ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม

จันทร์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๓๒
ในการก้าวสู่ประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลกจำเป็นต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยประเทศไทยได้นำมาตรฐานมอก.2677-2558 เป็นกรอบชี้วัด
ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม

ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา ก็มีความจำเป็นจะต้องสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้นำเครื่องมือสำรวจสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการESPReL Checklist ตามโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย"ESPReL" (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand) ที่พัฒนาขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย  ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Center for Occupational Safety Health and Workplace Environment Management; COSHEM)

ภายใต้การกำกับดูแลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกรจามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล คือ เบื้องหลังความสำเร็จในการจัดทำ "Peer Evaluation" หรือ มาตรฐานระบบตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบการยอมรับร่วม

โดยมุ่งเน้นให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ และร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับประเทศ และนับเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรอง Peer Evaluation มากที่สุดของประเทศ

การประเมินมาตรฐาน  Peer Evaluation มีทั้งหมด 137 ข้อใน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย 2.ระบบการจัดการสารเคมี 3.ระบบการจัดการของเสียสารเคมี 4.ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือ 5.ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย 6.การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และ 7.การจัดการข้อมูลและเอกสาร

รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงสาเหตุที่ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถครองแชมป์Peer Evaluation ของประเทศไทย จากการมีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และได้มีการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

โดย วช. กำหนดเกณฑ์รับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัย โดยมีคะแนนองค์ประกอบรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 คิดแยกตามองค์ประกอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในแต่ละองค์ประกอบและจะต้องมีอย่างน้อย 1 องค์ประกอบที่ได้คะแนนเต็ม 100% อายุการรับรอง 3 ปี

นอกจากมาตรฐานห้องปฏิบัติการปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดอุบัติเหตุให้เท่ากับศูนย์ ตั้งแต่ปี2560 และได้จัดงาน MU Safety Day เพื่อการรณรงค์อย่างต่อเนื่องในทุกปี

เริ่มจากปฐมบท "Safety begin with me" ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ตัวเรา ในปี 2560 "A Day of Fire Safety" อัคคีภัยป้องกันได้ ต้องใส่ใจไม่ประมาท ในปี 2561 "Safety Day : Safety Culture" วัฒนธรรมสร้างได้ ในปี 2562 "Safety we CARES วัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัย ในปี 2563 และ "Safety Forward" ที่ตั้งเป้าหมาย 15,000 ชั่วโมงปลอดอุบัติเหตุจากการทำงาน ในปี 2564

มาในปีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดงาน MU Safety Day ประจำปี 2565 ขึ้นเป็นปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด "Safety Future" เพื่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมความปลอดภัยให้ครอบคลุมในทุกระดับ ร่วมกับกิจกรรม "การมอบรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบ" 122 ห้องปฏิบัติการ จาก 17 ส่วนงาน

โดยมีส่วนงานที่เข้ารับการประเมินและผ่านเกณฑ์ ESPReL ครบทั้งหมด 100% จำนวน 4 ส่วนงาน ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และจะขยายผลให้ครบทุกส่วนงาน ภายในปี 2566

ซึ่งในด้านการจัดการข้อมูลและเอกสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 7 องค์ประกอบของ ESPReL สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนงานที่ได้รับความชื่นชมจากคณะกรรมการ COSHEM ในฐานะส่วนงานต้นแบบของการสร้างระบบการจัดการข้อมูลและเอกสารของมหาวิทยาลัยมหิดล

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act; PDPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะผู้นำส่วนงานที่เป็น 1 ใน 4 ส่วนงานที่เข้ารับการประเมินและผ่านเกณฑ์ ESPReL ครบทั้งหมด 100% ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIT)

นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ได้นำร่องประยุกต์ใช้ PDPA กับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ในทางปฏิบัติ

โดยได้แนะนำว่า การเข้าถึงข้อมูลควรมีการกำหนดระดับการเข้าถึงที่เหมาะสม และควรใช้เท่าที่จำเป็น ที่สำคัญทุกองค์กรควรมี template เพื่อให้ผู้มาติดต่อได้ทราบถึงข้อกำหนดในการจัดการข้อมูล และระดับในการเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจน และให้ผลในทางปฏิบัติต่อไปด้วย

"หลักการที่แนะนำให้ผู้รับผิดชอบด้านการจัดการข้อมูลของทุกองค์กรตระหนักเสมอ คือ "อำนาจหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูล" แต่ไม่ใช่ "อำนาจในการเปิดเผยข้อมูล" โดยจะต้องเป็นการจัดเก็บที่ปลอดภัยและเสถียร" รองศาสตราจารย์ดร.นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย  ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวงคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะส่วนงานที่เข้ารับการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย ESPReL ในปี 2565 ได้กล่าวถึง บทบาทของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีความโดดเด่นด้านงานวิจัย จนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติย้อนหลัง 3 ปีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

โดยปัจจุบันนักวิจัยของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นชื่อแรก (Q1) คิดเป็นร้อยละ 70 และล่าสุดได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก Academic Research by Subject เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน และอันดับ 58 ของโลก

"ความสำเร็จดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากการมีห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัย โดยที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 สำหรับสัตว์ (ABSL3) ที่ใช้สำหรับวิจัยโรคติดเชื้อ"

"รวมทั้งทำการทดลองกับสัตว์ทดลองได้ด้วย ซึ่งครอบคลุมการวิจัยทั้งในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง One Health โดยเริ่มเปิดใช้ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ประเทศไทยได้มีการแพร่ระบาดของ "ไข้หวัดนก" เรื่อยมาจนกระทั่งมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถึงปัจจุบัน"

"โดย ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 สำหรับสัตว์ (ABSL3) เปิดให้บริการสำหรับนักวิจัยของคณะฯ ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้เริ่มสร้างขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ก่อนสร้างเพิ่มเติม ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี ในปัจจุบัน" รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวงคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นส่วนงานที่เข้ารับการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยESPReL ในปีนี้เช่นกัน โดยเป็นส่วนงานที่มีความโดดเด่นจากการมีบทบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการในระดับประเทศ

โดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่ให้บริการวิเคราะห์และจัดทำฉลากโภชนาการของสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยครบทั้งฉบับ

รวมทั้งได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และ มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (ม.ส.ภ.) ร่วมกำหนดสัญลักษณ์โภชนาการ "ทางเลือกสุขภาพ" ของประเทศ

และเป็นเครื่องมือใช้สำหรับการวิเคราะห์ตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภค เพื่อลดการบริโภคน้ำตาลโซเดียม และ ไขมัน

"เราเน้น "ป้องกัน" มากกว่า "แก้ไข" และทำให้ "ยั่งยืน" โดยการสร้าง "Safety Culture" หรือวัฒนธรรมความปลอดภัย"

"ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ" รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ