เครื่องประดับเงินและยางรถบรรทุกไม่ถูกจำกัดเพดานการส่งออก ภายใต้สิทธิ GSP เป็นเวลา 5 ปี

ศุกร์ ๒๓ มกราคม ๒๐๐๙ ๑๕:๒๒
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยถึงภาวะการใช้สิทธิ GSP ของไทยไปตลาดสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 ไทยใช้สิทธิ GSP มีมูลค่า 3,014.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87 ของมูลค่าสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.7 สาเหตุจากปี 2550 สินค้าที่ไทยเคยใช้สิทธิสูง อย่างเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศสี ถูกสหรัฐฯ ระงับสิทธิ GSP สำหรับสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องรูปพรรณอื่น ๆ ทำจากโลหะเงิน ยางเรเดียล รถบรรทุก ยางเรเดียลรถยนต์นั่ง ชุดสายไฟที่ใช้กับรถยนต์ และอาหารปรุงแต่ง ซึ่งมีมูลค่าใช้สิทธิรวม 715 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าการใช้สิทธิทั้งหมด

สินค้าที่ไทยสามารถส่งออกภายใต้สิทธิ GSP สหรัฐฯ โดยไม่ถูกจำกัดเพดานการนำเข้ากรณี CNL (Competitive Need Limits ) ปี 2551 สหรัฐฯ กำหนดเท่ากับ 135 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีจำนวน 2 รายการ ได้แก่ เครื่องประดับทำจากโลหะเงิน และยางเรเดียลรถบรรทุก เนื่องจากสหรัฐฯ ได้คืนสิทธิ GSP สินค้าดังกล่าวให้ไทย กรณีCNL Waiver ซึ่งสหรัฐฯ กำหนดหลักเกณฑ์การทบทวนใหม่ หากสินค้าใดได้รับการยกเว้นเพดานนำเข้าไม่เกิน 5 ปี ก็จะไม่ถูกพิจารณายกเลิก CNL Waiver หรือถูกตัดสิทธิ GSP โดยสินค้าดังกล่าวจะถูกพิจารณาทบทวนอีกครั้งในปี 2555 และ2556 ตามลำดับ ดังนั้นผู้ส่งออกจึงควรใช้สิทธิ GSP ในสินค้าดังกล่าวให้มากที่สุด

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯ กำหนดเปิดทบทวนการใช้สิทธิ GSP ปี 2551 ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ กรณี De Minimis Waiver และยื่นขอคืนสิทธิ GSP กรณี Redesignation ในนามรัฐบาลไทย ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยมีสินค้าในข่าย ดังนี้

สินค้าที่สามารถยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ GSP กรณี De Minimis Warive สำหรับสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปมีจำนวน 6 รายการ ได้แก่ ดอกกล้วยไม้สด ทุเรียนสด มะละกอตากแห้ง มะขามตากแห้ง มะละกอแปรรูป ทองแดงบริสุทธิ์ โดยเท่าที่ผ่านมาการขอ ผ่อนผันกรณีนี้ สหรัฐฯ จะผ่อนผันไม่ระงับสิทธิ GSP ให้เกือบทุกรายการ เนื่องจากกลุ่มสินค้าดังกล่าว ถึงแม้จะมีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่มูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ค่อนข้างต่ำ และไม่มีการผลิตในสหรัฐฯ

สินค้าที่สามารถยื่นคำร้องขอคืนสิทธิ กรณี Redesignation สินค้าที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว แต่ปรากฏว่าในปี 2551 สินค้าดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ ต่ำกว่าเพดาน CNL ที่สหรัฐฯ กำหนดมีจำนวน 6 รายการ ได้แก่ กระเบื้องปูพื้นและผนัง แผ่น ฟิล์ม ฟอยล์ พลาสติก ของใช้บนโต๊ะอาหารทำจากอะลูมิเนียม ธัญพืช ลิ้นจี่ ลำไยกระป๋อง เม็ดพลาสติก

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1385 สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ หรือที่ www.dft.go.th หรือ โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3