จัดการขอทานจริงจังในกทม. หลังพบเป็นธุรกิจค้ามนุษย์ข้ามชาติ

จันทร์ ๐๔ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๔:๔๕
กทม. เอาจริงจัดการขอทานล้นเมือง ในกลางเดือน ม.ค. 53 เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้อง หารือเพื่อบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2484 อย่างเข้มข้น พบขอทานมีรายได้ 300-1,000 บาทต่อวัน เงินสะพัดกว่า 20 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่ทำเป็นขบวนการโดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือในธุรกิจค้ามนุษย์ข้ามชาติ หวังให้กทม. เป็นแบบอย่างทำงานในจังหวัดอื่น

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังหารือร่วมกับนายทวีศักดิ์ เดชเดโช นางเพียงใจ วิศรุตรัตน รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักเทศกิจ สำนักพัฒนาสังคม ว่า กทม. ในฐานะเจ้าของพื้นที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับปัญหาขอทานที่มีจำนวนมากและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้สัญจรและพบเห็น โดยพบว่าสถิติจากการรับแจ้งเหตุคนขอทานและมีการกวาดล้างของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าเป็นคนต่างด้าวถึง 51% เป็นคนไทย 49% ซึ่งในจำนวนนี้มีการรายงานถึงปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้เด็กในการขอทาน การใช้เด็กเดินยาเสพติด และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งในการทำงานที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ดูแลเรื่องคนต่างด้าว สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดูแลเรื่องยาเสพติด กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ดูแลเรื่องคนด้อยโอกาส แต่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข

ทั้งนี้ปัญหาขอทานในขณะนี้ลุกลามเป็นธุรกิจค้ามนุษย์ข้ามชาติ จากการสำรวจขอทานในกทม. พบว่า มีรายได้เฉลี่ยต่อวันประมาณ 300-1,000 บาทต่อวัน ทำงานวันละ 8-18 ชั่วโมง และเมื่อรวมแล้วมีเงินสะพัดแต่ละเดือนกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เด็กเป็นเครื่องมือ โดยกำหนดจุดขอทานเป็นบริเวณสถานที่ชุมชน เช่น สะพานลอย สถานีรถไฟ รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วงเวียนใหญ่ สถานีขนส่ง สนามหลวง โดยจากการตรวจสอบพบว่าขอทานมีทั้งที่เป็นคนไทยและต่างด้าว ทำงานเป็นขบวนการ มีการจัดระบบผลัดเปลี่ยนเด็กหมุนเวียนไปตามจุดต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับของเจ้าหน้าที่

ดร.ธีระชน กล่าวด้วยว่า กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่จะใช้อำนาจจากคำสั่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อ พ.ศ. 2540 เรื่องการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2484 ที่ให้อำนาจผู้อำนวยการเขต เจ้าหน้าที่เทศกิจ ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน โดยจะเชิญผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ประชาบดี มูลนิธิกระจกเงา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือในกลางเดือน ม.ค. 53 เพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน โดยในระหว่างนี้กทม. จะจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจจำนวนขอทานทั้งหมดทั้ง 50 เขต รวมถึงแหล่งที่อยู่และข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประกอบการหารือ ผลักดันไปสู่วาระในระดับชาติ ให้การแก้ไขปัญหาขอทานของกทม. เป็นแบบอย่างในการจัดการปัญหา ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3