้าง  ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานในลักษณะเดียวกันสำหรับชุดข้อมูลแบบเปิดที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะเชื่อมโยงและแบ่งปันการใช้งานทั่วระบบนิเวศของเมือง เพื่อยุติระบบไซโลและสร้างมุมมองเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และ AI  นี่คือสิ่งที่องค์กรทั้งหมดควรเรียกร้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และมีการประสานงานร่วมกันทั่วอุตสาหกรรม อีกทั้งนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาช่วยขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันด้วยการเชื่อมต่อถึงกันและการวิเคราะห์

การบรรลุผลสำเร็จร่วมกันนี้ เราต้องเปิดใจกว้างและดำเนินตามนโนบายของการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาในบทบาทของอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นตลอด เมื่อถึงเวลาช่วยโลก งานของเราจึงไม่เคยเสร็จสิ้น และโซลูชันที่ดีที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมาก็อาจจะไม่ใช่โซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาในปัจจุบันได้

ตัวอย่างเช่น การยึดติดเรื่องการปรับปรุงอาคารเพื่อประหยัดพลังงานมากไปในปัจจุบัน เช่นการติดฉนวนกันความร้อนในอาคาร ก็จะเป็นการใช้สาธารณูปโภคมากเกินไป เพราะเมืองต้องมีการขยายตัวด้วยอาคารใหม่ๆ การคิดในขอบเขตเล็กก็จะทำให้เราไปไม่ถึงไหน อาจทำให้เกิดความล่าช้ากับภาพรวมที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เราจึงต้องมีเครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจแนวโน้มการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำ และเราต้องนำมาใช้ในวงกว้างได้

ช่วยโลก อีกทั้งอนุรักษ์เศรษฐกิจ

เราอยู่ท่ามกลางการปฏิวัติด้านพลังงาน หากคุณมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของมนุษย์ คุณจะเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความพร้อมด้านพลังงานที่จัดหามาได้ง่าย ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวในตอนนี้ก็คือเรากำลังพูดถึงการใช้พลังงานในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงความต้องการพลังงานสะอาด

การทำให้เมืองต่างๆ มีค่าคาร์บอนเป็นกลาง เป็นเรื่องยากและไม่ธรรมดา เราต้องมีแนวคิดที่ถูกต้อง และยึดมั่นในหลักปฏิบัติ ดำเนินตามหลักปรัชญาที่ว่า "งานของเราไม่มีวันเสร็จเสมอ" การนำเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุดมาใช้ จะช่วยให้เรามีมุมมองเชิงลึกและมีศักยภาพที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ อีกทั้งงานต่างๆ ที่มีความเป็นสีเขียวมากขึ้น รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีและการลงทุนด้าน ESG เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้  ไม่ว่าเราจะเลือกแนวทางไหนก็ตามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ หรือใช้โซลูชันใดก็ตาม เราต้องจำไว้ว่า ความยั่งยืนก็เป็นเช่นเดียวกับทุกสิ่งดีๆ ที่เริ่มต้นจากบ้าน

ที่มา: APPR Media

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4