กรมควบคุมโรค สาธารณสุข สานความร่วมมือกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวะมหิดล

พฤหัส ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๐๘
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เยี่ยมชมการดำเนินงานภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและประชุมหารือการประสานความร่วมมือในการเพิ่มศักยภาพการวิจัยและพัฒนาระบบงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยได้นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์เชิงบูรณาการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและช่วยตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ณ ห้องประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรคและภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะช่วยเสริมพลังในการพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ให้เข้มแข็ง ทั้งด้านการศึกษาวิจัย พัฒนาและกำหนดมาตรฐานทางวิชาการและเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน ทั้งตอบสนองการส่งเสริมประเทศไทยก้าวเป็น ฮับการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคอาเซียน

เทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Bio-Medical Engineering) เป็นวิชาชีพที่มีความต้องการในตลาดสูงทั่วโลกและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2550 มาถึงปัจจุบัน ผลิตวิศวกรชีวการแพทย์ที่มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท นานาชาติ และปริญญาเอก นานาชาติ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย มีคณะแพทยศาสตร์ ถึง 3 คณะ และมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ถึง 4 แห่ง

รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก้าวหน้าด้วยการใช้พหุศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงในการวิจัย ออกแบบ พัฒนาผลิตระบบและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สร้างประโยชน์ต่อวงการแพทย์ สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น 1. การเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ การวินิจฉัยโรค และการปรับปรุงการสร้างเครื่องมือทาง การแพทย์ 2. วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา บนพื้นฐานของการใช้โพลิเมอร์นำส่งยารักษาโรคมะเร็งได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. การประมวลผลชั้นสูงในการแพทย์ เช่น การพัฒนาระบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของสรีรวิทยาของมนุษย์การแสดงผลภาพและการประมวลผลภาพทางการแพทย์ การจัดระบบประมวลผลแบบคลาวด์ทางการแพทย์ (Medical Cloud Computing) และโทรเวช เป็นต้น และ 4. วิศวกรรมฟื้นฟูและอวัยวะประดิษฐ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา