ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับเกณฑ์รับหลักทรัพย์ฯ หนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai มีผล 26 มี.ค. นี้

พฤหัส ๒๒ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๒๖
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเกณฑ์รับหลักทรัพย์สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท สนับสนุนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2555

นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์รับหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการระดมทุนให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะเปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ได้เร็วขึ้น โดยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เริ่มขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ครบ 1 ปี และมีขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ก็สามารถใช้ช่องทางนี้ในการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าการปรับปรุงหลักเกณฑ์ จะช่วยสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานหมุนเวียนสามารถพัฒนาโครงการต่อเนื่องได้โดยลดข้อจำกัดด้านเงินลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2553 — 2573 ของกระทรวงพลังงานที่ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ระบุให้ภายในปี 2573 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะต้องไม่ต่ำกว่า 5% ของกำลังการผลิตรวม อีกทั้งการปรับปรุงหลักเกณฑ์นี้ได้รับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเชื่อว่าจะเหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการและสภาพธุรกิจของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน” นายชนิตรกล่าว

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าที่เป็นไปตามเงื่อนไขของหลักเกณฑ์ใหม่ คือ โรงไฟฟ้าที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวภาพ ชีวมวล เป็นต้น โดยมีขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป มีสัญญาขายไฟฟ้า ที่ก่อให้เกิดรายได้มั่นคงในอนาคต และมีการดำเนินงานไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่เริ่มต้นขายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (COD) ทั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลาการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารฯ (Silent Period) ให้ยาวขึ้นจากเกณฑ์ปกติ 1 ปี เป็นระยะเวลา 2 ปี และมุ่งเน้นให้ผู้ยื่นคำขอต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับสัญญาขายไฟฟ้า เงินอุดหนุนภาครัฐ (Adder) การจัดหาวัตถุดิบ ต้นทุนของวัตถุดิบ ตลอดจนเทคโนโลยีให้ชัดเจนและเพียงพอ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน

ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลได้ ทาง www.set.or.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ S-E-T Call Center 0 2229 2222

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. S-E-T Call Center 0-2229-2222

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น