Sea (Group) เผยผลการสำรวจอินไซต์ผู้ค้าออนไลน์ 5 กลุ่ม ในภูมิภาคอาเซียน สะท้อน 'ความหลากหลาย' บนโลกอีคอมเมิร์ซไทย

พฤหัส ๒๙ กรกฎาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๔๖
Sea (Group) สำรวจ "Online Seller Archetypes" จับอินไซต์ผู้ค้าออนไลน์ เจอกลุ่ม 'Entrepreneurs' และกลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs' ที่น่าจับตามองSea (ประเทศไทย) ทยอยเปิดตัวโครงการตามแผนส่งเสริมศักยภาพคนไทยด้วยอีคอมเมิร์ซSea (Group) บริษัทชั้นนำระดับโลกในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มสำหรับผู้บริโภค ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ (Garena) อีคอมเมิร์ซ (Shopee) และบริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (SeaMoney) เผยผล "การสำรวจ Online Seller Archetypes" เพื่อจับอินไซต์ว่าบทบาทของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มมากขึ้น จากกระแสดิสรัปชันและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งแรงกระเพื่อมไปถึงผู้ค้าออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียนอย่างไร โดยผลสำรวจจากผู้ค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ราว 42,000 ราย จากทั้งหมด 6 ประเทศ ประกอบไปด้วย ประเทศไทย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ว่า รูปแบบการรับอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มมาใช้งานมีความหลากหลาย และสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ The Homemaker, The Student, The Never-too-late, The Moonlighter และ The Highly-digital ซึ่งใช้งานอีคอมเมิร์ซเพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเสริมศักยภาพธุรกิจ สะท้อนให้เห็นถึงแรงกระเพื่อมจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่สนับสนุนให้เกิดความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Resilience & Adaptability) ในผู้ค้าออนไลน์หลากหลายกลุ่มในสังคมวงกว้าง

1.) The Homemaker Entrepreneurs (กลุ่มแม่บ้าน-พ่อบ้าน)

บนแพลตฟอร์มช้อปปี้มีผู้ค้าออนไลน์กลุ่ม The Homemaker จำนวนไม่น้อย โดยเกือบทั้งหมดเป็นคุณแม่ ในช่วงวัย 30 ที่ต้องรับหน้าที่ดูแลบ้าน และความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัวจำนวน 4 คน โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ ราว 60% ของ The Homemaker ระบุว่า 'การนำรายได้มาใช้ในการดูแลครอบครัว' เป็นแรงจูงใจหลักในการค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เลือกช่องทางอีคอมเมิร์ซในการทำธุรกิจ ได้แก่ 'ความยืดหยุ่นของเวลาการทำงาน' ซึ่งทำให้ The Homemaker สามารถดำเนินธุรกิจและดูแลครอบครัวควบคู่กันไปได้ โดยไม่ต้องเสียสละอย่างใดอย่างหนึ่งไป โดยเฉพาะในช่วงที่จำเป็นต้องรักษาระยะห่าง ซึ่งทั้งพ่อแม่และลูกๆ ถูกจำกัดพื้นที่ให้ทำงานและเรียนอยู่ในบ้าน ดังนั้น แม่บ้านจำเป็นต้องทำ 2 หน้าที่ในเวลาเดียวกัน ทั้งในบทบาท 'ผู้ประกอบการ' และ 'ผู้ดูแลลูกและสมาชิกครอบครัว'

2.) The Student Entrepreneurs (กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา)

กลุ่ม The Student ได้แก่ กลุ่มคนรุ่นใหม่ในวัยเรียนที่ค้าขายออนไลน์ควบคู่ไปกับการเรียน มีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์เป็นรายได้หลักและนำรายได้ไปใช้เพื่อการศึกษาในอัตราที่สูงโดดเด่นจากกลุ่มอื่นๆ อย่างชัดเจน หากเปรียบเทียบกับผู้ค้าออนไลน์กลุ่มอื่นๆ แล้ว The Student มีเงินออมส่วนบุคคลค่อนข้างน้อย อีกทั้งยังต้องเข้าเรียนเต็มเวลาตามที่หลักสูตรการศึกษานั้นๆ กำหนด จึงทำให้มี 'ความอ่อนไหวทางด้านการเงินและปัญหาการจัดการเวลา' สูง

ดังนั้น อีคอมเมิร์ซจึงเข้ามาเป็นโซลูชันที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ได้ทดลองทำการค้าขายตามไอเดียและความสร้างสรรค์ของตนได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย มีต้นทุนต่ำและระดับความเสี่ยงที่ต่ำ นับเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ The Student ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการบนโลกอีคอมเมิร์ซได้ง่ายยิ่งขึ้น

3.) The Never-too-late Entrepreneurs (กลุ่มผู้ประกอบการมืออาชีพจากโลกออฟไลน์)

ผู้ค้ากลุ่ม The Never-too-late คือผู้ประกอบการที่เดิมทำธุรกิจอยู่บนช่องทางออฟไลน์ และมีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์การทำธุรกิจที่ยาวนานกว่า 10 ปี ทั้งนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมก็กดดันให้กลุ่ม The Never-too-late ต้องเข้ามาใช้อีคอมเมิร์ซอย่างกะทันหัน ไม่เพียงเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีอยู่ แต่ยังต้องการหาโอกาสขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่ๆ อีกด้วย

แม้ว่า The Never-too-late จะมีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์การทำงานจริงเป็นจุดแข็ง แต่ก็มีจุดอ่อนเช่นกัน คือ การที่พวกเขาเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ค้าออนไลน์กลุ่มอื่นๆ สถิติจากรายงานชี้ว่าสัดส่วนยอดขายบนอีคอมเมิร์ซโดยเฉลี่ยของผู้ค้ากลุ่มนี้อยู่ที่ 28% เท่านั้น ยังเติบโตได้อีกมาก หาก Reskill-Upskill ผู้ประกอบการและพนักงาน เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดให้ธุรกิจใช้ประโยชน์จาก Digital Tools ได้เต็มที่มากขึ้น

4.) The Moonlighter Entrepreneurs (กลุ่มทำอาชีพเสริมคู่งานประจำ)

กลุ่ม The Moonlighter คือ กลุ่มพนักงานประจำที่ขายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซเป็นอาชีพเสริม โดยมองว่าอีคอมเมิร์ซใช้งานง่าย ช่วยให้จัดการร้านค้าและคำสั่งซื้อได้ตามเวลาที่สะดวก และต้นทุนต่ำ จึงตัดสินใจนำเข้ามาใช้เป็นโซลูชันในการรักษาระดับความพึงพอใจของทั้งนายจ้างและลูกค้าบนโลกออนไลน์ เนื่องจากงานประจำคือความมั่นคง ส่วนอีคอมเมิร์ซเป็นแหล่งที่มาของรายได้หลัก ยิ่งไปกว่านั้น 2 ใน 3 ของ The Moonlighter เป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว พวกเขาจึงมีมุ่งมั่นและจริงจังกับการทำธุรกิจส่วนตัวบนอีคอมเมิร์ซ กลุ่ม The Moonlighter มีความสามารถในการใช้ Digital Tools เป็นอย่างดีอยู่แล้ว หากเติมความรู้ในการบริหารธุรกิจเข้าไป ก็จะทำให้มีศักยภาพการขยายธุรกิจสูง

5.) The Highly-Digital (กลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์มืออาชีพ)

กลุ่ม The Highly-Digital คือกลุ่มคนที่สังคมมักจะนึกถึงเมื่อเราพูดคำว่า "พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์" โดยพวกเขาขายสินค้าออนไลน์เป็นอาชีพหลักเพียงอาชีพเดียว มีความแอคทีฟบนอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มสูง บริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสร้างยอดขายจากช่องทางอีคอมเมิร์ซได้มากกว่า 50% ของยอดขายทั้งหมด นับเป็นกลุ่มที่มีทักษะการทำธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลสูงที่สุดในกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ทั้งหมด โดยกลุ่ม The Highly-Digital มักเป็นคนช่วงอายุ 30 ปี โดย 66% ระบุว่าต้องการหารายได้เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว และอีก 57% ระบุว่าต้องการนำรายได้ไปลงทุนต่อเพื่อขยายธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซ

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 เข้ามาเร่งกระบวนการ Digital Transformation ให้เร็วขึ้น หลายๆ ประเทศมีความพยายามที่จะสนับสนุนและส่งเสริม SMEs ให้อยู่รอดด้วยการใช้ Digitalization ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการเยียวยาหรือส่งเสริมศักยภาพ SMEs แบบ One-size-fit-all อาจไม่ใช่คำตอบ เนื่องจากธรรมชาติของผู้ค้าออนไลน์มีความหลากหลาย ทั้งด้านปูมหลัง แรงจูงใจ และการนำอีคอมเมิร์ซไปปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม 'Hidden Entrepreneur' อย่าง The Homemaker และ The Student ที่แตกต่างไปจากภาพผู้ประกอบการในความคิดของสังคมส่วนใหญ่อย่างชัดเจน

'Hidden Entrepreneur' หลายๆ คนอาจไม่มีวันผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการ หาก 'Barrier to Entry' ไม่ถูกลดทอนลงมาอย่างมีนัยสำคัญด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้งนี้เพราะการทำธุรกิจไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากที่สุด แต่พวกเขาจำเป็นต้องทำธุรกิจเพื่อสนับสนุนสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับพวกเขา ได้แก่ ความเป็นอยู่ของครอบครัวและการศึกษา

- Sea (ประเทศไทย) จับอินไซต์จากผลสำรวจภูมิภาค ต่อยอดสู่แผนส่งเสริมศักยภาพคนไทยด้วยอีคอมเมิร์ซ

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวถึงภาพรวมผู้ประกอบการ SMEs และผู้ค้าออนไลน์ในประเทศไทยว่า "Sea (ประเทศไทย) และ Shopee (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือ คำนึงถึงการออกแบบโปรแกรมส่งเสริมและสนับสนุนคนไทยที่มีความเฉพาะตัวสูงและต้องการการสนับสนุนที่ต่างกันออกไป โดยเฉพาะกลุ่ม 'Hidden Entrepreneur' อย่าง The Homemaker และ The Student ที่เพิ่งกระโดดเข้ามาหารายได้จากอีคอมเมิร์ซ โดยเราได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายภาคส่วนเผื่อผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ"

"Sea (ประเทศไทย) ต้องการต่อยอดการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation อย่างต่อเนื่อง โดยนอกจากจะต่อยอดโครงการจากปีก่อนๆ เช่น การส่งเสริมด้านการศึกษาและอาชีพของเยาวชนยุคดิจิทัล แล้ว ในปี 2564 นี้ เรามุ่งส่งเสริมศักยภาพคนไทยด้วยอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากเป็นเครื่องมือดิจิทัลที่เข้าถึงได้ในต้นทุนต่ำและสามารถนำไปสร้างรายได้ได้จริง โดยจะมีการทยอยเปิดตัวโครงการเรื่อยๆ โดยโครงการหลักๆ ที่เปิดตัวไปในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ โครงการ "E-commerce 101 powered by Shopee Bootcamp" ที่นำหลักสูตรอีคอมเมิร์ซแบบเข้มข้นไปผนวกกับหลักสูตรของ Thammasat Business School เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านอีคอมเมิร์ซขั้นสูงสู่นักศึกษาซึ่งจะกลายมาเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของประเทศ พร้อมส่งต่อความรู้และทักษะด้านอีคอมเมิร์ซขั้นพื้นฐานสูงสู่วิสาหกิจชุมชน และกระตุ้นให้เกิดการปรับการดำเนินธุรกิจให้มีความยั่งยืนในยุคดิจิทัล และเมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา เราได้เปิดตัว โครงการ 'ปลูกทักษะชีวิต คิดทันโลกดิจิทัล' โดยจับมือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นพันธมิตรรายแรก เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ปลูกทักษะและวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) และทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการยุคดิจิทัล (Employability Skills) เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานแห่งอนาคต ไม่เพียงเพื่อช่วยยกระดับทักษะดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ ให้กับนักศึกษาสายอาชีพ แต่เรายังหวังว่าจะช่วยให้แต่ละครอบครัวมีรายได้ที่มากขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน" คุณมณีรัตน์กล่าวปิดท้าย

บุคคลที่มีความสนใจและต้องการพัฒนาความรู้และทักษะการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ สามารถร่วมเรียนในหลักสูตรทั่วไปของ Shopee Bootcamp โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่ https://shopeebootcamp.com/

ที่มา: การีนา ออนไลน์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?