กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ต่างกันอย่างไร?

อังคาร ๐๒ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๒:๐๔
"โรคกระเพาะอาหารอักเสบ" เกิดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อน มีสารพิษในอาหาร การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร รวมถึงการทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายเส้น และยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ จะมีอาการปวดท้องแบบแสบร้อนหรือบิดมวน แน่นท้อง เรอเปรี้ยว อาเจียน รู้สึกขมและจุกแน่นในลำคอ

ส่วน "โรคลำไส้อักเสบ" เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียจำพวกอิโคไล และสตาฟิโลคอคคัส รวมถึงเชื้อไวรัสหลายๆ สายพันธุ์ และกระบวนการย่อยอาหารที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ มักจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ นั่นเอง

การป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบและลำไส้อักเสบนั้น สามารถทำได้โดย

- หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารปิ้งย่าง อาหารหมักดอง

- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

- รักษาสุขอนามัยเบื้องต้น ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร

หากมีอาการอาเจียนหนัก ไข้สูง ถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้องอย่างรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา