ก.อุตฯ ติวเข้มเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย รับ "BCG Model" ล็อค 4 เป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๓:๔๙
กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการตามกรอบแนวคิด BCG ให้กับ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนใน 4 เป้าหมาย คือสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ภายใต้คอนเซ็ปต์ภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในองค์กรและเกิดประโยชน์สูงสุด!
ก.อุตฯ ติวเข้มเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย รับ BCG Model ล็อค 4 เป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการตามกรอบแนวคิด BCG ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model ไว้ใน 4 ด้านหลัก คือ สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงทางสังคม สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs โดยเป้าหมายและกลไกการขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) 14 เป้าหมาย ใน 17 เป้าหมาย ที่ครอบคลุมมิติการพัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงฯ มุ่งเน้น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy : BE) กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตร อาหาร ยาและการแพทย์ พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ ในปี 2565 กำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 3% และมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 30,000 ล้านบาท และในปี 2570 มีอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้น 10% และมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพเพิ่มขึ้นสะสม 190,000 ล้านบาท 2) ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy : CE) กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ พลาสติก ยางรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เหล็กและโลหะอื่น ๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เซลล์แสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า และในปี 2565 กำหนดเป้าหมายขับเคลื่อน เกิดอุตสาหกรรมแบบพึ่งพา (Industrial Symbiosis) ใน 5 พื้นที่อุตสาหกรรม (นิคมอุตสาหกรรมหนองแค นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ท่าเรือมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย) และนำข้อมูลกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบให้ครบ 100% โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำระบบ E-Fully Manifest สำหรับกากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2565 ในปี 2570 เกิดอุตสาหกรรมแบบพึ่งพา (Industrial Symbiosis) เพิ่มเป็น 15 พื้นที่อุตสาหกรรม และมีการนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ 90 % และ 3) ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy : GE) กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในทุกสาขาอุตสาหกรรม ในปี 2565 กำหนดเป้าหมายขับเคลื่อน โรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry : GI) 60% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.22 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปี 2570 โรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) 100% และมากกว่า 50% ได้รับเครื่องหมายอุตสาหกรรมสีเขียว (GI) ระดับ 3 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.30 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

"กระทรวงฯ นำนโยบายการพัฒนา BCG Model มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขัน กับลดของเสียโดยจัดการทรัพยากรภายในสถานประกอบการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG เป็นการเปิดโอกาสให้สถานประกอบการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และกิจการเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย"นายกอบชัย กล่าว

สำหรับกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการตามกรอบแนวคิด BCG ให้แก่สถานประกอบการ หน่วยงานส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและต่อยอดให้แก่สถานประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และเติบโตอย่างยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบ Web Conference (Zoom Meeting) มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและภูมิภาค รวมทั้งสิ้นกว่า 300 คน โดยมีหัวข้อการบรรยาย อาทิ แนวทางการขับเคลื่อน BCG ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนายนำพล ลิ้มประเสริฐ ที่ปรึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) การถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบตามกรอบแนวคิด BCG ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) โดย ผศ.ดร.วรีสา ชูวัฒนกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยอาจารย์ศุภวัฒน์ น้ำดอกไม้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดย ผศ. ดร.นิรุธ จิรสุวรรณกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

 

ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรม

ก.อุตฯ ติวเข้มเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย รับ BCG Model ล็อค 4 เป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4