วว. โชว์ "ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ" ทดแทนการใช้พลาสติก เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

อังคาร ๑๗ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๐:๕๐
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ  ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนาภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ  2 ผลงานวิจัย ได้แก่ ภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืช เพื่อเป็นวัสดุทดแทนการใช้พลาสติก ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ระบุเป็นผลงานรูปธรรมในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG
วว. โชว์ ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ ทดแทนการใช้พลาสติก เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

"... วว. มุ่งเน้นการดำเนินงานวิจัยพัฒนาและบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศ  การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยการพัฒนาเป็นภาชนะในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันจึงมีประโยชน์ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มช่องทางการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพให้กับสังคม ภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืชมีข้อดีคือ ช่วยลดการใช้ภาชนะพลาสติกและโฟมสำหรับใส่อาหาร  ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาขยะพลาสติกที่มีผลต่อสภาวะอากาศที่เป็นพิษในปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ  มีอายุการเก็บรักษาในที่แห้งได้มากกว่า 6  เดือน  โดยไม่เป็นเชื้อรา  จึงเป็นผลงานที่ตอบโจทย์สังคมผู้บริโภคในยุคนิวนอร์มอล  ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น  สะดวกและปลอดภัย ..." ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ขั้นตอนการผลิตภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืช   มีดังนี้  นำวัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นหรือสามารถทำการปลูกมาเป็นวัตถุดิบเริ่มต้น  โดยวัสดุธรรมชาติอาจจะอยู่ในรูปของใบ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เส้นกลางใบขนาดใหญ่และแข็งแรง เพียงพอที่จะเพิ่มความคงรูปและความแข็งแรงของภาชนะหลังการอัดขึ้นรูปได้ โดยสามารถนำมาอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนได้เลย ไม่ต้องผ่านกระบวนการทำให้เป็นเยื่อก่อน เช่น  ใบทองกวาว (ใบจาน)  ใบตองตึง   ใบยาง เป็นต้น  ภาชนะที่ได้จะมีรูปทรงตามแม่พิมพ์ที่ขึ้นรูป เช่น จานก้นตื้น หรือชามก้นลึก ด้วยลักษณะของใบไม้ที่มีสารคิวตินเคลือบผิวใบอยู่ จะทำให้จานจากใบไม้ สามารถกันน้ำและของเหลวด้วยตัวของใบเอง โดยไม่ต้องเติมสารอื่นๆเข้าไป  โดยข้อดีของการใช้ใบไม้ คือ กระบวนการในการขึ้นรูปได้รวดเร็ว  ไม่ต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อน ประหยัดค่าใช้จ่าย อายุการเก็บรักษานานกว่า 6 เดือน (ใบทองกวาว และใบตองตึง) โดยไม่มีเชื้อราเกิดขึ้น (ถ้าเก็บในที่แห้ง)

ในส่วนของใบพืชที่เป็นใบขนาดเล็กหรือเป็นเส้นใย  เช่น  ใบหรือเส้นใยสับปะรด  ใยกล้วย  ใยผักตบชวา  เป็นต้น จำเป็นต้องผ่านกระบวนการทำเยื่อก่อน จากนั้นจึงจะสามารถนำมาอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนได้   ข้อดีของภาชนะจากเยื่อพืช คือ ดูดซับน้ำมันได้ในกรณีที่ใส่ของทอด แต่ไม่สามารถกันน้ำได้ สามารถเคลือบผิวด้วยแผ่นฟิล์มพลาสติกสังเคราะห์ชนิดเทอร์โมพลาสติก ที่เป็นเกรดซึ่งใช้กับอาหารได้ เช่น ฟิล์มพอลิโพพิลีน  ฟิล์มพอลิเอทิลีน  เพื่อให้มีฟังชันก์การใช้งานเพิ่มมากขึ้น โดยฟิล์มดังกล่าวสามารถลอกออกและทิ้งแยกกับตัวจานจากเยื่อได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม รับคำแนะนำปรึกษา รับบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ติดต่อได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ วว. โทร. 0 2577 9000 ,0 2577 9439 โทรสาร 0 2577 9426 เว็บไซต์ www.tistr.or.th อีเมล [email protected] Line@TISTR

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วว. โชว์ ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ ทดแทนการใช้พลาสติก เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4