ต่างชาติเล็งปรับหลักสูตรส่งเสริมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

พฤหัส ๐๔ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๖:๕๗
เวทีการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 หรือ International Olympiad in Informatics 2011 (IOI 2011) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เพิ่งปิดฉากลงพร้อมกับความสำเร็จของเยาวชนไทยที่สามารถพิชิตเหรียญรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย พร้อมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นน้องอีกหลายคน หันมาสนใจศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) อย่างลึกซึ้งและจริงจังมากขึ้น

สภาพจริงในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีคนใช้คอมพิวเตอร์จำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนคนที่มีความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์กลับยังขาดแคลน ทั้งที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเร่งสร้างกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงกลายเป็นเป้าหมายหลักของหลายๆ ประเทศ ที่มุ่งหวังให้มีการปรับปรุงหลักสูตร การเรียนการสอนด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

วันนี้ เรามีทัศนะจากอาจารย์ผู้นำทีมเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ที่มาร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกครั้งที่ 23 มาเล่าถึงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในประเทศต่าง ๆ จากหลายมุมโลก

Prof.Sun O. Ale อาจารย์หัวหน้าทีมจากประเทศไนจีเรีย บอกว่า ประเทศในทวีปแอฟริกาเองไม่เฉพาะประเทศไนจีเรียมีความตื่นตัวด้านคอมพิวเตอร์อย่างมาก และวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ ( Computer Science) กำลังเติบโต มีนักเรียนสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่ยอมรับว่ายังมีความขาดแคลนกำลังคนด้านนี้ ซึ่งในอนาคตเราหวังว่าจะพยายามสร้างกำลังด้านคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น

“ไนจีเรียกำลังมีการปรับตัวด้านหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ตอบรับกับสถานการณ์โลก ปัจจุบันวิชาคอมพิวเตอร์ยังไม่ใช่หลักสูตรบังคับ แต่ในปีค.ศ. 2014 จะเริ่มนำวิชาคอมพิวเตอร์มาเป็นวิชาบังคับ และเป็นวิชาหนึ่งที่ใช้ในการสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัย”

Prof.Sun O. Ale บอกว่า สำหรับการแข่งขัน IOI 2011 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ผู้แทนนักเรียนจากไนจีเรียได้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเยาวชนของไนจีเรีย หันมาสนใจวิทยาการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ประเทศไนจีเรียเองมีการจัดการแข่งขันลักษณะเดียวกับ IOI ในระดับประเทศเช่นกัน เพื่อดึงความสนใจของเยาวชนให้หันมาสนใจวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มากขึ้น

ส่วนประเทศในแถบเอเชียอย่างประเทศไต้หวัน Prof.Greg C.Lee หัวหน้าทีมจากประเทศใต้หวัน บอกว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับใต้หวัน เพราะเยาวชนของใต้หวันปัจจุบันให้ความสนใจในการเลือกเข้าศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในอันดับต้นๆ อยู่แล้ว เพราะแระเทศเรามีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ และมีอุตสาหกรรมหลายอย่างที่รองรับกำลังคนด้านคอมพิวเตอร์

“ปัจจุบันใต้หวันมีหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์เป็นวิชาบังคับ 1 ปี ในระดับไฮสคูล หลังจากนั้นขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน หากใครมีความสนใจสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง หรือบางโรงเรียนอาจมีการจัดหลักสูตรเสริมให้กับนักเรียนของตนเอง”

Prof.Greg C. Lee เปิดเผยต่อว่า เยาวชนใต้หวันมีความตื่นตัวด้านคอมพิวเตอร์มาก ก่อนจะมีการคัดเลือกผู้แทน เพื่อมาร่วมแข่งขัน IOI 2011 ได้มีการจัดการแข่งขันในระดับโรงเรียนระดับภูมิภาค และระดับประเทศ จนกระทั่งได้ผู้แทนเยาวชน จำนวน 4 คน เห็นได้ว่าเยาวชนใต้หวันมีความพยายามอย่างมาก ที่อยากจะเข้าร่วมในรายการนี้ อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่เป็นผู้แทนจะได้รับสิทธิในการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนผู้แทนที่สามารถคว้าเหรียญรางวัลได้จะได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี

“ ผู้แทนเยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขัน IOI ในแต่ละปี เป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในประเทศใต้หวัน และทำให้เยาวชนเหล่านั้น อยากได้มีโอกาสเช่นนี้บ้าง ถือว่าการแข่งขันคอมพิวเอตร์โอลิมปิกช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจในหมู่เยาวชนมากยิ่งขึ้นด้วย”

สำหรับประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีในระดับต้นๆ Prof. Seiichi Tani หัวหน้าทีมจากประเทศญี่ปุ่น เผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ประเทศญี่ปุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น

“ปัจจุบันเด็กๆในญี่ปุ่นจะได้เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 1 ชม. ต่อสัปดาห์ ซึ่งโรงเรียนเป็นคนเลือกเนื้อหาวิชาให้เรียน ถ้าโรงเรียนเลือกวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เด็กจะไม่ได้เรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) โดยตรง นี่เป็นปัญหาในประเทศญี่ปุ่นเหมือนกัน ดังนั้นเพื่อสะท้อนปัญหานี้ ในปี 2013 จึงมีการเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้าสู่วิทยาการคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์เปลี่ยนเร็วมาก”

Prof. Seiichi Tani ยอมรับว่า ความสนใจของเด็กญี่ปุ่นต่อการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันถือว่าน้อยกว่า 5% จากเด็กทั้งหมดที่เข้ามหาวิทยาลัย ถือว่าแนวโน้มที่ลดลง แม้จะมีคนใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่คนที่สนใจด้านการเขียนโปรแกรมน้อยมาก

“เยาวชนญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการแข่งขัน IOI 2011 ส่วนใหญ่เป็นคนที่สนใจด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และฝึกฝนด้วยตัวเอง พยายามหาโอกาสในการเรียนรู้จากการแข่งขัน online อย่างสม่ำเสมอ ทั้ง IOI และการแข่งขันในเวทีอื่นๆ ที่ผ่านมาถือว่าเยาวชนญี่ปุ่นทำได้น่าพอใจ พร้อมทั้งชื่นชมประเทศไทยในฐานะของเจ้าภาพจัดการแข่งขัน IOI 2011 มีการจัดการที่ดีมาก และตรงเวลา”

สอดคล้องกับ Dr.Giuseppe Colosjo ( Regional Education Authority of Lomberdy) จากประเทศอิตาลี ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน IOI 2012 ในปีหน้า ชื่นชมการเป็นเจ้าภาพของประเทศไทยว่า มีการจัดการที่ดีมาก เพราะหลายองค์กรเข้ามาร่วมกันในการจัดการ ซึ่งประเทศอิตาลีเองหวังว่าจะสามารถดึงทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมได้อย่างประเทศไทย และหวังว่าการเป็นเจ้าภาพในปีหน้า จะช่วยกระตุ้นความสนใจของเยาวชนในประเทศอิตาลี ให้หันมาสนใจด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน “ปัจจุบันประเทศอิตาลีมีนโยบายในการส่งเสริมให้เยาวชนสนใจวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งนโยบายระดับชาติของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายขององค์กรเรา มีแหล่งข้อมูลให้เยาวชนได้เรียนรู้ได้ง่ายในแต่ละโรงเรียน มีความพร้อมของอุปกรณ์ และซอฟแวร์ต่างๆ และหนังสือเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้เด็กได้เรียนรู้”

ในอิตาลีมีการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะต้องการให้เด็กรู้ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ เด็กๆในอิตาลีมีความกระหายอยากรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในทุกระดับ มีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้น

“สำหรับการเข่งขัน IOI ประเทศอิตาลีเริ่มส่งผู้แทนเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันต่อเนื่องมาได้ 15 ปีแล้ว เรียกว่าผลการแข่งขันน่าพอใจในระดับหนึ่ง การแข่งขันเวทีนี้ส่งผลให้เยาวชนอิตาลีมีความสนใจด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นด้วย” Dr.Giuseppe Colosjo กล่าวทิ้งท้าย

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า หลักสูตรของประเทศไทยนั้นวิชาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในกลุ่มของการงานอาชีพและเทคโนโลยี ไม่ใช่วิชาพื้นฐานเช่นเดียวกับคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้เรื่องเขียนโปรแกรมจึงมีก็แต่การเรียนรู้เพิ่มเติมเองจากนอกห้องเรียน หรือกิจกรรมชุมนุม ความสนใจเบื้องต้นในเรื่องของคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมจึงยังน้อยกว่าวิชาเรียนอื่นๆ สสวท. จึงได้จัดให้มีการแข่งขันคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นความสนใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์ให้ได้มากที่สุด เชื่อมโยงไปถึงการสร้างบุคลากรครูมาให้ความรู้แก่นักเรียน ให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง ไม่ใช่มีไว้เพียงแค่เล่นอินเทอร์เน็ต เกม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กเท่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง