นักศึกษาแพทย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เป็นหนึ่งในทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ครั้งแรกในโลก

จันทร์ ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๓๓
นายแพทย์อดัม เบอร์ซินสกี้ นักศึกษาแพทย์รุ่น 11 สัญชาติเกรนาเดียน ซึ่งจบจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) สร้างความโด่งดังให้กับแวดวงศัลยกรรมหัวใจด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการผ่าตัดผู้ป่วยนอกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก
นักศึกษาแพทย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เป็นหนึ่งในทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ครั้งแรกในโลก

น.พ.เบอร์ซินสกี้ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ด้านหัตถการหัวใจ และได้รักษาโรคที่ซับซ้อนให้กับโรงพยาบาลหลายแห่งในฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา เป็นหนึ่งในทีมแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยนอก ด้วยการใช้แขนกลสวนหัวใจเป็นครั้งแรกในโลกที่ศูนย์ผ่าตัดฉุกเฉินแห่งหนึ่ง

น.พ.เบอร์ซินสกี้กล่าวว่า "หลอดเลือดหัวใจทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดถูกอุดตัน ทำให้การไหลเวียนของกระแสเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหยุดชะงัก และกล้ามเนื้อหยุดทำงาน การทำหัตถการสวนหัวใจเป็นการสอดขดลวดเข้าที่เส้นเลือดหัวใจ ซึ่งจะเปิดช่องในเส้นเลือด และทำให้เลือดสามารถไหลเวียนกลับไปเลี้ยงหัวใจได้อีกครั้ง โดยปกติการทำหัตถการจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล และศัลยแพทย์ที่ทำหัตถการจะต้องยืนข้างเตียงผ่าตัด และใส่เสื้อเกราะที่ทำจากตะกั่วเพื่อป้องกันรังสีที่ใช้ในการวินิจฉัย"

การทำหัตถการสวนหัวใจด้วยหุ่นยนต์ เป็นการให้ศัลยแพทย์ที่กำลังปฏิบัติงานใช้แขนกลในการดันลวด บอลลูน และขดลวดถ่างขยาย สำหรับการผ่าตัดเพื่อช่วยเปิดทางเดินในเส้นเลือดที่อุดตัน ศัลยแพทย์จะสามารถนั่งอยู่ในห้องควบคุมที่อยู่ข้างๆและควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำตามขั้นตอนศัลยกรรม แทนที่จะต้องยืนข้างเตียงผ่าตัดใกล้กับเครื่องกำเนิดรังสี ซึ่งวิธีนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในโรงพยาบาลมาก่อน

น.พ.เบอร์ซินสกี้กล่าวเสริมว่า "การผ่าตัดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้สำเร็จด้วยดีอย่างยิ่ง และคนไข้สามารถกลับบ้านได้ไม่กี่ชั่วโมงหลังการผ่าตัด การที่ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จถือว่าเป็นก้าวสำคัญในอาชีพการงานของผม การเรียนและฝึกฝนที่ผ่านมาทำให้ผมมีความมั่นใจในความรู้ความสามารถที่จะใช้วิธีการนี้ด้วยความปลอดภัย และแก้ปัญหาในกรณีที่มีความยุ่งยากเกิดขึ้น"

"การได้ศึกษาที่ SGU นับเป็นประสบการณ์ที่ดีเป็นอย่างยิ่ง แคมปัสมีที่ตั้งที่แสนสวยงาม และเมื่อรวมกับคณะนักศึกษาที่มีที่มาหลากหลาย และคณาจารย์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่าผมมีความสุขกับช่วงเวลาที่ SGU เป็นอย่างมาก และขอแนะนำให้ใครก็ตามที่สนใจสมัครเรียน"

ทั้งนี้นอกจากเกรนาดาหรือสหราชอาณาจักร นักศึกษาแพทย์ไทยจะมีทางเลือกในการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลในประเทศไทย ก่อนเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ 4 ปีที่ SGU โดยในปัจจุบันมีนักศึกษา แพทย์ไทยที่จบจากคณะแพทยศาสตร์ SGU และประกอบอาชีพที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้รับการรับรองโดย แพทยสภาแห่งประเทศไทย โดยเปิดให้แพทย์เหล่านี้สอบใบอนุญาตได้ หากต้องการที่จะกลับมาประกอบวิชาชีพในประเทศไทย

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เปิดทำการสอนแก่นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยด้วยหลักสูตร 5, 6 และ 7 ปี หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมปลายในประเทศไทย หากท่านสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนที่ SGU สามารถอ่านได้ที่ www.sgu.edu/international-students/east-asia/

ที่มา: โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)

นักศึกษาแพทย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เป็นหนึ่งในทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ครั้งแรกในโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4