วว. มุ่งสร้างธุรกิจใหม่ให้ผู้ประกอบการ ด้วยศักยภาพวิจัย ผลิต และบริการ จาก ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม ตั้งเป้าลดนำเข้า 100%

ศุกร์ ๑๘ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๓:๓๗
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)  โชว์ศักยภาพ  ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม หรือ Innovative Center for Production of Industrially used microorganisms  (ICPIM)  สำหรับเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ  มุ่งเป้าระยะยาวชดเชยการนำเข้าหัวเชื้อให้ได้ 100%  สำหรับการวิจัยพัฒนา ผลิต บริการ ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากโพรไบโอติก/พรีไบโอติก ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับคนไทย สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการและเศรษฐกิจของประเทศ

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. มุ่งบริการด้านการวิจัยและพัฒนาแก่ผู้ประกอบการซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของ วว. ทั้งในระดับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ Start up SMEs ผู้ผลิตสินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ที่มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องการเพิ่มมูลค่า หรือต้องการแก้ไขปัญหาการผลิต ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ การรับฟังแนวความคิดของผู้ประกอบการ (idea) การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และแก้ไขปัญหา (prototype & solution) การบริการวิเคราะห์ ทดสอบ การขยายขนาดการผลิตจากห้องทดลองสู่ระดับการผลิตจริง (scale up) การพัฒนาระบบบริหารจัดการการผลิตสินค้า (product & management system) ตลอดจนการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ (commercialization) ทั้งการส่งเสริมด้านการตลาดและเชื่อมโยงด้านการเงิน เป็นต้น โดยมีกลไกสำคัญ คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ โดย ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยศักยภาพที่เป็นศูนย์ชั้นนำซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับการวิจัยพัฒนา การผลิต และบริการ ในส่วนของอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ได้จากโพรไบโอติกและพรีไบโอติก (Probiotic/Prebiotic) รวมทั้งจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหาร

ICPIM เป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโพรไบโอติกและจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารแบบครบวงจร ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล และหน่วยกระบวนการผลิตที่รองรับ มาตรฐาน GHP และ HACCP นอกจากนี้  ICPIM  ยังเป็นที่ตั้งของ ธนาคารสายพันธุ์โพรไบโอติก ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นคุณสมบัติด้านโพรไบโอติก ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)โดยสายพันธุ์โพรไบโอติกที่อยู่ในธนาคารฯ แห่งนี้ ได้รับการเก็บรักษาภายใต้มาตรฐานสากลของ The World Federation for Culture Collections (WFCC)

ICPIM  ให้บริการสายพันธุ์จลินทรีย์ไพรไบโอติก มากกว่า 50 สายพันธุ์  ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติก-โพรไบโอติก เพื่อขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์และการส่งออก  บริการทดสอบคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของจุลินทรีย์  และสารชีวภาพในด้านการต้านอนุมูลอิสระ  การยับยั้งเซลล์มะเร็ง  การสร้างและปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน   การยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรค  การศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอล  บริการวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกในอุตสาหกรรมอาหารด้วยระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล   บริการทดสอบพิษวิทยาต่อหน่วยพันธุกรรม  (Genetic Toxicity) ตามมาตรฐานการทดสอบความเป็นพิษ  ตามหลักการ OECD GLP

"...จากศักยภาพของ ICPIM ดังกล่าว วว. มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตแต่ได้คุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ และในขณะเดียวกัน วว. ทำการวิจัยพัฒนาควบคู่ไปกับการให้บริการด้วย เพื่อนำเอาจุลินทรีย์และความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร เพื่อสร้างให้เป็นพรีไบโอติกและโพรไบโอติก แล้วนำไปเป็นผลิตเป็นอาหาร อาหารเสริม ในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำให้ร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ช่วยเสริมให้สุขภาพดีขึ้น เนื่องจากคนไทยจะมีความแตกต่างในลักษณะของสภาพร่างกายและอาหารการกินของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป เชื้อที่ได้ในประเทศของเราจะเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยมากกว่า ปัจจุบันมูลค่าการนำเข้าหัวเชื้ออยู่ที่ประมาณ 300 กว่าล้านบาทต่อปี ICPIM สามารถจะชดเชยในส่วนนี้ได้ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงแรกของการดำเนินงาน ทั้งนี้ วว. ตั้งเป้าว่าในระยะยาวจะสามารถชดเชยให้ได้ 100% เพื่อความมั่นคงเข้มแข็งของผู้ประกอบการและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ..." ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคำแนะนำปรึกษาจาก ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) วว. ติดต่อได้ที่ โทร. 061 414 3934, 0 2577 9771 โทรสาร 0 2577 9058 E-mail : [email protected] และ ID Line : @brc_tistr

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้