สพฉ.เร่งพัฒนาการแจ้งเหตุสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้บกพร่องทางร่างกายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้บกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน และการพูด เนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์ปกติไม่สะดวก

ศุกร์ ๑๑ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๕๓
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สพฉ. มีการพัฒนาระบบการรับแจ้งเหตุสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้บกพร่องทางร่างกาย ทั้งการมองเห็น การได้ยิน และการพูด สพฉ. ยิ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบโทรศัพท์ปกติทำได้ไม่สะดวก

สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดนั้น สพฉ. ได้จัดทำโครงการร่วมกับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการและศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูด สามารถสื่อสารขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ โดยหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถแจ้งเหตุผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ของศูนย์ล่ามภาษามือ หรือสื่อสารผ่านตู้ TTRS ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 120 ตู้ ทั่วประเทศ ทั้งในสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งมวลชน โดยผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถใช้ภาษามือสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผ่านวิดีโอคอลได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นจะมีการประสานงานต่อมายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ของแต่ละจังหวัด เพื่อซักประวัติอาการ และระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งจัดส่งทีมผู้ปฎิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินไปให้ความช่วยเหลือ

นอกจากนี้ สพฉ. ยังมีการพัฒนาแอพลิเคชั่น EMS1669 หรือแอพลิเคชั่นเรียกรถพยาบาลด้วย โดยผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถกดเรียกรถพยาบาล แจ้งอาการและพิกัดที่อยู่ได้ทันที รวมทั้งยังมีการให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นขณะรอทีมแพทย์มาช่วยเหลือ ข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง และข้อมูลการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น การแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่ลำบากมากนักเพราะสามารถสื่อสารโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 ได้ตามปกติ แต่ที่สำคัญคือต้องผู้แจ้งจะต้องจดจำคือข้อควรรู้ 9 ข้อ ก่อนแจ้งเหตุฉุกเฉินให้ได้ คือ 1.ตั้งสติ และโทรแจ้งสายด่วน 1669 2.ให้ข้อมูลลักษณะเหตุการณ์ ว่าเกิดอุบัติเหตุอะไร หรือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะใด

3.บอกสถานที่เกิดเหตุ 4.บอกเพศ อายุ จำนวนผู้บาดเจ็บ 5.บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ 6.บอกความเสี่ยงซ้ำ 7. แจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ 8.ช่วยเหลือตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และ 9.รอชุดปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

สำหรับข้อมูลคนพิการในขณะนี้ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้สรุปข้อมูลคนพิการล่าสุดว่ามีจำนวนทั้งสิ้น1,606,919 คน แบ่งเป็น เพศชาย 861,852 คน และเพศหญิง 745,067 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง