กลุ่มวัยทำงาน เสี่ยง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการบาดเจ็บ

พฤหัส ๒๖ มีนาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๑๑
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายการทำงานด้านโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ” ว่า จากรายงานสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2546 – 2556 อัตราการป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองใหญ่(อัมพฤกษ์อัมพาต) และโรคเบาหวาน และจากรายงานภาระโรคและการบาดเจ็บในประชากรไทย พ.ศ.2552 พบว่าในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15 - 59 ปี ในภาพรวมตายจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อในสัดส่วนที่สูงสุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มการบาดเจ็บ และกลุ่มโรคติดเชื้อ เมื่อแยกตามช่วงอายุพบว่ากลุ่มวัยทำงานตอนต้นอายุ 15-29 ปี เพศชายเสียชีวิตจากการบาดเจ็บมากที่สุด เพศหญิงเสียชีวิตจาก 3 กลุ่มสาเหตุในสัดส่วนเท่าๆกัน และเมื่ออายุสูงขึ้นทั้งสองเพศเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อในสัดส่วนที่สูงขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546-2552 ของสานักระบาดวิทยา พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เฉลี่ย 4,378 รายต่อปี กลุ่มโรคที่มีการรายงานผู้ป่วยมากตามลำดับ ได้แก่ กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 45.0 กลุ่มพิษจากสัตว์ ร้อยละ 24.5 กลุ่มโรคผิวหนัง ร้อยละ 20.3 กลุ่มโรคปอดและทางเดินหายใจ ร้อยละ 2.7 และกลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ร้อยละ 1.6 โดยมีแนวโน้มการรายงานจำนวนผู้ป่วยของในแต่ละกลุ่มโรคเพิ่มขึ้น

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการจัดบริการสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี แบบบูรณาการ 2558 ตามมาตรการหลัก 3 ด้าน ดังนี้ 1.การสร้างเสริมสุขภาพ ลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดป่วย 2.การค้นหาผู้ป่วย ดูแลรักษา ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.ระบบสุขภาพอำเภอ โดยร่วมกันจัดทำคู่มือการจัดบริการสุขภาพกลุ่มวัยทำงานแบบบูรณาการขับเคลื่อนแบบบูรณาการ โดยมีกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมสุขภาพจิต สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 เขต และเขตสุขภาพ 12 เขต

ด้าน นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ โดยมีระบบการเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินผล มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ ลดพฤติกรรม/ปัจจัยเสี่ยงในประชากร พัฒนาคลินิกบริการและการจัดการโรค ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือประชากรวัยทำงานป่วยและตายลดลงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคจากการประกอบอาชีพ รวมถึงอุบัติเหตุทางถนน และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ได้แก่ ลดพฤติกรรมเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ มีพฤติกรรมที่ปลอดภัยในการทำงาน ลดพฤติกรรมการขับขี่ไม่ปลอดภัยสู่ความเป็นมาตรฐานเทียบเท่าสากล

ซึ่งการประชุมที่จัดขึ้น 25 – 26 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมานั้น ประกอบด้วยผู้บริหารและนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ รวมประมาณ 250 คน จุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำคู่มือในการปฏิบัติงานไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรคทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่ รวมไปถึงการพัฒนางานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน ต่อไป หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง