จิตเวชโคราช เร่งป้องกันฆ่าตัวตายเขตนครชัยบุรินทร์ทุกหมู่บ้าน เน้น !! เอกซเรย์ “กลุ่มเผชิญมรสุมชีวิต” เป็นพิเศษ ย้ำเตือนครอบครัว! ใส่ใจรับฟังคนที่กำลังเจอทางตันชีวิต ติดดิสเบรก 4 คำพูดอันตราย “ ตำหนิ สอน ด่าซ้ำ

พฤหัส ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๒๐
รพ.จิตเวชโคราชขานรับวันสุขภาพจิตโลก รณรงค์ให้ความรู้สุขภาพจิต ป้องกันการฆ่าตัวตาย บริการตรวจวัดสุขภาพใจ บริการนวดคลายเครียดฟรี เผยสถิติการฆ่าตัวตายใน 4 จังหวัดอีสานตอนล่างปี2562 ลดลง พบ 268 ราย จัดแผนป้องกันในปี 2563 เพิ่มเฝ้าระวังอีก 2 กลุ่มเสี่ยงคือครอบครัวคนฆ่าตัวตายและกลุ่มคนปกติที่เผชิญมรสุมชีวิตทุกหมู่บ้าน โดยเอกซเรย์คัดกรองหาความเสี่ยงและดูแลอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง พร้อมย้ำเตือนครอบครัวใส่ใจฟังผู้ที่กำลังเจอทางตันชีวิต ติดดิสเบรค 4 คำพูดอันตราย ห้ามใช้

นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 10 ตุลาคมทุกปี สหพันธ์สุขภาพจิตโลก (The World Federation Mental Health) กำหนดให้เป็นวันสุขภาพจิตโลก เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกให้ความสำคัญปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งในปีนี้เน้นการป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยรายงานทั่วโลกพบปีละเกือบ 800,000 ราย ในส่วนของรพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ ในวันนี้ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ประชาชนทั้งในและนอกรพ. โดยจัดหน่วยสุขภาพจิตร่วมกับหน่วยงานต่างๆของจ.นครราชสีมา ให้บริการประชาชนในโครงการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มประชาชน ที่สำนักงานเทศบาลต.ตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา โดยมีนิทรรศการให้ความรู้การดูแลสุขภาพจิต การป้องกันฆ่าตัวตาย บริการตรวจวัดสุขภาพใจทั้งความเครียด ความเศร้า ความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ส่วนภายในรพ.จัดบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก มีนิทรรศการให้ความรู้ บริการตรวจประเมินความเครียด ให้คำปรึกษา และให้บริการนวดคลายเครียดโดยแพทย์แผนไทยฟรี ซึ่งประชาชนสามารถนำไปใช้เพื่อคลายเครียดเองที่บ้านได้ด้วย

นายแพทย์กิตต์กวีกล่าวว่า สถานการณ์ฆ่าตัวตายในเขตสุขภาพนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย 4 จังหวัดอีสานตอนล่างในปีงบประมาณ 2562 ลดลงกว่าปี 2561 ร้อยละ 28 โดยมีรายงานฆ่าตัวตายรวม 268 ราย คิดเป็นอัตรา 3.92 ต่อประชากรแสนคนอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายของกรมสุขภาพจิตที่กำหนดไว้ไม่เกินอัตรา 6.3 ต่อแสนประชากรแยกดังนี้ จ.นครราชสีมา 103 ราย ชัยภูมิ 99 ราย บุรีรัมย์ 36 ราย และสุรินทร์ 30 ราย เป็นชายมากกว่าหญิง 6 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและวัยแรงงาน สาเหตุการฆ่าตัวตายอันดับ1 ร้อยละ 56 เกิดจากปัญหาชีวิตต่างๆ รองลงมาคือติดสุราร้อยละ 18 ป่วยซึมเศร้าร้อยละ 9

นายแพทย์กิตต์กวีกล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2563 นี้ รพ.จิตเวชฯ ได้ปรับแผนป้องกันการฆ่าตัวตายในพื้นที่เขตสุขภาพนครชัยบุรินทร์ ขยายการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจาก 4 กลุ่มเดิมคือ กลุ่มป่วยเรื้อรังทั้งที่ติดเตียงติดบ้านกลุ่มป่วยทางจิต กลุ่มติดยาเสพติด/ติดสุรา และกลุ่มที่เคยฆ่าตัวตาย โดยเพิ่มอีก 2 กลุ่ม คือกลุ่มครอบครัวของผู้ที่ฆ่าตัวตายเนื่องจากผลการวิจัยขององค์การอนามัยโลก(WHO)

พบว่าการฆ่าตัวตาย 1 คน จะส่งผลกระทบจิตใจกับคนที่ยังมีชีวิตเนื่องมาจากความสูญเสียได้ถึง 6 คน เช่น พ่อ แม่ ภรรยา/สามี ลูก เป็นต้น และกลุ่มคนปกติที่เผชิญปัญหาชีวิตเช่นปัญหาเศรษฐกิจ สังคม

การทำงานเป็นต้น ตามข้อมูลที่ปรากฏในพื้นที่ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุการฆ่าตัวตายมากที่สุดและพบได้มากกว่าครึ่ง

ทั้งนี้มาตรการดำเนินงานจะเน้นการค้นหาและให้การปฐมพยาบาลทางใจอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในกลุ่มคนปกติที่เผชิญกับมรสุมชีวิตต่างๆจะเน้นการเอกซเรย์คัดกรองหาปัญหาเพื่อจัดระดับความเสี่ยง และดูแลเฝ้าระวังอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ขณะนี้ได้อบรมพยาบาลจิตเวชประจำรพ.ศูนย์/ทั่วไปและรพ.ชุมชนทั้ง 4 จังหวัดแล้ว และจะอบรมเพิ่มในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลและอสม.เพื่อขยายผลครอบคลุมทุกหมู่บ้านซึ่งมี 10,000 กว่าหมู่บ้านโดยเร็วที่สุด สร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังป้องกัน และการช่วยเหลือเบื้องต้นในชุมชนได้อย่างทันการขึ้น โดยจะประเมินผลในอีก 6 เดือน

" ครอบครัวมีส่วนสำคัญที่สุดในการป้องกันการฆ่าตัวตายเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับปัญหามากที่สุด ผู้ที่เจอทางตันในชีวิตมักจะขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวเป็นอันดับต้นๆ คำพูดอันตรายที่ครอบครัวไม่ควรใช้อย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ก็คือ อย่าด่าซ้ำ อย่าตำหนิ อย่าสั่งสอน และอย่าตะเพิดไล่ส่ง เนื่องจากจะยิ่งซ้ำเติมความเครียดรุนแรงขึ้น และตอกย้ำการโทษตัวเองว่าไร้ค่า ซึ่งจะเป็นตัวเร่งสำคัญที่สุดทำให้ตัดสินใจฆ่าตัวตายหนีปัญหา " นายแพทย์กิตต์กวีกล่าว

นายแพทย์กิตต์กวีกล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่ครอบครัวควรทำเพื่อป้องกันผู้ที่กำลังทุกข์ใจไม่ให้คิดสั้น มีข้อแนะนำ 5 ประการดังนี้ 1.ใช้สติใจเย็น ให้รับฟังให้มาก เพื่อให้เขาระบายทุกข์ที่อยู่ในใจออกมา

พูดคุยถามปัญหาด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ท่าทีเป็นมิตรและจริงใจ 2. ให้กำลังใจ ช่วยคิดหาทางออก 3. ส่งเสริมให้เห็นคุณค่า ให้ผู้ที่มีปัญหามองข้อดีและความสามารถของตัวเอง เพื่อให้เขาเกิดความภาคภูมิใจว่าตัวเองไม่ได้ไร้ค่า 4. แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือในขั้นต่อไป และ 5.ช่วยกันเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง