ดีไซน์รับอนาคต สร้างโอกาสใหม่ให้วิศวกร

พฤหัส ๒๘ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๔:๓๓
โดย อาลี ฮาจ์ ฟราจ์ รองประธานอาวุโสฝ่าย Machine Solution ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ดีไซน์รับอนาคต สร้างโอกาสใหม่ให้วิศวกร

ระบบออโตเมชั่น เป็นสิ่งจำเป็นต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรด้านอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งสินทรัพย์ด้านการผลิตไม่สามารถทำหน้าที่เองได้จนกว่าจะมีการออกแบบระบบและสั่งดำเนินการ ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในโรงงานขึ้นอยู่กับว่าสามารถออกแบบระบบได้ดีแค่ไหน เมื่อถึงเวลาต้องอัพเกรดไปสู่เทคโนโลยีที่ใหม่ขึ้น (ถึงจุดหนึ่งก็จำเป็นต้องทำ) จะอัพเกรดได้ง่ายแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่ามีการคิดให้รองรับเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบระบบเหล่านี้หรือไม่

Smart Design and Engineering  การออกแบบและการวางวิศวกรรมอันชาญฉลาด จะพิจารณาถึงแนวทางบางอย่างที่ช่วยให้การออกแบบระบบต่างๆ รวมถึงการสั่งการ การดำเนินการ และนำมาใช้งานจริงได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น สำหรับตลอดทุกช่วงการดำเนินงานในโรงงาน

ความท้าทายหลักที่บริษัทต่างๆ ต้องพบเจอในปัจจุบัน คือความไม่ลงตัวระหว่างช่วงการดำเนินงานของโรงงานกับระบบควบคุมการทำงาน ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลในหนึ่งรุ่นจะอยู่ได้นาน 2 ปี แม้ว่าสายการผลิตหรือตัวโรงงานจะอยู่นานเกิน 10 ปีก็ตาม ดังนั้น การคำนึงถึงเรื่องนี้ระหว่างที่ออกแบบโครงการ จะช่วยให้การบริหารจัดการการดำเนินงานในโรงงานตลอดทุกเฟสของทุกช่วงเวลาง่ายขึ้น

การออกแบบทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการออกแบบดิจิทัลในปัจจุบัน ทำให้สามารถออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันความผิดพลาดได้ (error proof designs) ทำได้ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น ด้วยการออกแบบที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยระบบในปัจจุบัน

  • โรงงานทั้งหมดสามารถจำลองภาพและทำการทดสอบได้อย่างเสมือนจริง พร้อมประเมินความเหมาะสมระหว่างที่กำลังออกแบบ
  • วิศวกรหลายรายทำงานไปพร้อมกันได้แบบคู่ขนาน ช่วยลดเวลาการออกแบบทั้งหมดได้
  • ให้แนวทางการออกแบบเป็นแบบมีจุดประสงค์ชัดเจน เปลี่ยนจากการเขียนโปรแกรมไปสู่การตั้งค่า ช่วยลดทั้งเวลาในการออกแบบและลดความผิดพลาด
  • ระบบสามารถทำการจำลองและปรับใช้งานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำมาสร้างหรือสั่งดำเนินการจริง

เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ

ช่วยเร่งให้เริ่มงานในกระบวนการต่างๆ ได้เร็ว จึงทำให้ลูกค้าสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ภายในระยะเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

เครื่องมือออกแบบระบบดิจิทัล ผสานกับเทคนิคด้านการออกแบบทางวิศวกรรมอันชาญฉลาด ช่วยลดจำนวนชั่วโมงในการทดสอบระบบก่อนการใช้งานจริง โดยช่วยให้ทำการทดสอบ แก้บั๊ก และประเมินความถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในระหว่างที่วิศวกรยังคงนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ ช่วยให้ลูกค้าได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเร็วขึ้น และทีมวิศวกรสามารถออกจากไซต์งาน เพื่อไปทำโครงการต่อไปได้เร็วขึ้น

การบริหารจัดการวงจรการทำงาน

การออกแบบทางดิจิทัล และเทคนิคด้านวิศวกรรม (เช่น ดิจิทัล ทวินส์) ช่วยเชื่อมโยงกระบวนการออกแบบของระบบควบคุมการทำงานและระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงกลไกของสินทรัพย์ ทำให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้นตั้งแต่แรกเริ่ม และบริหารจัดการวงจรชีวิตการทำงานของระบบเหล่านี้ได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ระบบเปิดในปัจจุบันยังทำให้การออกแบบฮาร์ดแวร์ไม่ต้องถูกผูกติดกับซอฟต์แวร์ ทำให้เป็นอิสระต่อกัน

แนวทางใหม่เหล่านี้ สร้างความแตกต่างในการออกแบบ ซึ่งปกติแล้ว "การออกแบบ" "การสร้าง" "การดำเนินการ" จะเกิดขึ้นเมื่อผ่านแต่ละช่วงไปแล้ว โดยพนักงานจะได้ประโยชน์ในด้านการลดความซับซ้อน และให้ความสามารถในการจำลอง/ประเมินระบบที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างเสมือนจริง ก่อนที่จะดำเนินการจริง นอกจากนี้ การออกแบบระบบยังทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์รุ่นใดก็ตามที่ใช้ควบคุมการดำเนินงานอยู่ปัจจุบันในโรงงาน

ประเด็นทั้งหมดนี้สำคัญอย่างไรสำหรับวิศวกรผู้ออกแบบและโรงงานในปัจจุบัน?

หากเราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

  • หากเราไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานที่ไม่สร้างคุณค่า จะช่วยให้วิศวกรหันไปมุ่งเน้นเรื่องของนวัตกรรมได้หรือไม่
  • หากมีมุมมองเชิงลึกให้พนักงานได้ในทันทีที่ต้องการ จะช่วยให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  • หากทำการอัพเดตระบบควบคุมได้ง่าย จะช่วยลดความเสี่ยงและลดการดาวน์ไทม์ได้
  • หากสามารถลงทุนในการออกแบบระบบตั้งแต่แรก โดยทำให้รองรับการใช้งานได้สำหรับตลอดช่วงการทำงานของโรงงาน
  • หากสามารถเริ่มดำเนินการระบบใหม่ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น

พร้อมกันนี้ Schneider Electric and AVEVA  ยังได้พัฒนาระบบที่เชื่อมต่อ ให้ความยืดหยุ่นและเป็นระบบเปิดมากขึ้น โดยมีโซลูชันที่ตรงความต้องการเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมระบบน้ำ และอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น

โซลูชันเหล่านี้ ช่วยในเรื่องต่อไปนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพงานวิศวกรรม
  • ปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการดำเนินการให้ดียิ่งขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัว

แนวทางดังกล่าวช่วยลดความผิดพลาดและเวลาที่ต้องเสียไปในตลอดช่วงการทำงานทั้งหมดของโรงงาน โดยให้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งให้ประโยชน์ทางธุรกิจสำหรับผู้วางระบบและลูกค้าที่เป็นผู้ใช้งาน

โซลูชันใหม่ Integrated Control & Supervisory ช่วยเร่งเวลาในการออกแบบและสั่งการดำเนินการได้เร็วขึ้น อีกทั้งช่วยปกป้องการลงทุนของลูกค้าในเรื่องระบบควบคุมการทำงาน จึงทำให้อุตสาหกรรมเพิ่มความยั่งยืน ยกระดับประสิทธิภาพ และความคล่องตัวไปสู่บรรทัดฐานใหม่ สำหรับทั้งทุกช่วงของกระบวนการผลิต

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ whitepaper จาก Frost & Sullivan

ที่มา: APPR Media

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้