บ๊อชสาธิตเทคโนโลยีช่วยชีวิตสำหรับรถจักรยานยนต์ ณ สนามแข่งรถปทุมธานีสปีดเวย์

พฤหัส ๐๑ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๒:๐๗
บ๊อชกระชับความร่วมมือกับโครงการประเมินความปลอดภัยในรถยนต์ใหม่ (GLOBAL NCAP) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ตอกย้ำจุดมุ่งหมายร่วมกันในการเพิ่มความปลอดภัยในยานยนต์ เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของบ๊อช มุ่งเน้นการคุ้มครองชีวิตบนท้องถนนให้ปลอดภัย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บ๊อชได้กระชับความร่วมมือกับทางโครงการประเมินความปลอดภัยในรถยนต์ใหม่ (GLOBAL NCAP) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยสนับสนุนกิจกรรม "Stop the Crash" หรือหยุดการชน ด้วยการสาธิตเทคโนโลยีช่วยชีวิตสำหรับยานยนต์ ได้แก่ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อกสำหรับรถจักรยานยนต์ หรือระบบเบรก ABS (Motorcycle Anti-lock Braking System: ABS) และระบบการควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ (Electronic Stability Control: ESC) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ณ สนามแข่งรถปทุมธานีสปีดเวย์

การริเริ่มกิจกรรมนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทศวรรษแห่งความปลอดภ้ยทางถนน โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation Decade of Action for Road Safety) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกลงร้อยละ 50 ภายในปี 2563

ในงานนี้ บ๊อชได้สาธิตการทำงานของระบบเบรกป้องกันล้อล็อกสำหรับรถจักรยานยนต์ หรือระบบเบรก ABS โดยใช้คนขับจริง และสาธิตการทำงานของระบบการควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ หรือระบบ ESC สำหรับรถยนต์นั่ง โดยใช้เครื่องจำลองการสาธิต ESC (ESC simulator)

ความต้องการด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการขับขี่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในตลาดการค้าเกิดใหม่ต่างๆ เห็นได้ชัดในกรณีของประเทศไทย ที่มีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนถึง 36.2 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2558 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมากกว่าร้อยละ 75 ของอุบัติเหตุบนถนนนั้นเกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2560 มีรายงานอุบัติเหตุถึง 3,690 ครั้งในประเทศไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

มร. โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการของบ๊อช ประเทศไทย กล่าวว่า "ในฐานะที่เราเป็นผู้สนับสนุนอย่างจริงจังด้านความปลอดภัยบนท้องถนน ผนวกกับศักยภาพระดับโลกของบริษัท ที่อุทิศให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการชน (crash-saving technology) เราจึงมีความพร้อมในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของยานยนต์ และปกป้องทุกชีวิตบนท้องถนนในประเทศไทย เรายินดีที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและสนับสนุนความคิดริเริ่มด้านความปลอดภัยบนท้องถนน และหวังจะได้เห็นการผนึกความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างไทยกับนานาประเทศในการสนับสนุนการติดตั้งเทคโนโลยีระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุในยานพาหนะทุกชนิด ทั้งในและต่างประเทศ"

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อกสำหรับรถจักรยานยนต์ หรือระบบเบรก ABS (Motorcycle Antilock Braking System: ABS)

ในปี 2521 ระบบเบรก ABS ของบ๊อช นับเป็นระบบเบรกป้องกันล้อล็อกรุ่นแรกของโลกที่ได้ทำการผลิตขึ้น การริเริ่มนี้ได้กลายมาเป็นรากฐานในระดับสากลสำหรับระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุในยานยนต์ต่างๆ ในเวลาต่อมา ระบบเบรก ABS จะช่วยป้องกันล้อล็อก ดังนั้นยานยนต์จะยังคงทรงตัวได้ดีแม้ในยามเบรกกะทันหัน ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถแสดงการตอบสนองเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้นั่นเอง โดยสั่งการผ่านกล่องควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเบรก ABS ที่ได้รับการพัฒนาโดยบ๊อช จึงนับเป็นโซลูชั่นที่ทรงประสิทธิภาพและได้รับความเชื่อมั่นให้ติดตั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รวมทั้งรถจักรยานยนต์รุ่นต่างๆ ปัจจุบัน ในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ระบบเบรก ABS เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องติดตั้งไว้ในยานยนต์ทุกประเภท

นับตั้งแต่ปี 2538 บ๊อชได้ผลิตระบบเบรก ABS สำหรับรถจักรยานยนต์มากกว่า 2 ล้านคัน โดยระบบเบรกรุ่นล่าสุด ABS 10 ของบ๊อช เป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเกิดใหม่ ดีไซน์ที่มีขนาดเล็กลงและน้ำเบาลงกว่าเดิม ช่วยให้บริษัทผู้ผลิตสามารถติดตั้งระบบเบรกนี้ในยานพาหนะสองล้อขนาดเล็กได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น

"เทคโนโลยีอันทันสมัยของบ๊อชได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนให้มากยิ่งขึ้น" มร. ฮง กล่าว "เราหวังว่า นอกเหนือจากประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยยังได้สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย อาทิ ระบบเบรก ABS และระบบการควบคุมการทรงตัวของรถยนต์หรือ ESC ในฐานะอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้นบนท้องถนน" มร. ฮง กล่าว

ระบบการควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ (Electronic Stability Control: ESC) กำลังก้าวสู่การเป็นมาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยในระดับสากล

บ๊อชเริ่มต้นการผลิตระบบการควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ (Electronic Stability Control: ESC) เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2538 และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งกลายมาเป็นระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุพื้นฐาน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในไทยสามารถติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวในราคาที่ย่อมเยามากขึ้น

ระบบ ESC ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณอัจฉริยะ ซึ่งตรวจจับด้วยอัตราความเร็ว 25 ครั้งต่อวินาที เพื่อดูข้อมูลการบังคับพวงมาลัยของผู้ขับว่าสัมพันธ์กับทิศทางที่แท้จริงในการเคลื่อนที่ของยานยนต์หรือไม่ หากระบบตรวจพบความไม่สอดคล้องกัน และยืนยันว่ารถยนต์คันนี้กำลังจะสูญเสียการทรงตัว ระบบ ESC จะแทรกแซงการทำงานโดยลดแรงบิดของเครื่องยนต์เพื่อให้สามารถควบคุมการทรงตัวของรถได้อีกครั้ง ในกรณีที่จำเป็น จะมีการกระจายกำลังเบรกไปที่ล้อแต่ละล้อหากประเมินแล้วว่ารถคันนี้ยังอยู่ในสภาวะคับขัน นอกจากนี้ ระบบ ESC ยังรวมการทำงานของระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (traction control) เข้ามาไว้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud