วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม นำร่องผลิตบัณทิตใหม่ สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทยในอนาคต

พุธ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ๑๓:๒๙
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ที่ผลิตบัณฑิตเชี่ยวชาญธุรกิจระบบราง ด้วยหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมระบบรางการจัดการเชิงธุรกิจ พัฒนาความรู้ในวิชาการและวิชาชีพจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และล่าสุดตอกย้ำคุณภาพโดยการร่วมมือกับ 7 ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน รวมกว่า 70 องค์กร ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางในอนาคตของประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือ Daddy G ของลูก ๆ เด็กหัวการค้า กล่าวถึงการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่า "คณะวิศวกรรมศาสตร์ UTCC มุ่งเน้นผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย ทั้งการร่วมมือระหว่าง 7 ภาคีเครือข่ายรวม 72 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบราง ในการสนับสนุนส่งเสริมและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบรางในด้านต่าง ๆ อีกทั้งมหาวิทยาลัยฯ ยังพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมระบบรางอย่างเต็มที่ สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือฯ ในวันนี้ ทำให้สามารถผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบรางของไทยในอนาคตก้าวหน้าและพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งจะสนับสนุนให้บุคลากรด้านระบบรางของไทยมีศักยภาพ สามารถสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ ด้านระบบรางไปสู่การปฏิบัติ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยในอนาคตได้อย่างยั่งยืน"

หลักสูตรของที่นี่มีการบูรณาการความรู้ระบบขนส่งทางราง การจัดการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์การเงิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางระบบรางของประเทศ โดยเน้นความรู้ทางด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง เช่น พื้นฐานระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) แล้วยังเสริมความรู้ด้านระบบโลจิสติกส์ ผังเมือง และพลังงานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง รวมทั้งเน้นความรู้ด้านการบริการจัดการธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สถานี และเส้นทางของระบบราง นอกจากการเข้าทำงานในบริษัทด้านระบบราง โลจิสติกส์ และบริษัทที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ที่กำลังขยายตัวและมีความต้องการแรงงานจำนวนมากในปัจจุบัน แล้ว บัณฑิตยังสามารถนำไปความรู้ไปประยุกต์วางแผนและสร้างธุรกิจอิสระของตนเองที่สอดประสานกับการขยายตัวของระบบขนส่งทางรางในอนาคต

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนวัตกรรมธุรกิจระบบราง (Rail Business Innovation Engineering) เปิดสอนเป็นแห่งแรกของประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 รองรับการผลิตบุคคลากรด้านระบบราง โดยมหาวิทยาลัยฯ เล็งเห็นความต้องการของตลาดงาน และเน้นให้นักศึกษาสามารถต่อยอดด้านธุรกิจได้หลากหลาย ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 4 รุ่น น้อง ๆ ที่กำลังตามหาความฝัน และอยากเป็นวิศวกรนักบริหารยุคใหม่ สามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ https://engineer.utcc.ac.th/?p=department&of=rail

ที่มา: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ