กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ททท. ผลักดันปากพยูน จ.พัทลุง เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งจุดเด่นทางธรรมชาติ

ศุกร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๒๒ ๑๖:๔๑
ชูหลาดปากยูน เป็น Green Market เน้นความมีเอกลักษณ์ของตลาดสดท่าเรือปากพะยูน ซึ่งสะท้อนความเป็นแหล่งอาหารที่เกิดจากความอุดมสมบูรณ์มิวเซียมรังนก เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่พัฒนาไปสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้อนุรักษ์รังนกนางแอ่นธรรมชาติ (มิวเซียมรังนก) แห่งแรกในประเทศไทยจากแหล่งรังนกนางแอ่นธรรมชาติที่ ตำบลเกาะหมาก"ลุงแลนด์ แกรนด์พัทลุง" เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ถูกค้นพบใหม่ มีภูมิทัศน์ของหินผาบนที่ราบกว้างที่สวยงามโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่นกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ต่อ "ร่างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง" ผลักดันปากพะยูนมุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มีความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล"
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ททท. ผลักดันปากพยูน จ.พัทลุง เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งจุดเด่นทางธรรมชาติ

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ร่างแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเส้นทางท่องเที่ยวอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยผู้เข้าร่วมประชุมมาจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยหน่วยราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม เข้าร่วมอย่างคับคั่ง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

นายเรวัต จันทนงค์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรมการท่องเที่ยว ในฐานะประธานการประชุม กล่าวว่า อำเภอปากพะยูน มีต้นทุนสูงทางการท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติ และวัฒนธรรม และจะได้โอกาสครั้งสำคัญจากโครงการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวใหม่ของพัทลุงในอนาคตอันใกล้ กรมการท่องเที่ยวจึงริเริ่มจัดทำร่างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนตั้งแต่เริ่มต้น โดยได้ร่วมกับ ททท. ลงพื้นที่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และความต้องการในพื้นที่ ก่อนจะกำหนดกรอบแนวทางร่างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

"กล่าวได้ว่า กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของการจัดทำ จึงนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทุกฝ่ายจะเกิดความเข้าใจในบริบทของการพัฒนาและขับเคลื่อนพื้นที่ให้ไปในทิศทางเดียวกันเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ" ประธานที่ประชุมกล่าว

อนึ่งการจัดทำร่างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนครั้งนี้ ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria) โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มในเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการยกระดับเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

จากนั้น ดร.แก้วตา ม่วงเกษม หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอ ร่างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ คือ "มุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทีมีความมั่นคงทางอาหาร บนพื้นฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม และพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล"

ร่างแผนพัฒนาดังกล่าว เกิดจากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใน 5 ด้าน คือ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานสากล พัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบจัดการสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม พัฒนาเชิงวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของพื้นที่ และยกระดับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อปกป้องความั่นคงทางอาหารของพื้นที่

ชูการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 3 รูปแบบ

ส่วนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมาจาก 3 รูปแบบ คือ 1. หลาดปากยูน เป็น Green Market เน้นความมีเอกลักษณ์ของตลาดสดท่าเรือปากพะยูน ซึ่งสะท้อนความเป็นแหล่งอาหารที่เกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท่ามกลางการอยู่ร่วมกันของผู้คนอย่างกลมกลืน ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่เทศกาลอาหาร ชูวัตถุดิบท้องถิ่น การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ

2. มิวเซียมรังนก เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่พัฒนาไปสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้อนุรักษ์รังนกนางแอ่นธรรมชาติ (มิวเซียมรังนก) แห่งแรกในประเทศไทยจากแหล่งรังนกนางแอ่นธรรมชาติที่ ตำบลเกาะหมาก ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านเนื้อหา และศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว

3. "ลุงแลนด์ แกรนด์พัทลุง" เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ถูกค้นพบใหม่ มีภูมิทัศน์ของหินผาบนที่ราบกว้างที่สวยงามโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น นำไปสู่การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับตัวตนของพื้นที่ และเชื่อมโยงไปสู่ชุมชนใกล้เคียง  

รูปแบบการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาฯ เน้นให้ความสำคัญกับการสื่อสารและสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งในด้านอาหาร ประเพณีท้องถิ่น ภาษา ไปจนถึงดนตรี

ขณะเดียวกันหัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการฯ ยังสรุปตัวแปรที่เป็นกลไกสำคัญในการเป็นเมืองยั่งยืนของอำเภอปากพะยูนใน 5 ประเด็นคือ 1. การจัดการระบบนิเวศที่เชื่อมโยงถึงความมั่นคงทางอาหาร 2. ส่งสริมความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม 3. อนุรักษ์นกนางแอ่น แหล่งหญ้าทะเล ตลอดจนทรัพยากรชายฝั่ง 4. พัฒนาสินค้าท้องถิ่นบนแพลตฟอร์มห่วงโซ่สีเขียว และ 5. ก้าวสู่เมือง Low Carbon แห่งการท่องเที่ยว

ด้าน นางสาววรรณภา เกียรติพงษา ผู้อำนวยการกองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว ฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้ว่า การให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว หรือ Green Destinations ในระดับสากลตามเกณฑ์ของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC-D) จำเป็นต้องแสวงหาจุดร่วมของการพัฒนาที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การประเมินการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ อำเภอปากพะยูน มีเรื่องราวของความเชื่อมโยงระหว่างผู้คน และพื้นที่ แม้จะมีกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ เช่น สัมปทานรังนกนางแอ่น การประมง แต่ชุมชนก็มีธรรมนูญแห่งการปกป้องนิเวศจนสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรมาได้อย่างยาวนานกว่า 133 ปี เกิดความมั่นคงทางอาหาร และการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย แต่มีคุณค่า

"การนำเสนอเรื่องเล่านี้มีความพิเศษต่อการที่จะก้าวไปสู่การเป็นแหล่ง Green Destinations และให้ภาพที่ชัดเจนของปากพะยูนในการเป็นพื้นที่ต้นแบบที่เน้นความสัมพันธ์ของการจัดการสิ่งแวดล้อม และปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป"  ผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการด้านสินค้า และธุรกิจท่องเที่ยว ททท. กล่าว

ตลอดการประชุม ตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ให้ความสนใจ และร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งประธานที่ประชุม กล่าวว่า จะนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากที่ประชุมไปประมวล และปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และจะเผยแพร่ให้ส่วนราชการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป



ที่มา:  บอร์น ดิสติงชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4