นิเทศ นิด้า เผยผลวิจัย คนไทยรับรู้ประโยชน์ สนใจการพัฒนาทักษะด้าน Big Data และ ปัญญาประดิษฐ์ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเพียงพอ

ศุกร์ ๒๙ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๐๘
คณะนิเทศ นิด้า ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดโครงการ "DATA+AI Powered Communication 2022" ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของสังคม พัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Re-skill/ Up-skill) ทางด้านการสื่อสาร เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (Artifactual Intelligence -AI) พร้อมนำเสนอผลการวิจัย พบว่า คนไทยตระหนักดีว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จะกระทบต่อการประกอบอาชีพ เช่น การทำให้คนสูญเสียงาน หรือได้งานทำ และสนใจที่จะรับการพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเพียงพอ

รองศาสตราจารย์ ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย "สถานการณ์ แนวโน้มและความต้องการ ความรู้ ทักษะปัญญาประดิษฐ์ทางการสื่อสาร เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของบุคลากรวัยทำงานในประเทศไทย" กล่าวถึงการวิจัยครั้งนี้ว่า ดำเนินการด้วยการสำรวจแบบสอบถาม ผ่านระบบออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,250 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานริษัทเอกชน รองลงมา คือ นักเรียน/นักศึกษา และอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ดังนี้

กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ประโยชน์ของ AI ในการพัฒนามิติต่าง ๆ

  • ร้อยละ 67.68 รับรู้ว่า ระบบ AI ช่วยพัฒนาการการทำงานของคนในปัจจุบันได้ เช่น การใช้ chat bot, การโฆษณาออนไลน์ หรือ โปรแกรมต่าง ๆ รองลงมาคือ
  • ร้อยละ 61.52 คิดว่า AI ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับองค์กร เช่น วิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า
  • ร้อยละ 49.12 รับรู้ว่า AI ช่วยให้คนสร้างอาชีพใหม่หรือธุรกิจใหม่ๆ ได้ เช่น Tech Start-ups / SME/ Digital Business
  • น้อยกว่าร้อยละ 40 รับรู้ว่า ระบบ AI นำมาใช้พัฒนาใน มิติสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ด้วย อาทิ AI ช่วยให้คนมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ในแง่ รายได้ การศึกษา การได้รับบริการด้านสุขภาพ AI ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดมลภาวะ ลดการใช้ทรัพยากรบางประเภท AI ช่วยเตือนให้เกิดการรับมือกับภัยธรรมชาติได้แม่นยำรวดเร็วยิ่งขึ้น และ AI สามารถช่วยพัฒนางานภาครัฐได้ เป็นต้น

กลุ่มตัวอย่างยังไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองและสังคมได้ด้วยปัญญาประดิษฐ์
อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 1 ในสี่ของกลุ่มตัวอย่าง ที่รับรู้ว่าตนเองสามารถใช้เครื่องมือ AI ในการพัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง (ร้อยละ 25.76) ตลอดจนสามารถใช้เครื่องมือ AI ในการพัฒนาองค์กร สังคม สิ่งแวดล้อม ประเทศได้ (ร้อยละ 24.96)

ผลที่ตามมาคือ ทำให้กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 70 ตระหนักว่า AI เป็นสิ่งที่กระทบต่อการปรับตัวในการประกอบอาชีพ เช่น การทำให้คนสูญเสียงาน หรือได้งานทำในอนาคตต่อไป และประเด็นที่สำคัญคือ มีกลุ่มตัวอย่าง เพียงร้อยละ 20.96 ที่เข้าถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้พัฒนาระบบ AI ได้

การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ Re-skill/ Up-skill DATA+AI นิเทศปัญญาประดิษฐ์
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ กล่าวว่า จากผลการวิจัยดังกล่าว จึงได้มุ่งนำผลการวิจัยวิชาการมาต่อยอดขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาทักษะของบุคคลากรวัยทำงานในประเทศไทย ด้วยการจัดอบรมโครงการ "DATA+AI Powered Communication 2022" หวังมุ่งยกระดับ ส่งเสริมศักยภาพ (Re-skill/ Up-skill) การใช้ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทางด้านการสื่อสารให้แก่ บุคลากรที่ทำงานด้านการสื่อสาร นิเทศศาสตร์ต่าง ๆ ให้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ การใช้ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะกลายเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการสื่อสารเหมือนการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานในการทำงาน อีกทั้ง ปัจจุบันเริ่มมีความต้องการผู้ที่มีทักษะการใช้ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จำนวนมากขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับการจ้างงานก็มักเป็นผู้ที่เรียนเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้นการจัดการอบรมเสริมทักษะให้บุคคลากรทางสายสังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ก็จะเป็นการขยายโอกาส และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีการใช้ข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้เกิดความเท่าเทียมกัน นำไปสู่อาชีพที่มั่นคงด้วยทักษะทางเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ทั้งนี้ โครงการ "DATA+AI Powered Communication 2022" ดำเนินการภายใต้ศูนย์สร้างสรรค์และนวัตกรรมทางนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ประกอบไปด้วย การอบรม 2 หลักสูตร รวม 11 วัน 50 รายวิชา 50 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ ดูรายละเอียดโครงการ และสมัครได้ที่ http://gscm.nida.ac.th/th/previews.php?id=405 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด)

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โทร 099-287-4647 หรือ Facebook Page : CIC ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมนิเทศศาสตร์ https://www.facebook.com/CICNitadeNida

ที่มา: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ