ก.แรงงาน จับมือ ILO พัฒนา GLP อุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยมีแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี สร้างความเชื่อมั่นตลาดส่งออกสินค้าประมง

พฤหัส ๑๖ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๑:๒๓
นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดตัวรายงานการประเมินโครงการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยและเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 3 โครงการ Ship to Shore Rights Programme South East Asia โดยมี คุณจูเซปเป บูซินี รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย คุณปนัดดา บุญผลา รองผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก คุณอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ดร.พงษ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องบอลรูม ชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ในวันนี้ (16 มิถุนายน 2565)
ก.แรงงาน จับมือ ILO พัฒนา GLP อุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยมีแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี สร้างความเชื่อมั่นตลาดส่งออกสินค้าประมง

นายบุญชอบ กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน ขอขอบคุณองค์การแรงงานระหว่างประเทศและสหภาพยุโรปที่ได้ให้การสนับสนุนการประเมินผลการดำเนินการโครงการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย หรือ (Good Labour Practices : GLP) ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ได้นำมาใช้แต่ ปี พ.ศ. 2561 เป็นเวลา 4 ปี แล้ว และเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะมีการประเมิน เพื่อพัฒนาและต่อยอดการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลเป็นเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย แรงงานในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลถือเป็นกลุ่มแรงงานที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของประเทศ และของโลก

นายบุญชอบ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม โดยการกำหนดมาตรการที่เข้มข้นและจริงจัง ในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การเลือกปฏิบัติและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งเป็นการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในระดับภูมิภาค และระดับสากล โดยกระทรวงแรงงานได้ร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและส่งเสริม GLP ในกิจการประเภทต่าง ๆ รวม 4 ฉบับ ได้แก่ กิจการทั่วไป กิจการสัตว์ปีก กิจการฟาร์มเพาะกุ้ง และ อุตสาหกรรมอาหารทะเล โดย GLP สำหรับอุตสาหกรรมในอาหารทะเลได้รับการสนับสนุนจาก ILO ภายใต้โครงการ Ship to Shore Rights และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคธุรกิจ นำโดยสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย การประเมินผลการดำเนินการ GLP ในครั้งนี้ จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยยกระดับการนำไปใช้ของ GLP ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ให้มีความเข้มแข็ง โปร่งใสและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และสามารถต่อยอดกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด - 19 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเต็มความสามารถ เพื่อเกื้อหนุนธุรกิจและคุ้มครองแรงงาน รวมถึงการริเริ่มโครงการ เพื่อรักษาการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการคุ้มครองแรงงานประมงและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล กระทรวงแรงงานได้มีความพยายามในการให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการทำงานจากโควิด - 19 โดยการผ่อนผันให้ผู้ที่วีซ่าหรือใบอนุญาตทำงานหมดอายุ สามารถพำนักอาศัย และทำงานในประเทศไทยต่อไปได้อย่างถูกกฎหมาย รวมถึง มีการตรวจเชิงลึก และค้นหาแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้แรงงานได้รับการจดทะเบียน มีเอกสารประจำตัว และสามารถทำงานได้ ซึ่งจะช่วยให้แรงงานดังกล่าวได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วน และเป็นการช่วยรักษากำลังแรงงานให้กับนายจ้างได้อีกทางหนึ่ง ในขณะนี้ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ช่วงของการฟื้นฟูภายหลังโควิด - 19 ซึ่งกระทรวงแรงงานขอยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อ Build Back Better โลกแห่งการทำงานที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น และยั่งยืนมากกว่าเดิม ตามแนวทางของงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะในภาคประมงและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

"กระทรวงแรงงานขอขอบคุณสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยที่ได้นำหลักการ GLP ไปปรับใช้และพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการ เพื่อยกระดับความคุ้มครองแรงงานในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการไทย มีความพร้อมในการเจรจาการค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดการส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญ อาทิ ในภูมิภาคยุโรป และอเมริกาที่กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 คลี่คลาย ซึ่งกระทรวงแรงงานมีความยินดีและพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการผลักดัน ส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงต่อไป" นายบุญชอบ กล่าวในท้ายสุด

ที่มา: กระทรวงแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ